รู้จัก Scalping Trading อีกสไตล์การเทรดยอดนิยมในโลก Cryptocurrency
ผู้ที่ชอบการเทรดแบบน่าตื่นเต้นให้อะดรีนาลีนได้หลั่ง หรือคนที่ชอบจ้องหน้าจอดูชาร์ต รวมถึงมีความสามารถกับการเข้าหรือออกจากการเทรดเร็วกว่าที่นักลงทุนต้องอาศัยเทคนิคเทรดตามข่าวรายงานผลประกอบการ (Earnings Report) การลงทุนสไตล์ ‘Scalping’ อาจเป็นแนวทางการเทรดที่เหมาะกับคุณ
นักเทรดสไตล์ Scalping มักตั้งเป้าที่จะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่มาก เป้าหมายไม่ใช่การทำกำไรจำนวนมากในการเทรดแต่ละครั้ง แต่เป็นการทำกำไรเล็กน้อยแต่ซ้ำแล้วซ้ำอีก และหากทำได้ดีเมื่อเวลาผ่านไปบัญชีการสำหรับเทรดของพวกเขาก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ นักเทรดสไตล์นี้มักจะเน้น Leverage และ Stop-Losses ที่เข้มงวด

ทำความรู้จักเกี่ยวกับการเทรดสไตล์ Scalping ในเบื้องต้น
Scalping เป็นการเทรดที่ใช้กลยุทธ์การเทรดระยะสั้น (Short-Term Trading Strategy) ความจริงแล้วเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเทรดรายวันที่พบบ่อยที่สุด เป็นการเทรดที่ใช้ระยะเวลาที่สั้นมากในการทำกำไร ต้องอาศัยการตัดสินใจที่รวดเร็ว รวมถึงใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและเครื่องมือวิเคราะห์ชาร์ตต่างๆ ประกอบ
Scalping จึงอาจมีการเทรดหลายครั้งในช่วงเวลาอันสั้น โดยมองหาการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยและความไร้ประสิทธิภาพของตลาด แนวคิดก็คือการกองและทบยอดกำไรเล็กน้อยเหล่านี้จนผลกำไรจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเวลาผ่านไป
กลยุทธ์การซื้อขาย Scalping สามารถใช้กับตลาดการเงินต่างๆ ได้หลายประเภท จึงมีบทบาททั้งในตลาดหุ้น การซื้อขาย Forex และสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)
อย่างไรก็ตาม การเทรดวิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากต้องใช้ความเข้าใจขั้นสูงเกี่ยวกับกลไกตลาดประกอบกับการตัดสินใจที่รวดเร็ว และต้องมีวินัยอย่างมาก รวมถึงมักต้องตกอยู่ภายใต้ความเครียด
การเทรดแบบ Scalping เหมาะกับใคร และจะเริ่มเทรดวิธีนี้ดีหรือไม่?
การที่จะทราบได้ว่าตนเองควรเทรด Scalping หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดที่เหมาะสมและได้ผลดีกับแต่ละคน ตัวอย่างเช่น นักเทรดหลายคนไม่ชอบถือ Position การเทรดใดๆ ทิ้งเอาไว้ข้ามคืนหรือเมื่อเข้านอน ดังนั้น การเทรดแบบระยะสั้นหรือ Day Trading และรูปการเทรดแบบระยะสั้นอื่นๆ จะเหมาะกับคนเหล่านี้
ในทางกลับกัน นักเทรดแบบระยะยาวที่ชอบการตัดสินใจอย่างละเอียดหรือมีความซับซ้อนในระยะยาว และไม่กังวลเรื่องการเปิด Position ทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยอาจมีการตั้งค่าการเข้าเทรด เป้าหมายของกำไร และ Stop-Loss รวมถึงคอยตรวจสอบการเทรดเป็นครั้งคราว ซึ่งหากเป็นลักษณะนี้ก็จะเหมาะกับ Swing Trading
ดังนั้น หากต้องการตัดสินใจว่าคุณต้องการเทรดแบบ Scalping หรือไม่ ควรอธิบายให้ได้ว่ารูปแบบการเทรดใดที่เหมาะกับตนเองมากกว่ากัน ควรค้นหากลยุทธ์การเทรดที่ตรงกับบุคลิกและความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เพื่อช่วยให้สามารถทำการเทรดได้อย่างสม่ำเสมอและมีกำไร อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงทุกคนสามารถทดลองใช้กลยุทธ์ต่างๆ ให้หลากหลายและตรวจสอบว่าอะไรได้ผลและไม่ได้ผล
การเทรดแบบ Scalping ดีกว่า Day Trading หรือไม่และอย่างไร?
ความแตกต่างหลักๆ ระหว่าง Day Trading กับการเทรดคริปโตแบบ Scalping คือเรื่องของกรอบเวลาหรือเวลาที่กำหนดให้กราฟราคาแสดงในช่วงเวลานั้นๆ (Time Frame: TF)
แม้ว่าการเทรดทั้งสองรูปแบบจะเป็นการซื้อขายระหว่างวันที่เกิดขึ้นภายในวันเดียวเช่นเดียวกัน แต่นักเทรดรายย่อยจำนวนมากไม่ชอบที่จะเข้านอนในขณะที่ยังมีการเปิด Postiion อยู่ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเหมาะกับการซื้อขายแบบ Scalping มากกว่าการเทรดแบบ Day Trading
ส่วนคนที่ไม่ชอบที่จะติดอยู่กับหน้าจอนานๆ รวมถึงต้องทำการเปิดและปิด Postion หลายสิบหรือหลายร้อย Position ในแต่ละวัน การเทรดแบบ Day Trading จะเหมาะกับคนกลุ่มนี้
นอกจากนี้ บางรายอาจจะติดนิสัยการปิด Position เมื่อใดก็ตามที่เห็นว่าสามารถทำกำไรได้แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม การติดกับระบบการให้รางวัลลักษณะนี้ท้ายที่สุดอาจเป็นตัวการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่ทรงพลังที่ส่งผลเสียต่อผู้เทรดได้
โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ จากการศึกษาวิจัยของ The Financial Conduct Authority (FCA) ที่ดำเนินการกับนักลงทุน 517 ราย ซึ่งผู้เข้าร่วม 38% ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้เข้าเทรดของพวกเขาไม่ได้มาจากความเป็นเหตุเป็นผล แต่เกิดจากความตื่นเต้นทางอารมณ์ในการซื้อขายและเป็นเรื่องของการส่งสัญญาณทางสังคมมากกว่า จุดนี้จึงชี้ให้เห็นได้ชัดเจนว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นกับนักเทรด คือความมั่นใจที่มากเกินไปและการขาดทักษะต่างๆ
ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจลงทุนของคุณจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ กุญแจสำคัญ คือการฝึกเทรดแบบ Scalping หรือการเทรดแบบอื่นๆ โดยไม่มีความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบันในตลาด Crypto ก็มีบัญชีสำหรับทดลองหรือตัว Demo ให้ผู้สนใจได้ทดลองฝึกการเทรดในการซื้อขายแลกเปลี่ยน Crypto และเครื่องมือติดตามทางตลาดต่างๆ ก่อนเริ่มเทรดจริง
ขอบคุณข้อมูลจาก Binance, beincrypto และ Investopedia