milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
tips
06 มีนาคม 2566
ภาษาไทย

รู้จักวิธีจัดเก็บ NFT แบบ On-Chain, Off-Chain และ Decentralized

ปัจจุบันหลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “NFT” และ “Cryptocurrency” กันมาบ้างแล้ว แม้ว่าทั้งสองประเภทนี้จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเหมือนกัน แต่รู้ไหมว่าสิ่งที่ทำให้ NFT แตกต่างจาก Cryptocurrency คืออะไร? 

Arti1Nft2_1200X800.jpg


NFT คืออะไร


Non-fungible tokens หรือ NFTs คือสื่อดิจิทัลที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกและไม่สามารถทำซ้ำได้ เนื่องจากสามารถระบุได้ว่าชิ้นไหนคือต้นฉบับด้วย Blockchain เพราะฉะนั้น NFT จึงเป็นที่รู้จักมากโดยเฉพาะในวงการศิลปะที่ศิลปินสามารถขายผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเพียงชิ้นเดียวบนโลกได้ โดยข้อมูลเนื้อหาของ NFT ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ, รูป, คำบรรยาย และคุณสมบัติพิเศษ จำเป็นต้องจัดเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งซึ่งเทคนิคการจัดเก็บ NFT ก็มีหลากหลายวิธีที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงการทำความเข้าใจว่า NFT storage ทำงานอย่างไรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากก่อนที่จะซื้อหรือสร้าง NFT


สิ่งที่ควรรู้จักเมื่อเข้าวงการ NFT


  • Servers คือที่เก็บ NFT และเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ 
  • Hosting คือชุดบริการต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล โดยทั่วไปแล้วจะทำงานบน Server 
  • Metadata คือข้อมูลที่อธิบายข้อมูลต่าง ๆ เช่น (สำหรับ PFP NFT) ชื่อ สี ขนาด รูปร่าง ประเภทหมวก ประเภทแว่นตา ฯลฯ ซึ่ง Metadata จะช่วยให้ Server สามารถค้นหา ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • Hash คือฟังก์ชันเข้ารหัสที่เมื่อได้รับ Input จะสร้าง Output ที่เหมือนกันทุกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว Hash จะใช้ในการเข้ารหัสและข้อมูลจำนวนมากที่ตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพ ซึ่ง NFT และ Metadata ทั้งหมดสามารถเก็บไว้ใน Hash เดียว 
  • Smart contract คือคำสั่งเข้ารหัสที่ทำงานบน Blockchain ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของ decentralized applications (dapps) รวมถึง NFT ส่วนใหญ่ โดยกฎสำหรับการขุดและแลกเปลี่ยน NFT อยู่ในสัญญาอัจฉริยะเช่นกัน

On-chain vs Off-chain storage


การจัดเก็บ NFT แบบ On-chain หมายความว่า NFT ทั้งหมดรวมทั้งรูปภาพและ Metadata มีอยู่บนฺBlockchain การเก็บ Metadata ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ NFT สามารถคงอยู่ตลอดไปและอยู่นอกเหนือการควบคุมของแพลตฟอร์มแม้ว่าเว็บไซต์ที่เราซื้อผลงานมาจะปิดไปแล้วก็ตาม อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของ Logic ที่ถูกเขียนบน Smart Contract ทำงานได้สำเร็จอย่างรวดเร็วบน Blockchain ซึ่ง Autoglyphs ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลแบบ On-chain เนื่องจากภาพ JPEG มีข้อมูลจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาพเหล่านั้นมีอยู่ใน collectoion ที่มีหลายพันหรือหมื่นออเดอร์


ในทางกลับกัน NFTs ที่เก็บไว้แบบ Off-chain หมายความว่า NFT บางส่วนหรือส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้นอก Blockchain แม้ว่าการเก็บข้อมูลแบบ On-chain มีจุดเด่นมากมายเพราะผู้ใช้สามารถยืนยันทุกแง่มุมของ NFT ได้ แต่มีเพียงโครงการ NFT ไม่กี่โครงการที่เลือกใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลนี้เพราะข้อจำกัดต่าง ๆ จาก Ethereum Blockchain เช่น CryptoPunks และ Bored Ape Yacht Club ต่างก็เลือกใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Off-chain



Centralized vs Decentralized hosting


ในกรณีของการจัดเก็บข้อมูลแบบ Off-chain สัญญาอัจฉริยะของ NFT จะมีข้อมูลที่ชี้ไปยังตำแหน่ง Off-chain บางแห่งซึ่งจัดเก็บภาพ NFT JPEG ไว้ โดยภาพ NFT และ Metadata มักจะถูกเก็บไว้ใน Hash บ่อยครั้ง ซึ่ง Hash นี้ใช้เพื่อชี้ไปที่ผู้ให้บริการ Centralized หรือ Decentralized hosting


ตัวอย่างของผู้ให้บริการ centralized hosting ได้แก่ Amazon และ Google โดยความเสี่ยงของผู้ให้บริการประเภทนี้ คือถ้าโปรเจกต์นี้ปิดตัวลง NFT ของเจ้าของอาจจะสูญหายไปและไม่สามารถเข้าถึงได้อีก ในบางกรณีเจ้าของทั้งหมดจะถูกทิ้งไว้เป็น Hash ธรรมดาที่มีอยู่ในสัญญาอัจฉริยะ อีกทั้ง Metadata ยังสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลายโครงการเลือกใช้โซลูชันแบบ Decentralized hosting เพื่อ Host NFT ของตน วิธีแก้ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการ Host ข้อมูล NFT บน InterPlanetary File System (IPFS) ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บไฟล์แบบ Peer to Peer (P2P) ที่อนุญาตให้เราสามารถ Host เนื้อหาข้ามคอมพิวเตอร์ได้ โดยไฟล์จะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หลากหลายเครื่อง 


แม้ว่า NFTs ที่จัดเก็บบน IPFS จะไม่ถูกจัดเก็บในทางเทคนิคแบบ On-chain แต่ในทางทฤษฎีมักจะปลอดภัยกว่าเพราะ IPFS นั้นทนต่อการเซนเซอร์ ไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจที่จะปิดมันลง อีกทั้งข้อมูล Metadata จะไม่สามารถถูกแก้ไขได้ โดยไม่มีการตรวจสอบ และตราบใดที่ node ในเครือข่ายยังทำหน้าที่เก็บข้อมูลอยู่ ข้อมูลจะคงอยู่ตลอดไปนั่นเอง

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept