milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
VC Knowledge Sharing
03 มีนาคม 2565
ภาษาไทย

วิธีการสร้าง Passive Income จากการลงทุนในโลก Crypto

ท่ามกลางยุคทุนนิยมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า Passive Income เป็นหนึ่งในเป้าหมายของใครหลายคน แทนที่จะเสียแรงเสียเวลาทำงานแลกกับเงิน ก็ให้เงินที่มีอยู่สร้างผลตอบแทนขึ้นมาเพื่อทุ่นแรง โดยในโลกการเงินแบบเดิมวิธีสร้างรายรับรูปแบบนี้สามารถทำได้โดยการนำเงินไปลงทุนในกองทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ และค่าลิขสิทธิ์ แต่ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีที่ทุกอย่างเริ่มไปอยู่บน Blockchain แล้ว ทีม Venture Capital ของ SCB 10X จึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับวิธีการสร้าง Passive Income ด้วยนวัตกรรมจาก Cryptocurrency ที่ช่วยปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ให้กับทุกคน

1200x800 Passive - income PoW-PoS.png


สิ่งที่ทำอยู่คือการสร้าง Passive Income รึเปล่า?


หลายคนมักเข้าใจผิดว่า Passive Income เหมือนที่คนสมัยก่อนเรียก “เอาเงินต่อไปเงิน” คือจะเอาเงินไปลงทุนรูปแบบไหนก็ได้ แล้วได้ผลตอบแทนนั้นคือ Passive Income  แต่ตามนิยามของ IRS (กรมสรรพากรแห่งสหรัฐอเมริกา) จะต้องมีลักษณะครบ 2 ข้อ ได้แก่ การลงทุนหรือการทำงานในครั้งเดียว  และไม่ต้องออกแรงหรือพยายามให้เกิดการทำงาน (No Material Participation) แต่สิ่งที่สำคัญที่คนเข้าใจผิดและเกิดความเสียหายขึ้นคือ
ความเข้าใจว่าจะไม่มีการเสียเงินต้นไป เช่น ถ้าลงทุนซื้อบ้านเพื่อปล่อยเช่า อาจปล่อยเช่าไม่ได้ หรือราคาที่ดินร่วงลง โดยกิจกรรมที่คนมักเข้าใจว่าเป็นวิธีการสร้างรายได้รูปแบบนี้ ได้แก่ Yield Farming เพราะแม้ว่าเราจะทำงานเพียงครั้งเดียว แต่ตัวเงินทุนของเราต้องทำงานต่อไปเรื่อยๆ กล่าวคือในกรณีนี้เงินมี Participation แทนที่จะเป็นแรงหรือเวลา ดังนั้น Lending จึงไม่ถูกนับเป็น Passive Income เช่นกัน แม้จะเป็นการปล่อยกู้บนเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ตาม สุดท้ายคือ Day Trading และหุ้นบางตัวที่ต้องคอยติดตามข่าวอยู่เสมอ

ฉะนั้นหนึ่งกิจกรรมที่จะสร้าง Passive Income ในโลก Blockchain คือ Consensus Rewards Mechanism ที่ได้รับจากการตรวจสอบยืนยันธุรกรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่เราจะพูดถึงกันในครั้งนี้



ทำอย่างไรจึงจะได้ Rewards จาก Consensus Protocol 


ด้วยรูปแบบการทำงานของ DeFi ทำให้ไม่มีคนกลางที่จะคอยยืนยันความถูกต้องของแต่ละธุรกรรม จึงมีการคิดวิธีพิสูจน์เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะตามมาจากเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันยังจำเป็นต้องใช้คนทำงานอยู่ดี แต่แทนที่จะจ้างคนมาดำเนินการ DeFi ใช้วิธีการให้ Reward ผู้ที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวแทน โดยใช้รูปแบบที่เรียกว่า Consensus
 

ทุกวันนี้ คนคุ้นหูจากการนิยมใช้โดย DeFi Platform กันมากที่สุดคือ Proof of Work ซึ่งมีความหมายตรงตัวเลยคือวิธีการพิสูจน์ด้วยการทำงาน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Mining และ Proof of Stake ซึ่งหมายถึงการพิสูจน์ด้วยการวางเงินเดิมพัน เปรียบเสมือนการใช้เงินแก้ปัญหาก็ได้ ดังนั้นเพียงแค่เข้าใจ Concensus Protocol ก็สามารถเป็น Passive income ได้ โดยขออธิบายการทำการของ Proof of Work และ Proof of Stake ดังนี้



Proof of Work


รูปแบบการทำงานของ Consensus นี้ คล้ายกับการขุดเหมือง เนื่องจากกระบวนการทำงานนั้นจะต้องหาเลข Nonce ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ค่า Hash ที่กำหนด ไม่ต่างกับการขุดหาทองที่ต้องขุดไปเรื่อยๆ เพราะไม่รู้ว่าจะมีทองอยู่บริเวณไหนบ้าง จึงเป็นการทำงานที่ค่อนข้างเสียเวลาและใช้แรงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ถ้ามีนักขุดจำนวนมากขึ้น ก็จะมีปริมาณทอง (Hash) มากขึ้น แล้วก็จะเป็นไปตามกฎอุปสงค์-อุปทานคือราคาจะลดลง ทองที่ยังไม่ขุดพบก็น้อยลงเรื่อยๆ ทำให้โอกาสที่จะได้รับ Rewards ก็น้อยไปตามกัน  โดยเราจะเข้าไปขุดในเหมืองที่เราตั้งขึ้นเอง หรือจะซื้อจากนักขุดที่มีเหมืองอยู่แล้วก็ได้ (Rent Mining) แต่ในตอนนี้การตั้งเหมืองเองมีต้นทุนที่สูงมาก เพราะมีนักขุดเข้ามาในตลาดเยอะขึ้น และจำเป็นต้องใช้พลังงานเยอะมากในการขุด ประกอบกับเครื่องขุดที่ราคาแปรผันตรงกับประสิทธิภาพในการขุด และวัสดุก็เริ่มมีน้อยลงด้วย ดังนั้นการตั้งเหมืองในไทยจะขาดทุนตั้งแต่เริ่ม นอกจากนี้ยังมี Scammer จำนวนมากที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากการขุดรูปแบบนี้ อย่างไรก็ตามถ้าท่านอยู่ในพื้นที่ที่ค่าไฟไม่แพงหรือสามารถผลิตพลังงานเองได้แล้วอยากเป็นนักขุด ก็จะต้องเลือกว่าจะขุดเองคนเดียว (Solo Mining) หรือช่วยกันขุดกับเพื่อน (Mining Pool) ซึ่งในระยะยาวแล้วผลตอบแทนรวมเท่าๆ กัน แต่ก็มีข้อเสียต่างกันดังนี้  


1200x800 mindmap Passive - income PoW-PoS.png

ส่วนผลตอบแทนก็จะมี 2 รูปแบบ คือ Block Rewards นับ Hash ตามจำนวน Block ที่ขุดเจอ ระบบจะให้เหรียญไปตามจำนวน Halving ที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าขุดใน Bitcoin เจอ 4 Block และตอนนี้ Halving อยู่ที่ 6.25 BTC ก็จะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 4 x 6.25= 25 BTC อีกรูปแบบคือ Transactions Fee Rewards จะได้ประมาณ 5-10% ต่อ Block ซึ่งเมื่อเทียบกับ Block Rewards แล้วถือว่าน้อยมาก นักขุดจึงหวังผลตอบแทนต่อบล็อกมากกว่า

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมนักขุด (Miner) ถึงมีผลตอบแทนเป็น Passive Income ด้วย ในเมื่อต้องทำการขุดตลอดเวลา คำตอบก็คือการขุดนั้นเกิดจากการลงทุนที่เรานำไปซื้อเครื่องขุดในตอนแรกเท่านั้น แล้วเครื่องขุดจะทำการแก้สมการเพื่อหา Nonce ด้วยตัวมันเอง หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของการบำรุงรักษาเท่านั้น กล่าวคือยังคงเป็น Minimal Paticipatioin ซึ่งเป็นไปตาม Criteria ที่กล่าวไว้ข้างต้น



Proof of Stake 


Consensus นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ข้อเสียของ Proof of Work ในเรื่องของพลังงานที่ถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง จนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้เวลานานในการตรวจสอบแต่ละธุรกรรม เลยใช้วิธียืนยันความถูกต้องโดยกลไกการสุ่มผู้ตรวจสอบ (Validator) ผู้ได้สิทธิ์นี้มีหน้าที่ในการสร้างบล็อกใหม่และได้ Rewards เป็นผลตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งการจะได้เป็นผู้มีสิทธิ์นี้จะสุ่มจากผู้ที่เอาเหรียญเข้ามาวางค้ำประกันไว้ (Stake) ดังนั้นถ้าวางเหรียญไว้มากก็จะมีโอกาสที่จะได้เป็น Validator มากตามไปด้วย  แต่หากผู้ที่ได้รับสิทธิ์ทำการเขียนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องลงไป หรือพยายามที่จะโกงก็จะถูกยึดเหรียญที่วางค้ำประกันไว้ ตามกฎที่แต่ละบล็อกเชนกำหนดไว้ใน Smart Contract ทำให้บทลงโทษ รวมถึง Staking Rewards มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละ Protocol โดยตอนนี้รูปแบบของ Reward จะมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ Inflation, Subsidy และ Transaction Fee

  • Inflation รูปแบบแรกคือการที่แต่ละ Protocol ออกเหรียญของตัวเองออกมาเพื่อเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ที่เข้ามา Stake จึงเรียกรางวัลแบบนี้ว่า Inflation ซึ่งหลายคนอาจกังวลเมื่อได้นี้ เพราะจะทำให้ค่าเงินลดลงจนอาจเกิดวิกฤต แต่ประเด็นที่เป็นกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป เนื่องจากมีการกำหนดเพดานของผลตอบแทนไว้แล้ว โดย Inflation Rewards จะมีประโยชน์มากกว่ารูปแบบอื่นสำหรับ Protocol ที่เพิ่งออกมาใหม่ เนื่องจากจะจูงใจให้คนเข้ามา Staking มากขึ้นในระยะสั้น  เพราะคนพอจะคาดเดาผลตอบแทนได้ จากอัตราที่แต่ละ Protocol ได้กำหนดไว้ และไม่ส่งผลต่อแรงจูงใจของ Founder แต่คนอาจทำให้เกิด High Sell Pressure และถ้าเกิด Excess Supply จะทำให้ราคาเหรียญสุดอย่างที่เราเคยเห็นกันมาก่อน ตัวอย่าง Protocol ที่ให้ผลตอบแทนรูปแบบนี้ คือ Band Protocol และ Cosmos (Atom)
  • Subsidy Rewards มาจากการที่ Founder เก็บ Native Tokens ไว้ส่วนตอนออก Prtotocol แล้วนำส่วนนี้มาเป็นผลตอบแทน ดังนั้นจะทำให้ Founder มี Equity น้อยลงเรื่อยๆ ผู้ก่อตั้งเลยมักไม่ถูกใจในสิ่งนี้ แต่ข้อดีคือสามารถคุม Sell Pressure ได้ เพราะเป็นรูปแบบที่ดีสำหรับ Protocol ที่ออกมาใหม่เพื่อให้คนเข้ามา Stake เช่นเดียวกับ Rewards แบบแรก เช่น Polygonอย่างไรก็ตาม Subsidy Rewards จะถูกใช้จนหมด จนต้องเปลี่ยนรูปแบบการให้ผลตอบแทนเป็น Rewards รูปแบบสุดท้ายแทน 
  • Transaction Fee รางวัลรูปแบบสุดท้ายมาจากค่าธรรมเนียมที่คนเข้ามาทำธุรกรรม ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คนมี Incentive ที่จะขายเหรียญต่ำ (Low Sell Pressure) เพราะจะมีปริมาณเหรียญรางวัลน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบกับรูปแบบแรก ซึ่งดีต่อผู้ที่ต้องการ Stake ในระยะยาว เพราะ Rewards รูปแบบนี้จะทำให้ทั้งผู้ที่เข้ามา Stake และตัว Ecosystem เติบโตไปด้วยกัน ทำให้ Founder มี Equity ที่เพิ่มมากไปด้วย  เช่น Cardano, Ethereum 2.0 และ Solona อย่างไรก็ตามรูปแบบการให้ผลตอบแทนแบบนี้อาจไม่เป็นผลดีต่อ Protocol ใหม่ที่เพิ่งมีผู้เข้าใช้งาน เพราะปริมาณ Transaction Fee น้อยมาก จึงไม่ดึงดูดให้คนเข้ามา Stake แต่ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจในการแก้ปัญหานี้ คือการที่ Terra (Luna) นำเหรียญ  Anchor และ Mirror มาเพิ่ม APY ให้กับ LUNA ซึ่งเป็นการ Trade-off ระหว่าง Equity ใน Protocol อื่น กับปริมาณผู้เข้ามา Stake

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้จะเห็นได้ว่าหลาย Chain เปลี่ยน Concensus จาก  Proof of Work มาเป็น Proof of Stake แทน เพราะมีความเร็วในการทำธุรกรรมที่มากกว่าเป็นพันเท่า ทั้งยังเปลืองพลังงานน้อยกว่า นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย Consensus เรายังไม่ได้กล่าวถึง จึงต้องจับตามองต่อไปว่าในอนาคตจะมี Concensus ใหม่ที่ออกมาแก้ปัญหาเหล่านี้ และยังให้ผลตอบแทนที่ดี จนดึงดูดให้เหล่าผู้มีความฝันเป็น Passive Income ให้เข้ามาในวงการ DeFi ได้หรือไม่

อย่างไรก็ตามจะสังเกตได้ว่าไม่ว่าเราจะลงทุนใน Protocol ที่มี Concensus แบบไหน การจะได้ผลตอบแทนต้องใช้เวลา ดังนั้นก้าวแรกก่อนจะมี Passive Income ได้เราจะต้องมีเงินออมจำนวนหนึ่งที่มากพอ พร้อมจะลงทุนในระยะยาว และยอมรับความเสี่ยงถ้าหากเสียเงินต้นได้  โดย SCB 10X จะนำความรู้ในโลก DeFi เรื่องใดมานำเสนออีกนั้น สามารถติดตามได้ในโอกาสต่อไป

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept