milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
VC Knowledge Sharing
31 มกราคม 2565
ภาษาไทย

3 Financial infrastructure ที่ทำให้ Terra Ecosystem บรรลุเป้าหมายสู่การเป็น Blockchain ในชีวิตประจำวัน

จากรายงานของ Coindesk พบว่าราคาโทเค็น SOL จาก Solana และ LUNA จาก Terra แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนสิงหาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา จนทำให้มูลค่าตลาดรวมของสกุลเงินดิจิทัลทะลุ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ  SOL และ LUNA จึงกลายเป็นเหรียญที่ร้อนแรงในตอนนี้ ด้วยเหตุนี้ ทีม Venture Capital ของ SCB 10X จึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเจ้าของเหรียญ LUNA อย่าง Terra ที่มีมูลค่าสินทรัพย์อันดับที่ 12 ของโลก อยู่ที่ราว 1.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้ ผ่านการทำความรู้จักกับ 3 Protocol หลักที่ทำให้ Terra เป็น Blockchain Ecosystem ที่ประสบความสำเร็จ

Article5_800(6).jpg

ทำความรู้จัก Terra กับ Blockchain Ecosystem ที่มุ่งเป้าใช้งานในชีวิตประจำวัน

Terra เป็น Blockchain จากเกาหลีใต้ที่ตอนนี้มี Ecosystem ที่ครบวงจรไม่ว่าจะเป็น Stablecoins, Synthetic Asset และ Lending ซึ่งเป้าหมายหลักของ Terra คือการนำ Blockchain มาใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ และการเป็น Stablecoin Platform ที่มีเสถียรภาพ โดยสิ่งที่ทำให้ Stablecoin ของ Terra ต่างจากที่อื่นคือการใช้ LUNA เป็นโทเค็นการกำกับดูแลและใช้ระบบ Algorithmic Stablecoins เพื่อให้รักษามูลค่าไว้ได้ เช่น ถ้าซื้อขาย TerraUSD (UST) สูงกว่า 1 USD ผู้ใช้สามารถส่ง LUNA มูลค่า 1 USD ไปยังระบบและรับ 1 UST เป็นการตอบแทนที่ช่วยให้ราคาของ UST Stablecoin กลับคืนสู่จุดเดิม และตอนนี้ Terra มี Stablecoin แล้วใน 14 สกุล รวมถึง THT หรือไทยบาทดิจิทัลด้วย แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ Terra เติบโตได้คือราคาของ LUNA ซึ่งจะแปรผันตรงกับความต้องการ UST และเพื่อจะให้บรรลุเป้าหมายหลักนั้น Terra จึงได้ออก 3 ผลิตภัณฑ์ในสาย  Financial infrastructure ได้แก่ Anchor Protocol, Mirror Protocol (v2/v3) และ Pylon Protocol


Anchor Protocol กับการแก้ปัญหาของ Lending Platform 

เมื่อพูดถึง Lending Platform ใน DeFi แบรนด์ที่เป็น Top of Mind คงหนีไม่พ้น AAVE และ Compound ที่เข้ามาเป็นผู้นำตลาดตั้งแต่แรกๆ แต่ 2 แพลตฟอร์มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดอยู่ที่ประมาณ 1-23% กล่าวคือมีความผันผวนสูงมาก ดังนั้น Terra จึงออก Anchor มาเพื่อแก้ปัญหานี้ สำหรับการทำงานของ Anchor ในด้านของผู้ปล่อยกู้จะต้องเอา UST เข้ามาฝาก และจะได้ Floating Yield เป็นผลตอบแทนอยู่ที่ 16-20% ในขณะที่ผู้กู้นั้นจะต้องนำ LUNA มาค้ำประกันไว้ถึงจะได้เงินกู้ในรูปของ UST และจ่ายดอกเบี้ย Floating Yield นอกจากผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพแล้ว Anchor ยังจูงใจให้คนเข้ามากู้ในแพลตฟอร์มด้วยการแจก Anchor Coin (ANC) ซึ่งเหรียญตัวนี้จัดเป็น Governance Tokens และสามารถที่จะนำไป Dump หรือ Stake ก็ได้ การปล่อยกู้ของ Anchor นั้นจะสะท้อนความต้องการ UST และเมื่อความต้องการ UST เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ราคาของ LUNA สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ Terra มีความมั่นคง และในอนาคตจะมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้เหรียญอื่นนอกจาก LUNA ในการค้ำประกันได้

สกรีนช็อต 2022-01-30 165626.png


Mirror Protocol (v2/v3) กับการพัฒนา Synthetic Asset Platform เพื่อการลงทุนในโลกการเงินจริง

หนึ่งในเป้าหมายของ Terra คือการนำ Blockchain มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงออกแพลตฟอร์มในการสร้าง Synthetic Asset หรือการสร้างโทเคนที่อ้างอิงกับหุ้นชั้นนำอย่างเช่น Tesla, Amazon และ Alphabet เป็นต้น ปกติแล้วการซื้อหุ้นในรูปแบบดิจิทัลจะมี Issuer แต่สำหรับ Mirror จะเป็นการค้ำประกันด้วยเหรียญ UST และผู้ลงทุนในแพลตฟอร์มนี้สามารถเลือกลงทุนได้หลายบทบาททั้ง Trader, Liquidity Providers (Farmer), Minter และ MIR Staker โดยราคาบน Mirror (Oracle Price) จะเท่ากับโลกความเป็นจริง ซึ่งมี Band Protocal (Oracale Platform สัญชาติไทย) เป็น Price Feeder ให้ นอกจากนี้ Mirror Protocol สามารถวาง Liquidity แบบ 50:50 เหมือน Uniswap จากนั้นก็นำเหรียญ LP (Liquidity Pool) ไป Stake เพื่อรับเหรียญ MIR ที่เป็น Governance Token หรือเอามาขายเพื่อรับผลตอบแทนได้

อย่างไรก็ตาม Mirror V1. ได้มีปัญหา 2 อย่าง ปัญหาแรกคือความผันผวนของราคาจากความต่างของ Oracle Price กับราคาจริง ซึ่งไม่มีค่าธรรมเนียมจากการระดมทุนที่จะครอบคลุมความเสียหายได้ ทำให้การทำฟาร์มมี APY สูง และเกิดการขาย Short ที่อาจส่งผลให้เกิดความกังวลในกลุ่มผู้ลงทุนได้ ทำให้ต้องพัฒนา Mirror v2/v3 เพื่อแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มกำหนดการขาย Short ให้มากกว่าเดิม พร้อมกับล็อก UST จากการขาย Short เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และให้ Premium Fee น้อยกว่า 3% ปัญหาต่อมาคือ Composability หรือการใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น เพราะแต่เดิมนั้น Mirror สามารถใช้ได้แค่ UST เท่านั้น จึงแก้ด้วยการเพิ่มเหรียญอื่นในการค้ำประกันด้วย ได้แก่ MIR, LUNA, ANC และจะมีเหรียญอื่นๆ ตามมาอีกในอนาคต การนำเหรียญอื่นเข้ามาใช้ทำให้แต่ละเหรียญมีฟังก์ชันการใช้งานมากขึ้น และสามารถนำเหรียญในแต่ละแฟลตฟอร์มมาใช้ร่วมกันได้

ดังนั้นการรวมกันของ Anchor และ Mirror จะทำให้สามารกระแสเงินไหลได้ดีและรักษาเสถียรภาพได้ดีขึ้น เพราะเมื่อตลาดอยู่ในภาวะขาขึ้นนักลงทุนจะมองหา Equties และเริ่มใช้ Mirror แต่เมื่อตลาดตกลงมานักลงทุนจะเริ่มระมัดระวังในการลงทุน และเปลี่ยนสินทรัพย์กลับมาเป็นเงินสดและฝากเข้า Anchor เพื่อปล่อยกู้แทน 


Pylon Protocol ต่อยอดผลตอบแทนและกลไกคุ้มครองความเสี่ยงของ ICO

Pylon Protocol เป็น Programmable Money ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสร้างแรงจูงใจของผู้พัฒนาและนักลงทุน โดยใช้ APY จาก Anchor Protocol เพื่อให้ลดความเสี่ยงในการลงทุนและไม่ขาดทุนจากเงินฝาก UST นอกจากนี้ยังสร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนในโครงการและจะได้โทเค็น MINE หรือ Governance Tokens จาก Pylon เอง ดังนั้นหลังจากที่ใส่เงินไว้ใน Pylon แล้วจะสามารถเลือกได้ว่าจะเอาผลตอบแทนที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเป็นอะไร เช่น ถ้าฝากเงินเข้า 10,000  UST แล้วสามารถเลือกว่าจะให้เอาปันผลของเราจ่ายค่า Netflix ทั้งปีโดยได้ส่วนลด หรือเอาไปลง ICO เหรียญใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง Pylon นั้นจะสามารถแก้ไขปัญหาจากผู้พัฒนาและนักลงทุน 3 ข้อ ดังนี้ 

  • ลดความเสี่ยงของนักลงทุน ปกติแล้วการลงทุนที่ในโครงการผิดพลาดซึ่งต้องเสียเงินต้น เมื่อลงทุนผ่านการฝาก UST เข้า Pylon จะมีกลไกคุ้มครองเพื่อรักษาเสียเงินต้นหรือ UST ของผู้ลงทุนเอาไว้ 
  • ลดความกดดันของผู้พัฒนา หากโครงการสามารถระดมทุนได้มากเกินไปที่คาดไว้ นักลงทุนที่ลงทุนก็จะคาดหวังว่าจะได้สิ่งที่มากกว่าเป้าหมายที่ผู้พัฒนาตั้งไว้ในตอนแรก (Over Expectation) หรือผู้พัฒนาเองอาจไม่อยากออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาต่อแล้ว เนื่องจากมีเงินจำนวนมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายและเหลือเป็นกำไรของพวกเขา รวมถึงมีความเสี่ยงเพิ่มจากการถูก Hack หรือ Exploit แต่ Pylon จะทำให้ Cash Flow คงที่ ไม่มีการระดมทุนที่มากเกินไปจนเกิดปัญหาดังล่าว
  • ลดความเสี่ยงของเจ้าของโครงการ ICO โดยทั่วไปแล้วเส้นทางของบริษัทปกติจะขึ้นอยู่กับ Public ICO ซึ่งเป็น One-Short One Opportunity ทำให้ส่งผลต่อ Treasury Risk โดยเฉพาะกับการที่บริษัทเก็บ Native Tokens ไว้เพื่อเป็น Reserve แต่ Pylon แก้ปัญหานี้ด้วยการให้กระแสเงิน UST ด้วยระบบ Programmable Money แทน ซึ่งมีมูลค่าเสถียรกว่า Token อีกทั้งยังต่อยอดในฐานะเครื่องมือการเงินแก่บริษัทได้

สุดท้ายแล้วเมื่อมีการใช้งานทั้ง Anchor, Mirror และ Pylon แล้วจะทำให้ Terra สามารถบรรลุเป้าหมายได้ทั้งการเป็น Stablecoin ที่มีเสถียรภาพ สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง และเกิดการทำงานร่วมกันของแต่ละผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดความเชื่อมโยงใน Ecosystem มากขึ้น คนจะเข้าถึงได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้ง 3 Protocol นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ด้าน Financial infrastructure ของ Terra เท่านั้น โดย SCB 10X จะนำความรู้ในโลก DeFi เรื่องใดมานำเสนออีกนั้น สามารถติดตามได้ในโอกาสต่อไป

 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept