milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
27 ธันวาคม 2566
ภาษาไทย

ส่อง AAVE’s Ecosystem กับการขับเคลื่อนอนาคตของของโลก DeFi

เมื่อพูดถึงโลก DeFi จะเห็นว่ามีการพัฒนาและมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีโปรโตคอลมากมายเกิดขึ้นมาเพื่อให้บริการทางการเงินที่เรียกได้ว่าบนโลก DeFi ได้กลายเป็นธนาคารดิจิทัลที่น่าสนใจไปแล้ว และเมื่อพูดถึงการเงินก็คงหนีไม่พ้นประเด็น Lending Protocol ที่น่าจับตามอง และมีการพัฒนาไปอย่างน่าสนใจ 

Redefine_Article4OCT_1200X800.jpg

ทำความรู้จักหนึ่งใน Lending Protocol ที่น่าสนใจอย่าง AAVE ที่ได้พัฒนามาสู่ AAVE V3 พร้อมกับเปิดภาพ Ecosystem ของ AAVE ที่กำลังพัฒนาให้เป็นมากกว่า Lending Protocol 

สรุปจากบทสนทนาของ Stani Kulechov, CEO & Co-founder ของ Aave และ Melody He, Partner & Co-founder ของ The Spartan Group ใน REDeFiNE TOMORROW 2023 ในหัวข้อ “AAVE’s Ecosystem: Powering the Future of Decentralized Finance”

AAVE V3 คืออะไร และแตกต่างจากเวอร์ชั่นก่อนอย่างไร?

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจกับ AAVE V3 เราขอพาไปทำความรู้จักกับ AAVE Protocol กันก่อน

AAVE Protocol คือ โปรโตคอลสำหรับให้ผู้ใช้งานมาดำเนินการด้านสภาพคล่องแบบกระจายศูนย์ (Decentralize) โดยจะเปิดให้มีการกู้ยืม รวมทั้งเปิดให้ผู้ใช้เข้ามาเป็นผู้ให้บริการกู้ยืมเองได้

AAVE V3 เป็นเวอร์ชันใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นและได้ปล่อยออกมาให้ใช้งานกันตั้งแต่ไตรมาส 1 เมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา โดยความพิเศษในครั้งนี้คือการขยายเวอร์ชันออกไปในตลาดที่หลากหลายมากขึ้น จากเดิมที่ AAVE Protocol ทำงานอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ก็ได้มีการเปิดตลาดใหม่ออกไปใน Polygon, Avalanche และบน Layer 2s อย่าง Optimism, Metis และ Arbitum

Kulechov อธิบายว่า “AAVE V3 คือการขยายสู่ตลาดใหม่ ไม่ใช่เพียงการอัพเดตจากเวอร์ชันเดิม เนื่องจากต้องการจะศึกษาโปรโตคอลในตลาดที่เล็กลงนอกจาก Ethereum และก็มองว่าตลาดนี้จะมีความปลอดภัยมากกว่า”

AAVE V3 นี้มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ

  • High Efficiency Mode (eMode) คือ ฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral) โดยจะมีการคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ค้ำประกันของผู้กู้และโทเคนที่ผู้กู้ต้องการกู้
  • Isolation Mode คือ ฟีเจอร์ที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการและป้องกันความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์หรือโทเคนใหม่ที่เพิ่งถูกเพิ่มลงไปบนโปรโตคอล เพื่อป้องกันและจำกัดความเสี่ยง

Kulechov กล่าวว่า เนื่องจากโปรโตคอล AAVE มีความยืดหยุ่นทำให้ขยายออกไปสู่ตลาดที่หลากหลายได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ใช้งาน V2 ก็สามารถย้ายมาบน V3 ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบน V2 มีผู้ใช้งานอยู่กว่า 5.2 พันล้านราย ในขณะที่ V3 มีผู้ใช้งาน 1.4 พันล้านราย 

โดย Kulechov ให้เหตุผลที่ผู้ใช้บางรายยังเลือกที่จะไม่ย้ายมา V3 ว่า บน V2 มีบางฟีเจอร์ที่มีความสำคัญต่อผู้ใช้งานเดิมอยู่ แต่บน V3 เราได้เพิ่มในเรื่องของความปลอดภัยเข้ามา อย่างเช่นเครื่องมือ Risk Admin ที่จะมีตัวแทนในการจัดการความเสี่ยงให้กับผู้ใช้งาน และด้วย DAO (Decentralized Autonomous Organizations) บน V3 จะมี Contributors ในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายมาพัฒนาโปรโตคอลและสร้างเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของผู้ใช้บน AAVE Protocol อย่างเช่น Satora เป็น Security Contributor มี Gaunlet และ Chaos Labs ออกแบบเครื่องมือพารามิเตอร์ด้านความเสี่ยง เป็นต้น

GHO Stablecoin กับการเข้ามาเติมเต็ม AAVE Protocol

GHO คือ Stablecoin ของ AAVE Protocol ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุน Ecosystem บน AAVE โดย Kulechov อธิบายว่า GHO เป็นเหมือน Facilitator คือ ผู้อำนวยความสะดวก โดยผู้ใช้สามารถนำสินทรัพย์ค้ำประกันมา Mint GHO โดยที่สินทรัพย์ค้ำประกันดังกล่าวนั้นจะยังได้รับดอกเบี้ยกู้จากการฝากไว้บน AAVE Protocol ในรูปแบบของจำนวนกู้ GHO ที่มากขึ้น

ภายใต้วิสัยทัศน์ในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานบนโลก DeFi ให้มากขึ้น Kulechov มองว่า GHO คือ อีกหนึ่ง Innovation Curve ของ AAVE ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโปรโตคอลและเครื่องมือต่าง ๆ โดย GHO Stablecoin ยังเป็นตัวแปรให้สามารถแก้ปัญหาทางด้านการเงินได้อีกหลายอย่าง และล่าสุด ทาง AAVE ก็ได้เริ่มให้ใช้งาน GHO บน Ethereum Mainnet ไปแล้ว

ทางด้าน Melody He ได้เสริมเรื่อง Stablecoin ว่าเป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาส่งเสริมเศรษฐกิจโลกในช่วงนี้ เนื่องจากโลกกำลังเกิดสภาวะเงินเฟ้อ รวมไปถึงเงินดอลลาร์ขาดแคลนในหลายประเทศ และในบางประเทศยังมีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน จึงมองว่าสกุลเงินทางเลือก (Alternative Currency) อย่าง Stablecoin จะเข้ามาช่วยยกระดับและแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ขาดเพียงแต่การยอมรับและการ Adopt ใช้ในแต่ละประเทศเท่านั้น

Kulechov ให้ความเห็นด้านนี้ต่อว่า การทำธุรกรรมทั้งในชีวิตประจำวันและในโลกอินเทอร์เน็ต ยังไม่มีความโปร่งใสจริง แต่ในโลก DeFi เราสามารถสร้างสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่จะสามารถใช้งานได้อย่างโปร่งใสขึ้นมาได้จริง จนสามารถทำดำเนินการกับคู่สัญญาที่หลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังไม่มีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมอีกด้วย

ทำความรู้จัก Lens Protocol โซเชียลมีเดียบน Web3

สำหรับ AAVE Protocol ไม่ได้มีเพียงการพัฒนาโปรโตคอลเพื่อการกู้ยืมเท่านั้น แต่ยังมีการออกแบบโปรโตคอลแยกอย่าง Lens Protocol ที่เป็นพื้นที่สำหรับผู้ใช้งาน ในการเข้ามาสร้าง Social Media เข้ามาออกแบบผลงาน เป็น Creator สร้างสังคมในรูปแบบที่ตัวเองสนใจ โดย Lens Protocol จะเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบ Social Graph เป็นของตัวเอง (ต่างจาก Web2 อย่าง Facebook และ Twitter ที่จะมีการเข้ามาแทรกแซงจัดการ Social Graph ของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรากดถูกใจเพจอาหาร Facebook ก็จะ Suggest เพจอาหารมาให้ ซึ่งนี่ก็คือการเข้ามาจัดการ Social Graph ให้กับผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจ Social Graph ของตัวเองได้ ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มสามารถบล็อก หรือบัญชีกับผู้ใช้งานที่แพลตฟอร์มได้เองทันที)

แต่ Lens Protocol ผู้ใช้งานจะสามารถเข้ามาสร้างคอนเทนต์ สร้างตัวตน (Digital identity) ได้ และสามารถจัดการ Social Graph ได้เอง เพราะเป็นรูปแบบการจัดการแบบกระจายศูนย์ (Decentralize) ซึ่งนอกจากจะสร้างคอนเทนต์แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถสร้างรายได้จากคอนเทนต์ของตัวเองในคอมมูนิตี้ของตัวเองได้อีกด้วย และผู้ใช้จะสามารถเก็บและนำ Data ในรูปแบบ Social Graph มาเป็นเครดิตต่อยอดใช้งานบน AAVE Protocol ต่อไปได้อีกด้วย

จะเห็นว่า AAVE Protocol ไม่ได้หยุดการพัฒนาแค่เพียงเป็น Lending Protocol แต่ยังเปิดพื้นที่สำหรับ Social Media และออกแบบสร้าง Stablecoin ขึ้นมาเพื่อยกระดับขับเคลื่อน Ecosystem ของตัวเอง ซึ่งทาง Kulechov ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “นวัตกรรม” เหล่านี้จะมาช่วยสร้าง Engagement ที่มากขึ้นและมีคนสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในโลก DeFi มากขึ้นนั่นเอง

รับชมทั้งหมดได้ที่ YouTube: Aave’s Ecosystem: Powering the Future of Decentralized Finance

บทความนี้สรุปจาก Virtual conference ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2023

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept