milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
01 พฤศจิกายน 2564
ภาษาไทย

อนาคตการลงทุนและการกำกับดูแลของ DeFi จากมุมมองของ VC ระดับ Top ของเอเชีย

ปัจจุบันคนเริ่มให้ความสนใจการลงทุนใน Crypto มากขึ้น ทั้งใน CeFi และ DeFi จึงมีบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เงินลงทุนก็ไหลตามเข้ามา และเมื่อมีผู้ใช้งานกับเงินมหาศาลย่อมมีความเสี่ยงในการฉ้อโกงตามมาเช่นกัน ดังนั้นหน่วยงานการกำกับดูแลจึงกังวลในเรื่องนี้ วันนี้ SCB 10X จึงนำบทสนทนาในงาน REDeFiNE TOMORROW 2021 ระหว่าง  Roland Schwinn หัวหน้าฝ่าย Business Development และหุ้นส่วนของธนาคาร Sygnum ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกที่ให้บริการ Staking บน Ethereum 2.0 กับ Arthur Cheong ผู้ก่อตั้ง และ Portfolio Manager แห่ง DeFiance Capital หนึ่งใน VC ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีสโลแกนที่ชัดเจนว่า “We invest in DeFi Eating Traditional Finance” พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้สนใจจะเข้ามาสู่วงการ DeFi มาให้ติดตามกัน

1200x800 What Is Next, And How to Stimulate The DeFi Ecosystem 02.png


ภาพรวมของ DeFi และบทบาทของ VC


Cheong มองว่าทุกวันนี้ การแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์และผู้ให้บริการ Crypto แบบรวมศูนย์อื่นๆ ยังคงทำได้ดีกว่า DeFi ในตอนนี้แม้จะมีข้อจำกัดและปัญหาหลายอย่าง แต่การที่ DeFi สามารถแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ได้จึงดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนใหม่ได้ ดังนั้นในอนาคต DeFi จึงมีโอกาสกลายเป็นรูปแบบหลักในวงการ Crypto ได้ จากข้อมูลสถิติผู้ใช้งาน DeFi  ในเวลา 2 ปี พบว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 3 ล้านคนบน Ethereum อย่างเดียว และถ้ารวมผู้ใช้ Binance Smart Chain และระบบนิเวศอื่นๆ เข้าด้วยกัน ก็ประเมินว่ามีผู้ใช้เกือบ 5 ล้านคน และจากการเก็บข้อมูลของ DeFi Pulse พบว่าจำนวนเงินทุนทั้งหมดใน Total Value Locked (TVL) ในปี 2021 มีอย่างน้อยประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2020 แล้วถึง 10 เท่า และเมื่อดูการระดมทุนของ DeFi ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่ใหญ่ สำหรับวงการ Crypto ที่ได้ร่วมทุนกับ NFTs และโครงสร้างพื้นฐานใน Crypto 

สำหรับวิวัฒนาการของ DeFi เริ่มต้นในปลายปี 2018 จากทีมสร้างแอปพลิเคชันทางการเงินบน Ethereum ชั้นนำ โดยในตอนนั้นมีเพียง 2-3 รายเท่านั้นที่มีแอปพลิเคชัน DeFi รวมแล้วจำนวนไม่ถึง 10 แอปฯ ซึ่งในปี 2019 ที่ตลาดอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ DeFi เป็นเคสเดียวเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือฤดูร้อนปี 2020 เพราะการทำฟาร์มในสหภาพยุโรปหรือการขุดสภาพคล่อง (Liquidity Mining) ได้เริ่มต้นขึ้น จึงมีคลื่นลูกใหม่เข้ามาในวงการนี้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม DeFi ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่คือความสามารถในการทำงานร่วมกันและคุณลักษณะการทำงานร่วมกัน ดังนั้น การทำให้โปรโตคอล DeFi ที่ต่างกันให้สามารถสร้างทับซ้อนกัน แทนที่จะสร้างฟังก์ชันที่ต้องการตั้งแต่เริ่มต้นใหม่ จึงจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดเวลา ซึ่ง DeFiance Capital เองก็มีความพยายามในการเชื่อมต่อโปรโตคอลมาตลอด

ในฐานะ VC เอเชียผู้บุกเบิกการลงทุนไปยังฝั่งตะวันตก Cheong มองว่าบทบาทสำคัญที่ทำให้ตลาดเติบโตได้มีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือบทบาทในการมีส่วนร่วมเรื่องกำกับดูแล เหมือนกับระบอบประชาธิปไตย ถ้าประชาชนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่ำ หรือไม่ค่อยมีส่วนร่วม จะทำให้ผลที่ออกมาเป็นเพียงตัวแทนของคนกลุ่มนึงเท่านั้น ดังนั้นการที่ DeFiance Capital เป็นผู้ถือโทเค็นรายใหญ่ในโปรโตคอล DeFi จึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อยื่นข้อเสนอต่อองค์ประชุมการกำกับดูแล ข้อที่สองคือบทบาทการเพิ่มสภาพคล่องเป็นเงินจำนวนมากให้กับผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ DeFi บริษัทต่างๆ ในช่วงเริ่มต้น เช่น DIVAProtocol, Sushi Swap, Balancer และ Alpha เป็นต้น และ Cheong คิดว่าบริษัทของเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทในฐานะสถาบันการลงทุนที่ยินดีรับความเสี่ยงนี้ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ใช้กลุ่มแรกของผลิตภัณฑ์และสามารถให้ข้อเสนอแนะโดยตรง แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์ และข้อสุดท้ายคือบทบาทการให้ข้อมูลความรู้โดย DeFiance Capital พยายามนำเสนองานวิจัยเพื่อใช้เป็นแนวทาง เช่น การจะเข้าถึงการลงทุนใน Crypto เป็นต้น บทบาทนี้จึงเป็นเหมือนผู้ให้คำแนะนำ

ในบทบาทผู้แนะนำ  Cheong คิดว่าสำหรับผู้ที่สนใจจะก้าวเข้ามาในวงการ DeFi สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ คุณจะต้องเข้าใจเรื่องนี้จริงๆ ก่อนที่จะใส่เงินเข้าไป โดยจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของ Crypto ซึ่งแหล่งข้อมูลนึงที่สามารถช่วยได้คือ Pneumatic และหนังสือ 2 เล่มจาก CoinGecko เล่มแรกที่อยากแนะนำคือ  HOW TO DEFI (ฺBeginner) ที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว และ HOW TO DEFI (Advance) ที่เพิ่งออกมาในปี 2021 Cheong กล่าวว่านี่เป็นหนังสือที่ครอบคลุม DeFi มากที่สุดเท่าที่เขาเจอมาทั้งหมด ผู้อ่านสามารถเข้าใจการลงทุนใน DeFi ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการจะเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่มีทางลัด คุณต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-20 ชั่วโมงในการอ่านและเรียนรู้ นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่เคยถูกโกงหรือเอาเปรียบเลยก็คือการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและทำวิจัยก่อนที่จะนำเงินไปใส่ในโปรโตคอล DeFi ทั้งหมดนี้เสมอ


DeFi Product ที่น่าสนใจในมุมของนักลงทุนระดับเอเชีย


ในขอบเขตของโปรโตคอลที่มีอยู่ตอนนี้  Cheong คิดว่า dAPP ประเภทการกู้ยืม และ Decentralized Exchange หรือ DEXes ถือเป็น 2 เสาหลักของ DeFi เพราะเกือบทุกฟังก์ชั่นจำเป็นต้องมีสิ่งนี้อยู่ และทั้ง 2 แอปนี้มีการลงทุนจำนวนมากตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน และจะเติบโตต่อไป DeFiance Capital จึงลงทุนใน 2 แอปนี้เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ศึกษาโปรโตคอล Derivative เพราะพวกเขาเคยลงทุนมาก่อนแล้วและเห็นผลสำเร็จที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม Cheong มองว่ายังมีโปรโตคอลที่ไม่ได้รับความสนใจทั้งที่มีศักยภาพอีกมาก อย่างการจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) เพราะในโลกของ Crypto ที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินใจด้วยข้อมูลมหาศาลทั้งหมด เว้นแต่จะมีเวลามากพอในการรับข้อมูลมาวิเคราะห์และตัดสินใจทุกสัปดาห์ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเข้าถึงผลิตภัณฑ์การจัดการสินทรัพย์ ซึ่งตอนนี้มีเพียงแค่ไม่กี่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น เช่น Enzyme Finance กับ DEXTF ถ้าตัดสินความสำเร็จจากดัชนีแล้วถือว่าพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่นี่อาจเป็นวิธีที่ดีกว่าในการดึงดูดนักลงทุนใหม่เข้ามาในโลก DeFi แทนที่จะให้กู้ยืมแบบเดิม 

ด้าน NFT  ผู้ใช้งานตั้งแต่ยุคบุกเบิกอย่าง Cheong ที่ใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกสุดที่ออกมาอย่าง Cryptokitty และเข้าร่วม Chain ที่ลงนามแล้ว เขาคิดว่ามันไม่ง่ายที่จะลงทุนในผู้เล่นที่ใหญ่กว่า นอกจากจะต้องการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่  จึงมีการลงทุนใน NFT เพียง 4-5 ครั้งเท่านั้น แต่ในไม่กี่ครั้งนี้ส่วนใหญ่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ส่วนเหตุผลที่ประสบความสำเร็จคือการเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายแรก และ NFT ของเขาเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปกติ DeFiance Capital เน้นลงทุนที่โทเค็นมากกว่า แต่ Cheong คิดว่าตอนนี้ NFT เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเขาเพิ่งลงทุนในโครงการใหม่ที่มีมูลค่าก่อนการลงทุนประมาณ 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และโครงการนี้ได้ที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงอย่าง Mark Cuban นักธุรกิจ Serial Entrepreneur ที่มีทรัพย์สินมูลค่ากว่าแสนล้านบาท และ VC ชื่อดังอีกมากมาย


Cheong คิดว่าทุกคนที่เคยใช้โปรโตคอล Layer 1 น่าจะทราบกันว่า DeFi จะเป็นตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบล็อกเชนสาธารณะ นี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงมีความพยายามอย่างเข้มข้นในการพัฒนา DeFi Ecosystem และการครอบงำของ Ethereum จะลดลงเล็กน้อย แม้สุดท้ายแล้วก็ยังสูงมาก จากเดิมที่กิจกรรม DeFi เกิดขึ้นบน Ethereumประมาณ 95 % น่าจะลดลงเหลือประมาณ 80 % ในอีกสองปีข้างหน้า กล่าวคือ Ethereum ยังคงเป็นโปรโตคอลที่โดดเด่นอยู่ดี  เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและจากความคุ้นเคยของผู้ใช้ แม้กระทั่ง NFT ในขณะนี้ส่วนใหญ่ก็อยู่บน Ethereum Blockchain แม้จะมีราคาสูงกว่าก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่ Chain อื่นๆ สามารถเติบโตได้เร็วในส่วนนี้เช่นกัน และแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพอย่างมาก อย่างไรก็ตาม DeFiance Capital ได้ลงทุนในระบบนิเวศอื่น ๆ เช่น Solana และ Terra ซึ่ง Cheong มองว่าเป็นที่น่าจับตามองเพราะก็มีประโยชน์ต่อการพัฒนา DeFi Ecosystem เช่นกัน

ในขณะที่โลก Crypto มีผู้ใช้งานเข้ามามากขึ้นก็มีกิจกรรม Cross-Chain มากขึ้นตามไปด้วย เพราะเหตุนี้จึงทำให้บริการ CeFi ได้เปรียบ เพราะ CeFi รองรับการซื้อขาย LTC, XRP, BTC และเหรียญอื่นๆ ที่ออกบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนอิสระ เนื่องจากความหน่วงแฝงและความซับซ้อนของการดำเนินการแลกเปลี่ยนข้าม Chain ทำให้ค่าบริการของ DeFi สูงกว่า CeFi จึงสามารถเอาชนะปัญหานี้ได้ด้วยการดูแลเงินทุนจากหลายเครือข่าย เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับ CeFi เนื่องจากเหรียญที่มีการซื้อขายบ่อยและมีมูลค่าสูงสุดในตลาดมีอยู่บนบล็อกเชนอิสระและไม่ได้ใช้มาตรฐานการทำงานร่วมกัน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นโดยในช่วงที่ผ่านมาสำหรับตลาดที่เป็นไปได้ทั้งหมดจะเป็นการปรับสมดุลโดยการผสมการทำงานแบบ Active และ Passive เข้าด้วยกัน  ดังนั้นเมื่อดูแนวโน้มการจัดการสินทรัพย์ในขณะนี้ มีแนวโน้มใหม่ที่เรียกว่า Smart Beta โดย Cheong เปรียบเทียบสิ่งนี้กับรถยนต์แบบ Passive ที่มีระบบ Active ด้วย  และถ้าตัดสินจากเกณฑ์เดิมที่มีอยู่นี่อาจเป็นรุ่นที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในตลาดทั้งหมดและสามารถเติบโตได้อีกในอนาคต ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาในตลาดนี้เริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2019 เป็น Binance Chain ซึ่งใช้งานได้ดีกับ Flat Pumps เช่น Pancake swap และตอนนี้ก็มี Phantom Active กับ Polygon รวมถึงที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุดอย่างแพลตฟอร์ม DeFi แรกบน Kusama ซึ่งเป็น canary network ของ Polkadot และ Songbird ที่เป็น Canary Network ของ Flare โดยทั้งหมดนี้เป็นโปรโตคอลที่ทำงานร่วมกันในระบบ Cross-Chain 


อนาคตของ DeFi กับ CeFi 


Cheong คิดว่ามันเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน แม้ตอนนี้ DeFi จะแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ส่วนที่เหลือ CeFi ยังคงเป็นทางออกหลักในอนาคต โดยสิ่งที่ DeFi ได้ disrupt ไปแล้วมี 2 ส่วน  ส่วนแรกคือ ผู้ให้บริการ DEXes แทบไม่เหลือพื้นที่ในตลาดการแลกเปลี่ยน Crypto ให้แก่ CeFi Exchange แล้ว  ใน tier 2 แล้ว ดังนั้น Tier 3 ก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะตอนนี้ DEXes สามารถแลกเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องย้ายไปใช้บริการอื่น และไม่ต้องทำ KYC (Know-Your-Customer) อีกต่อไป ส่วนที่สองคือการกู้ยืม แม้ในตอนนี้ CeFi จะยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า แต่การกู้ยืมใน DeFi  โดยตรงมีความยืดหยุ่นมากกว่าทั้งในเรื่องของจำนวนเงินกู้และระยะเวลาในการกู้ แต่ตอนนี้ด้วยประสบการณ์และความฉลาดของ Derivative DeFi ข้อเสนอจึงยังค่อนข้างต่างจาก Binance, FTX และอื่น ๆ เพราะไม่มี Cross Margin และปัญหาจากกลไกการชำระบัญชี เนื่องจาก Blockchain พื้นฐานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงพบว่ามันดีกว่าที่จะซื้อขายในการแลกเปลี่ยนแบบ DeFi สำหรับอนุพันธ์ จึงอาจสรุปได้ว่าการดำเนินการจากส่วนกลางนั้นเป็นประสบการณ์ที่ดีกว่าในบางบริการ 

Cheong จึงมองว่าทั้งคู่จะยังคงดำเนินต่อไป แต่คิดว่าในบางพื้นที่ DeFi จะเติบโตเร็วขึ้น ซึ่ง Schwinn ก็เห็นด้วยเนื่องจาก DeFi ใช้เทคโนโลยีในระดับที่สูงกว่า จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่นักลงทุนทุกคนจะเข้าใจในเรื่องวิธีการทำงานของระบบและรูปแบบในการใช้งาน รวมถึงยังมีข้อจำกัดหรือปัญหาบางอย่างใน DeFi ซึ่งในฐานะของ VC Cheong มองว่าข้อจำกัดในตอนนี้คือเรื่องของการขาดเอกสารและข้อมูลที่ชัดเจน เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง จึงต้องทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจและมั่นใจด้วย ผู้ใช้บางคนจึงอาจต้องการให้มีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล เพราะมีคนไม่ดีที่ฉวยโอกาสอยู่เสมอ แต่โดยส่วนตัว Cheong มองว่าควรปล่อยตามกลไกตลาดเสรีที่ไม่มีการควบคุม ถ้าดูที่ Blue-Chip หรือโปรโตคอล DeFi อันดับต้นๆ อย่างเช่น Uniswap หรือ AAVE มีระบบการรับรองความปลอดภัยและความเสี่ยงที่ดี แต่อาจเพิ่มความปลอดภัยด้วยการตรวจสอบบัญชีและระบบเป็นประจำโดยเฉพาะ Code ที่ออกใหม่ และเน้นความเสี่ยงที่อาจมีคนมา Interrupt โปรโตคอล ถึงแม้ตอนนี้จะมีแค่โปรโตคอลระดับแถวหน้าที่มีการดูแลในส่วนนี้ แต่บริษัทที่เหลือก็กำลังพัฒนาและทำสิ่งนี้อยู่เช่นกัน อีกวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือการสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั้งอุตสาหกรรมสำหรับการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อบังคับ แต่เป็นความพยายามร่วมมือกันของทั้งวงการ โดยทุกคนต้องเห็นด้วยกับแนวทางนั้น เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทไหนหรือเรื่องใดที่ควรเปิดเผยข้อมูลก่อน แล้วจะเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือในแนวปฏิบัติของผลิตภัณฑ์นั้น สำหรับผู้พัฒนาที่ไม่ให้ความร่วมมือกับมาตรฐานนี้จะมีความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับโปรโตคอลอื่นที่ให้ความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม Cheong มองว่าข้อเสนอของเขาทั้งหมดนี้ยังต้องมีการปรับอีกมากสำหรับการนำมาใช้งานจริง เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุด 

สำหรับ Schwinn ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจในธนาคารสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกได้กล่าวว่าปัจจุบันเราจะเห็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีมากขึ้น แต่การใช้งาน stake token หรือบริการอื่นๆ บน Interface ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน เขาจึงมองว่า CeFi จะยังคงอยู่ ในขณะที่ DeFi อาจเข้ามาแทนที่ได้ถ้าสามารถแก้ปัญหาให้ User-Friendly ได้ ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎระเบียบของวงการ Crypto ก็มีวิวัฒนาการมากขึ้นตามกันเพื่อทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เช่น หน่วยงานกำกับดูแลของสิงคโปร์ตัดสินให้มีการควบคุมการซื้อขาย Crypto ภายใต้ Payment Services Act (PSA)  รวมถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศอื่นๆ ที่มีการกำกับดูแลเกิดขึ้น โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ควบคุมการซื้อขาย Crypto ภายใต้อำนาจตลาดการเงินของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามยังมีข้อโต้แย้งว่าควรมีการกำกับดูแล DeFi เหมือนที่บังคับใช้ใน CeFi หรือไม่ อย่างเช่น Coinbase ซึ่งแน่นอนว่า Cheong ไม่เห็นด้วยอย่างมากกับการกำกับดูแลวงการ DeFi ด้วยวิธีเดียวกับ CeFi เขามองว่าการเข้ามากำกับดูแลจะเป็นการขัดจังหวะการพัฒนาและการเติบโตของโปรโตคอลโดยตรง แต่ก็ควรมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแล โดยอาจสร้างแนวทางร่วมกัน หรือตอบโต้แทนที่จะตีกรอบไว้ตั้งแต่แรก  เพราะการตอบโต้จะทำให้กฎระเบียบมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น ซึ่งในตอนนี้มีเหตุการณ์สำคัญที่น่าจับตามองคือ FATF จะมีการออกแนวทางในระยะสั้นที่กำลังจะปล่อยออกมาในเดือนตุลาคมนี้ โดยพยายามจะให้เผยแพร่เข้ามาในวงการ DeFi ด้วย อย่างไรก็ตามในโลกของ DeFi เองก็มีความพยายามในการให้ความรู้แก่หน่วยงานกำกับดูแลมากขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ และในทางกลับกันพวกเขาก็จะได้รับคำแนะนำด้านกฎระเบียบที่สมเหตุสมผลมากขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแลเช่นกัน 


ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่น่าสนใจของวงการการเงินในโลกยุคใหม่อย่าง DeFi  ในมุมมองของ VC ว่าแนวทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร และในโอกาสต่อไป SCB 10X จะมีเรื่องราวของ Blockchain ที่น่าสนใจมาให้ติดตามกันอีกอย่างแน่นอน 


สามารถรับฟัง Session นี้ย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/AVslp9koHEs

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept