milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
tips
18 พฤศจิกายน 2566
ภาษาไทย

ระเบียบข้อบังคับและแนวทางสู่อุตสาหกรรมคริปโต

Regulation หรือระเบียบข้อบังคับ สิ่งที่หลายฝ่ายกำลังสร้างและปรับปรุงสำหรับตลาดคริปโต ซึ่งเป็นตลาดที่มีความเป็นปัจเจกสูง อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานกังวลเรื่อง Bad actors ที่เกิดขึ้นมากมายในตลาด และการออก Regulations เข้ามาใช้กำกับดูแลจะช่วยให้ตลาดมีความแข็งแรงมากขึ้น

Article2AUG_1200X800.jpg


สรุปจากงาน REDeFiNE TOMORROW 2023 โดยบทความนี้ได้เจาะลึกในหัวข้อ “Regulations & Approaches to the Crypto Industry” พูดคุยด้านมุมมองจาก 4 ผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนจากธนาคารของ 3 ประเทศ: ไทย สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย, Sopnendu Mohanty, Chief Fintech Officer ของ Monetary Authority of Singapore, Elisabeth Wallace, Associate Director, Strategy & Risk, ของ The Dubai Financial Service Authority (DFSA) และ Dante Disparte, Chief Strategy Officer & Head of Global Policy ของ Circle


ภาพรวมสถานการณ์ตลาดการเงิน


ไทย


คุณสิริธิดา กล่าวถึง สถานการณ์ในประเทศไทยว่า หลายภาคส่วนกำลังให้ความสนใจในเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency ซึ่งสองสิ่งนี้จะเข้ามาเป็นตัวช่วยในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านบริการทางการเงิน


ธนาคารแห่งประเทศไทยจับมือกับสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ในการทดสอบและทดลองผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ตัวอย่างเช่น Electronic Letter of Credit ที่ช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการลงจากระยะเวลาหลายวันทำการ เหลือเพียงไม่กี่นาที ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดและการฉ้อโกงลงได้ และบริการ Cross-Identity Verification บน Blockchain เป็นต้น


นอกจากนี้ Startup และธุรกิจต่าง ๆ กำลังสนใจ Cryptocurrency จะเห็นได้จาก Bussiness Model ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับบริการอย่าง CBDC (Central Bank Digital Currency), Programmable Payment และ การแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัล (Asset Tokenization) 


สิงคโปร์


การแก้ปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน (Payment) แต่หลายอุตสหากรรมทำในสิ่งที่แทบจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงิน เป็นผลให้เกิดความท้าทายด้านนโยบาย และด้านกฎหมาย 


อย่างไรก็ตาม Sopnendu มองว่า บริการด้านการเงินมีความก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เพราะธนาคารกลาง (Central Bank) และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ เริ่มสร้างความเข้าใจและยอมรับว่าต้องการเงินในรูปแบบใหม่ ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านการชำระเงินให้ดียิ่งขึ้น 


สำหรับการชำระเงินแบบดั้งเดิมที่กำลังใช้งานในขณะนี้ ยังมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน Sopnendu ได้ยกตัวอย่างความสำเร็จที่เขาได้ทำมาตั้งแต่ช่วงปี 2018 โดยเขาและทีมสามารถเชื่อมต่อระบบการชำระเงินภายในประเทศ (Domestic Payment System) และระบบชำระเงินหว่างประเทศ (International Payment System) ระหว่างไทย-สิงคโปร์ ให้สามารถทำธุรกรรมได้ทันที ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมลงได้ 4-5% 


Sopnendu มองว่า ทางออกของปัญหาเหล่านี้คือ Digital Currency ที่จะสามารถทำธุรกรรมได้อย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ยังได้เจาะถึงประเด็น การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ยังต้องอาศัยตัวกลาง มีการแสดงความเป็นเจ้าของผ่านเอกสาร การเซ็นต์โอนย้ายทรัพย์สิน โดยปกติแล้วการโอนย้ายสินทรัพย์แบบทันทีจะไม่สามารถทำได้ด้วยระบบแบบดั้งเดิม ดังนั้นระบบบน Blockchain ผ่าน Cryptocurrency จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์


Elisabeth เล่าถึงสิ่งที่ได้ทำในตลาดช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยทำการออกกฎเกณฑ์สำหรับธุรกิจคริปโตใน DIC (Dubai Internet City) เพราะต้องการที่จะเห็น Good actors โดยกฎเกณฑ์นี้จะโฟกัสไปที่ การดูแล (Custody) รวมไปถึงการขัดผลประโยชน์ เนื่องจากธุรกิจคริปโตส่วนใหญ่มักจะลงเล่นในสนามเดียวกัน มีธุรกิจคล้ายกัน


โดย Elisabeth ชี้แจงว่า มีการนำเสนอ Framework เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา และตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการออกใบอนุญาตให้องค์กรต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ยังคงมีข้อจำกัดสำหรับธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความท้าทายมากกว่า เพราะต้องมีแนวทางการกำกับดูแลที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่


ปัญหาที่พบ และแนวทางการแก้ปัญหา


ไทย


ในฐานะธนาคารกลางของประเทศ ความน่ากังวลที่เกิดขึ้นมีทั้งด้านความไม่มั่นคงทางการเงิน ปัญหาการฟอกเงิน และในส่วนงานกำกับดูแล คุณสิริธิดา มองว่า เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) การคุ้มครองนักลงทุน (Investor Protection) เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง


สำหรับประเทศไทยได้จัดทำ Sandbox ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ทำให้เห็นกลไกและการทำงานของผู้ให้บริการ และหลังจากที่ผู้ให้บริการใน Sandbox ได้ Exit ธุรกิจแล้ว ก็มีการออกกฎเกณฑ์การกำกับดูแล เพื่อเป็นแนวทางให้กับธุรกิจเหล่านั้น


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์


Elisabeth ให้ความสำคัญกับเรื่อง Bad actors ที่เธอมองว่าในปีที่ผ่านมาธุรกิจที่เป็น Bad actors ถูกให้ความสำคัญเยอะมากขึ้น ทำให้ต้องมีการออกกฎเกณฑ์กำกับดูแล เพื่อสร้างความสมดุลในตลาด 


เช่นเดียวกับประเทศไทย ดูไบก็มองว่า Sandbox มีส่วนช่วยให้ธุรกิจมองเห็นแนวทาง และ Regulations ก็ช่วยให้ตลาดเข้าที่เข้าทางมากขึ้น


นอกจากนี้เธอเสนอแนะว่า หน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศยังต้องมีการพูดคุยกันให้มากขึ้น เพราะธุรกิจคริปโต มักจะมีโมเดลธุรกิจที่ครอบคลุมการให้บริการทั่วโลก ทำให้มีช่องวางทางกฎหมายหลายอย่าง และ Bad actors ก็มักจะหาโอกาสจากช่องว่างเหล่านั้น 


และธุรกิจคริปโตอยู่ในตลาดที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงควรต้องมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์อยู่เสมอ อย่างที่ดูไบ เธอกล่าวว่า กฎเกณฑ์ที่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว น่าจะมีการปรับปรุงสำเร็จภายในปีนี้


ทำความเข้าใจ กรอบการกำกับดูแล 5 ขั้น


สำหรับ Sopnendu ได้อธิบายถึง กรอบการกำกับดูแล 5 ขั้นสำหรับธุรกิจคริปโต (Five-layer Regulatory Framework) ได้แก่


  • Know your customers รู้จักลูกค้า จุดเริ่มต้นของทุกธุรกิจ
  • Consumer protection เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแล้ว จะต้องรับรองกับลูกค้าได้ว่าเขาจะได้รับการคุ้มครอง
  • Market integrity ธุรกิจจะต้องเป็น Good actors ในตลาด
  • Systematic race และ Access stability ผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจมีความเสถียร และส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินใน Ecosystem
  • Technology risk manament เทคโนโลยีเป็นอีกความท้าทาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ ที่มีทั้งปัญหาด้านความปลอดภัย ปัญหาในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น

Sopnendu อธิบายต่อว่า หากธุรกิจมองที่กรอบการทำงาน 5 ข้อนี้จะพบกับคำตอบที่ใช่ของธุรกิจ ซึ่งหากธุรกิจมีครบก็เท่ากับว่ามีความพร้อมที่จะขยายขนาดการดำเนินงานออกไปได้ แต่ปัจจุบันนี้กลับมีธุรกิจไม่กี่รายที่มีครบทั้ง 5 กรอบ 


ด้านของประเด็นการสร้างแรงเสียดทานในสังคม Sopnendu มองว่า ตอนนี้ทุก ๆ ฝ่ายกำลังเรียนรู้ผ่านโครงการ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งจากภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น Sandbox ที่หน่วยงานกำกับดูแลได้เข้าไปดูรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ และได้ทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีและ Use Case เพื่อนำมาปรับใช้กับการออกแบบการกำกับดูแลให้เหมาะสม 


อย่างไรก็ตาม มี 2 สิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลไม่สามารถมองข้ามได้ คือ AML/KYC Regulations และ Consumer Protection ซึ่งเป็นเรื่องที่รุนแรงและมีแรงเสียดทานสูง เพราะทุกฝ่ายยังไม่มีความเข้าใจในอุตสาหกรรมคริปโตครบทุกด้าน


ความสำคัญของ Regulatory Sandbox


คุณสิริธิดา เล่าถึงผลงานที่ผ่านมาในช่วง 4-5 ปีว่า ได้มีการออกผลิตภัณฑ์และบริการหลายอย่างผ่านโครงการที่เกิดใน Sandbox อย่างเช่น Letter of Guarantee บน Blockchain และ Biometric facial recognition


คุณสิริธิดา ให้ความเห็นว่า Sandbox ถือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและธุรกิจเข้ามาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อเกิดเป็นโมเดลธุรกิจและแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสมกับธุรกิจมากขึ้น


สำหรับ Elizabeth ได้อธิบายว่า Regulatory Sandbox เป็นพื้นที่ที่ให้ทั้งหน่วยงานกำกับดูแลและธุรกิจได้เรียนรู้กันและกัน ซึ่งทำให้เกิดเป็น Dual Purpose Sandbox อย่างไม่ตั้งใจขึ้นมา


Elizabeth กล่าวว่า ดูไบพยายามสร้างความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutral) แต่ยังไปไม่ถึงจุดนั้น เพราะยังต้องอาศัยการเรียนรู้ด้านนี้อีกมาก ซึ่งปัจจุบันนับว่าดูไบมีเทคโนโลยีและเครื่องมือเพิ่มขึ้น และสามารถตรวจสอบในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน


จะเห็นได้ว่ามีความก้าวหน้าทั้งในฝั่งของหน่วยงานกำกับดูและฝั่งธุรกิจมากขึ้นในการทำความเข้าใจและพัฒนากฎระเบียบต่าง ๆ 


แนวทางของ RegTech ในแต่ละประเทศ


ก่อนเข้าประเด็น Dante ได้กล่าวถึงบริบทของ RegTech ที่ในหลายประเทศกำลังนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งาน ยกตัวอย่างในนครนิวยอร์ก ที่นำ RegTech มาใช้ในการรายงาน Regulatory แบบ Real-time


สำหรับ Sopnendu เล่าว่า ขณะนี้มีสถาบันต่าง ๆ นำ RegTech มาใช้งานในการจัดการกิจกรรม รวบรวมข้อมูล เพื่อช่วยตัดสินใจว่ามีความเสี่ยงหรือกำลังจะเกิดความเสี่ยงอะไรขึ้นบ้าง


อย่างไรก็ตาม Sopnendu มองว่า RegTech อาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอและไม่สามารถเข้ากันได้ในโลกการเงินแบบไร้รอยต่ออย่างบน Blockchain ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการศึกษาต่อไป


Dante ยังเสริมต่อว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะระบบทางการเงินเริ่มเปลี่ยนมาเป็น Peer-to-peer ซึ่งเขามองว่าเป็นข้อดีของระบบการชำระเงินที่จะมาลดข้อจำกัด อย่างเช่น การทำธุรกรรมข้ามประเทศ​ ดังนั้น การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในโลกคริปโต จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกการเงินดั้งเดิมได้


ความคืบหน้าของ CBDC (Central Bank Digital Currency)


Elizabeth เล่าถึงภาพรวมในดูไบว่า กำลังอยู่ในขั้นการเรียนรู้ ซึ่งธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังมีโปรเจกต์นำร่องและมีความสนใจใน Stablecoins 


ในส่วนของคุณสิริธิดา ได้กล่าวว่า ประเทศไทยมอง CBDC ว่ามีประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมข้ามประเทศ​ และกำลังร่วมมือกับธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority), Digital Currency Institute of the People's Bank of China และธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ


Sopnendu ได้อธิบายถึงระบบการเงินของธนาคาร เป็น Monetary Stack ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไป เขาอธิบายไว้ว่า


  • M0 Cash (เงินสด) จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น CBDC 
  • M1 Deposit (เงินฝาก) จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Tokenized Deposit
  • M2 และ M3 จะอยู่ในรูปแบบของ Stablecoins ที่หนุนหลังด้วย Asset และมีกฎระเบียบต่าง ๆ กำกับดูแล

หากถามว่าทำไมต้องการ Monetary Stack แบบใหม่ เพราะ Asset ต้องมี Ownership ต้องมีขั้นตอนการโอนย้ายที่น่าเชื่อถือ มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี และต้องการแนวทางที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ซึ่งคริปโตเป็นอีกทางออกที่น่าสนใจ และธนาคารกลางควรจะเป็นผู้สร้างทางเลือกทางการเงินให้กับลูกค้า และสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อสร้างให้เกิดตลาดคริปโตให้ดีขึ้นกว่าช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา


การร่วมมือกันด้าน Regulation ในทุกประเทศ


Elizabeth ทิ้งท้ายการสนทนาไว้ว่า การประสานงานกันในเรื่องกฎเกณฑ์ข้อบังคับของทุกประเทศอาจจะไม่เกิดขึ้นในแบบที่ครอบคลุมทุกด้าน เธอมองว่ามีแค่บางเรื่องเท่านั้นที่จะปรับให้สอดคล้องกันได้ และคาดว่าในปีหน้าเราจะได้เห็นสถานการณ์ที่ดีขึ้น 


Elizabeth มองว่า เราไม่ได้ต้อง Regulation Harmonization เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการ Regulation Engagement ด้วย เรายังต้องการความเข้าใจในหลายด้าน เพราะตลาดคริปโตเป็นตลาดที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงและพัฒนาขึ้นทุกวัน เราจึงต้องเพิ่มความว่องไวมากขึ้น


รับชมทั้งหมดได้ที่ YouTube: Regulations & Approaches to the Crypto Industry

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept