milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
20 มีนาคม 2567
ภาษาไทย

Navigating the Future: วิเคราะห์เทรนด์ Blockchain แห่งปี 2024

“Blockchain” คือ หนึ่งในความก้าวหน้าและความท้าทายของโลกเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 หลายฝ่ายต่างมองว่า สิ่งนี้คือ ตัว Disrupt อุตสาหกรรม และ Transform โลกการเงินและโลกข้อมูล ด้วยการพัฒนาของ Blockchain จะเห็นได้ว่ามี Business Models ใหม่ ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับมีความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลังนำเทคโนโลยีไปปรับใช้


Article2MARTH_1200X800.jpg


ถึงแม้ว่า ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา หลังจากการเกิดขึ้นของ Bitcoin เทคโนโลยี Blockchain ก็ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่ยังถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นรูปธรรม ในทางกลับกันหลายคนต่างมองว่า Blockchain ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ และอยู่ในจุดเริ่มต้นของการพัฒนาก็ว่าได้

 

ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญได้มีการศึกษาและทำนายว่า Blockchain จะยังคงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง แต่เรื่องที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ Blockchain ในวงการไหนที่จะเป็นดาวเด่น และวงการไหนที่จะเจอความท้าทาย


ในบทความนี้เราจะพาไปส่องเทรนด์ที่น่าสนใจ ที่เหล่านักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจะเป็นเทรนด์สำคัญแห่งปี 2024 ทั้งการเติบโตของ DeFi โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น Cryptocurrencies การพัฒนาด้านการกำกับดูแล รวมไปถึงการเข้ามาลงทุนขององค์กร


DeFi จะโตขึ้น


ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า ความสนใจและการลงทุนใน Blockchain นั้น จะมุ่งไปในส่วนของ “การเงิน” มากที่สุด และในปี 2024 นี้ เทรนด์นี้ก็จะเติบโตขึ้นเช่นที่ผ่านมา


จากข้อมูลของ Avivah Litan นักวิเคราะห์จาก Gartner เผยว่า ตลาด Cryptocurrencies จะเติบโตขึ้น และสถาบันการเงินก็จะมาเข้าร่วมในตลาดนี้มากขึ้น ด้วยการนำเอา Blockchain มาพัฒนาบริการทางการเงิน เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงบริการและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินแบบใหม่


จากรายงานการวิเคราะห์บน ReportLinker เรื่อง “Blockchain In Banking And Financial Services Global Market Report 2023” อธิบายไว้ว่า ด้วยการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่นี้ หากลองคำนวณจะพบว่า ตลาด Blockchain ระดับโลก ในด้านธนาคารและการเงินเติบโตขึ้นจากมูลค่า 1,890 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 เป็น 3,070 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 ซึ่งเป็นการลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการเงินบน Public และ Private Blockchain 


และมีการคาดการณ์ว่า ตลาดการบริการทางธนาคารและการเงินบน Blockchain จะเติบโตขึ้นไปสู่ง 19,270 ล้านดอลลาร์ในปี 2027


สำหรับภูมิภาคที่มีการใช้งาน Blockchain ทางการธนาคารและการเงินมากที่สุดในปี 2022 ตกเป็นของอเมริกาเหนือ ในขณะที่ฝั่งเอเชียแปซิฟิก จะเป็นภูมิภาคที่ตลาดจะเติบโตเร็วที่สุดในอนาคต

องค์กรและบริษัทระดับโลกที่ลงมาเล่นในตลาดการธนาคารและการเงิน อย่างเช่น Microsoft Corporation, IBM, Infosys, Amazon Web Services, Hewlett Packard Enterprise, R3, Intel, Oracle Corporation, SAP SE, Accenture plc, JPMorgan Chase & Co., Bitfury Group Limited, Auxesis Services & Technologies (P) Ltd., ConsenSys, Akamai Technologies Inc. และ AlphaPoint เป็นต้น



การหลอกลวงและการคอร์รัปชั่น ทำให้ความสนใจใน Blockchain ลดลง

 

ถึงแม้ว่า ในอุสาหกรรมทางการเงินบน Blockchain จะมีเม็ดเงินไหลมาจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ความกังวลใน Bad news ที่เกิดขึ้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ความสนใจใน Blockchain เริ่มลดลง

 

เริ่มต้นจากการล่มสลายของ Terra เมื่อปี 2022 ที่ทำให้ตลาดเริ่มสั่นคลอน ตามมาด้วยการล้มของ FTX แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Cryptocurrencies เจ้าใหญ่ระดับโลกเมื่อปี 2022 พร้อมกับผู้ก่อตั้งและอดีต CEO อย่าง Sam Bankman-Fried ที่ถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และรวมไปถึงคดีฉ้อโกง และต่อมาไม่นาน เมื่อต้นปี 2023 ผู้ให้บริการกู้ยืมคริปโต Genesis Global Capital ได้ยื่นล้มละลาย หลังได้รับผลกระทบจากการล้มของ FTX และพบว่า Genesis ยังเป็นหนี้อีกกว่า 3,400 ล้านดอลลาร์

 

จากรายงาน 2022 Internet Crime Report ของ FBI ชี้ว่า การฉ้อโกงจากการลงทุนในคริปโตเพิ่มขึ้นจาก 907 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ไปสู่ 2,570 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 (เพิ่มขึ้นมากถึง 183%) และในปี 2023 รายงานนำเสนอว่า สแกมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ให้บริการคริปโตก็มีการให้ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ในเรื่องการกู้คืนสินทรัพย์ที่สูญเสียไป อีกทั้งยังมีการสร้าง NFT ปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกให้ผู้ที่สนใจมาลงทุนและต้องเสียสินทรัพย์ในวอลเล็ตไปโดยเปล่า

 

จากปัญหาเหล่านี้ ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวล และทาง Litan เองก็มองว่า ข่าวที่ออกมานี้มีผลกับตลาดเป็นอย่างมาก โดย Litan ได้วิเคราะห์ว่า “ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนานวัตกรรมออกมา แต่การที่ผู้คนจะเข้ามาร่วมในโลก Blockchain จะลดลง และปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกับทุก ๆ อุตสาหกรรม ผู้คนเริ่มไม่ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีแล้ว”



นโยบายทางกฎหมายและการกำกับดูแลที่พัฒนาขึ้น

 

เมื่อตลาดคริปโตเติบโตขึ้น ก็ถูกรบกวนด้วยสแกม การหลอกลวงต่าง ๆ เป็นผลให้หน่วยงานกับกับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องออกมาสร้างจุดร่วมให้โลกคริปโตดำเนินไปได้อย่างรายรื่น พร้อมกับปราบปรามอาชญากรรมและลดการสร้างความวุ่นวาย

 

ยกตัวอย่างตลาดยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการยกระดับเรื่องกฎหมายให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ทาง ก.ล.ต. สหรัฐฯ ได้มีการยื่นฟ้องนักธุรกิจคริปโต อย่าง Justin Sun ผู้ก่อตั้ง TRON กับ 3 บริษัทที่ Sun เป็นเจ้าของ ในประเด็นที่ 3 บริษัทดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนในการให้บริการซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนสินทรัพย์คริปโต พร้อมกับแจ้งข้อหาฉ้อโกง และมีการจ้างวานคนดังให้มาชักชวนในการลงทุนในเหรียญ TRX และเหรียญอื่น ๆ โดยไม่มีการชี้แจงรานละเอียดการจ้างวานอย่างชัดเจน นอกจากนี้ทาง ก.ล.ต. สหรัฐฯ ยังได้แจ้งข้อหาต่อ 6 คนดังที่ได้เข้าร่วมในการชักชวนให้มาลงทุนใน TRX และเหรียญอื่น ๆ อย่างผิดกฎหมายอีกด้วย

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ได้ดำเนินคดีกับ Payward Ventures Inc. และ Payward Trading Ltd. หรือที่รู้จักในชื่อ Kraken เนื่องจากไม่ได้มีการยื่นลงทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ Staking-as-a-Service และบริการซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนคริปโต และทาง Kraken เองก็ได้ตกลงที่จะจ่าย 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อยุติข้อกล่าวหา

 

การดำเนินคดีกับ Kraken เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ทาง ก.ล.ต. สหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้อง Nexo Capital เนื่องจากไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนการให้บริการซื้อ-ขายและกู้ยืมสินทรัพย์อย่างถูกต้อง ซึ่ง Nexo ต้องจ่ายค่าปรับกว่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ ทาง ก.ล.ต. สหรัฐฯ ยังได้มีการยื่นดำเนินคดีต่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนอย่างถูกต้องอีกหลายรายตลอดช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการยับยั้งการฉ้อโกงและป้องกันการดำเนินกิจการอย่างไม่ถูกต้องบน Blockchain แล้ว ยังมีข่าวดีสำหรับวงการ Bitcoin เช่นกัน อย่างการที่ ก.ล.ต. ได้อนุมัติกองทุน Bitcoin ETF เมื่อมกราคม 2024 

 

ความก้าวหน้าของบริบทด้านการกำกับดูแลภายในสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมีนาคมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ Tom Emmer ซึ่งยังเป็นหนึ่งในประธานของ Congressional Blockchain Caucus ออกมาชี้แจงว่า มีการเสนอจัดร่าง Blockchain Regulatory Certainty Act. หรือข้อกฎหมายที่ช่วยจัดการ และกำกับดูแลในเรื่อง Blockchain ซึ่งร่างกฎหมายนี้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบางส่วนแล้ว 

 

สำหรับ ร่าง Blockchain Regulatory Certainty Act. จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความชัดเจนทางกฎหมายเกี่ยวกับ Blockchain สำหรับนักพัฒนาและผู้ให้บริการที่ไม่ได้ถือหรือจัดการกองทุนสำหรับผู้บริโภค (Consumer Funds) และจะต้องให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เข้มงวด

 

ปัจจุบันนี้ ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาได้มีการเสนอร่างกฎหมายรัฐเกี่ยวกับการกำกับดูแล Blockchain และ Cryptocurrencies แล้ว



องค์กรและบริษัทหันมาลงทุนใน Blockchain

 

ถึงแม้ว่ามีความท้าทายและความวุ่นวายเกิดขึ้นในโลก Blockchain แต่ทางฝั่งขององค์กรในหลายอุตสาหกรรมก็ได้เริ่มติดตามและลงมาเล่นในสนาม Blockchain มากขึ้น

 

ผู้บริหารต่างหันมาศึกษาและทำความเข้าใจ Blockchain ว่าจะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแพลตฟอร์มของธุรกิจได้อย่างไร ยกตัวอย่างไอเดียการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ เช่น ใช้ในการเข้าถึงและช่วยในการจัดการ ช่วยบริหารซัพพลายเชน ใช้ Smart Contract เพิ่มประสิทภาพผลิตภัณฑ์ และยังใช้ในการตรวจสอบเอกสาร เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้องค์กรต่าง ๆ ยังคงอยู่ในช่วงของการศึกษาไอเดียและยังทดลองการทำงานของ Blockchain ในองค์กรอยู่ ยังไม่มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง

 

Seth Robinson รองประธานการวิจัยอุตสาหกรรมของ CompTIA อธิบายถึงการปรับใช้ Blockchain ในอุตสาหกรรมไว้ว่า อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่นอกเหนือจากภาคการเงิน ยังไม่สามารถปรับแพลตฟอร์มเข้ากับ Blockchain ได้ เนื่องจากยังไม่สามารถปรับด้านเงินทุนในการเปลี่ยนระบบให้เหมาะสมได้ หรือต้องใช้เงินทุนสูงนั่นเอง

 

นอกจากนี้ Robinson ยังคาดหวังว่าการรับเอา Blockchain มาใช้ในองค์กรจะเพิ่มขึ้น หากทางผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ (ด้วย Blockchain) สามารถหาทางปรับปรุงหรือสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่จะช่วยองค์กรพัฒนาไปได้จริง

 

“ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (บน Blockchain) จะต้องแสดงให้องค์กรเห็นว่า Blockchain สามารถเป็นโซลูชันให้กับองค์กร และมันจะเป็นสิ่งที่องค์กรเห็นว่าควรนำมาแทนที่ของเดิมได้จริง” Robinson กล่าว

 

และในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีบางองค์กรนำเอา Blockchain มาศึกษา ทดลองและพัฒนาในพื้นที่อื่นนอกจากด้านการเงิน ตัวอย่างเช่น ใช้ในการให้ความยินยอมด้าน ESG หรือการเพิ่มความโปร่งใสในธุรกิจซัพพลายเชน หรือใช้ในการตรวจสอบว่าวัตถุดิบที่นำเข้ามานั้นมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เป็นต้น



NFTs ในโลกธุรกิจ

 

ปฏิเสธไม่ได้ กับความนิยมของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง NFTs หรือ Non-Fungible Tokens ที่ถูกสร้างขึ้นและถูกแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่ากันตลอดเวลาบนโลก Blockchain

 

จากงานวิจัยของ Morgan Stanley เมื่อปี 2021 ได้ประมาณมูลค่าของตลาด Metaverse gaming และ NFTs ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 

 

ขณะที่ Deloitte ได้นำเสนอศักยภาพของ NFTs สำหรับธุรกิจผ่านรายงานปี 2022 โดยกล่าวขึ้นต้นไว้ว่า “องค์กรกับ NFTs: จับตา NFTs และศักยภาพสำหรับธุรกิจ” และเขียนอธิบายต่อว่า “ยิ่งองค์กรพัฒนาและทดสอบแนวทางใหม่ ๆ สำหรับ NFTs เราจะมองเห็นการนำ NFTs ไปใช้ในหลายรูปแบบในอนาคต และมันจะเปลี่ยนแนวทางของการโอนย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้สิทธิทางดิจิทัลที่ถูกต้อง และมันจะเป็นการกำหนดนิยามใหม่ของการค้าสมัยใหม่”

 

หลังจากที่มีการอนุมัติกองทุน Bitcoin ETF ในสหรัฐอเมริกา ทางฝั่งของเกาหลีใต้ก็มีการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดยที่ทาง South Korea Financial Supervisory Service (FSS) ได้เข้าไปพูดคุยกับ ก.ล.ต. สหรัฐฯ ในการตรวจสอบการร่างกฎการกำกับดูแลสำหรับ NFTs และสินทรัพย์ดิจิทัลในทวีปเอเชีย

 

การพูดคุยของ FSS และ ก.ล.ต. สหรัฐฯ เกิดขึ้นในขณะที่มีการคาดการณ์การเติบโตของ NFTs ว่ามูลค่า NFTs ในตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 1,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 สู่ 3,200 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2027

 

เช่นเดียวกับ Bitcoin ที่ตั้งแต่ต้นปี 2024 มีการเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมูลค่าเพิ่มขึ้น 35% จากเดือนธันวาคม 2023 (ข้อมูลมกราคม 2024)



Sources: TechTarget, CoinDesk, NFT Plazas, ReportLinker



Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept