milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
05 พฤษภาคม 2565
ภาษาไทย

ทำความรู้จัก Band Protocol ผู้ส่ง Real World Data เข้าสู่ Blockchain ผู้ให้บริการ Oracle สัญชาติไทย

หนึ่งในข้อจำกัดของ Blockchain คือการที่ dApps ไม่สามารถดึงข้อมูลนอกบล็อกเชนของตัวเองหรือส่งข้อมูลออกไปยังระบบภายนอก เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อหรืออินเทอร์เน็ต ฉะนั้นผู้ใช้และนักพัฒนาในวงการ DeFi จึงต้องมองหาตัวกลางที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  มีความน่าเชื่อถือ และมีบริการที่เสถียร โดยในปี 2017 “Band Protocol” Startup ด้าน Blockchain ของคนไทยได้เกิดขึ้นมาเพื่อมาตอบโจทย์ ด้วยการเป็นตัวกลางทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากโลกแห่งความจริง และป้อนข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจากผู้ตรวจสอบ (Validator) ไปให้กับ Blockchain Application โดยอัตโนมัติ ซึ่งจุดเด่นของ Band Protocol คือ ความเร็วในการประมวลข้อมูลที่ใช้เวลาเพียง 3-6 วินาทีในการขอข้อมูลแต่ละครั้ง และสามารถแก้ปัญหา Scalability ด้วยการทำงานบน Bandchain ระบบ Blockchain ที่พัฒนาขึ้นเอง วันนี้ SCB 10X จึงนำบทสัมภาษณ์จากงาน REDeFiNE TOMORROW 2021 ของ คุณสรวิศ ศรีนวกุล, CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Band Protocol หนึ่งในผู้นำในการให้บริการ Cross-chain Data Oracle มาเจาะลึกเกี่ยวกับการเป็น Data Oracle ในยุคที่ DeFi กำลังร้อนแรง ดำเนินรายการโดย Deng Chao, Managing Director และ CEO ของ Hashkey Capital ผู้เป็น VC สัญชาติฮ่องกงที่ลงทุนใน Digital Assets และ โครงการ Crypto ชื่อดังอย่างเช่น Polkadot, Cosmos และ Terra มาให้ติดตามกัน


1200x800 Band Protocol & The Future of DeFi Price Oracle 01.png

ที่มาของ Band Protocol และจุดเด่นที่สำคัญต่อโลก DeFi

ในปี 2017 คุณสรวิศและเพื่อนอีก 2 คน ร่วมกันสร้าง Band Protocol ผู้ให้บริการ Cross-chain Data Oracle (https://www.scb10x.com/blog/whatis-oracle) เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีความสามารถในการปรับขนาด และกระจายอำนาจ ในตอนแรกพวกเขาเป็น Ptotocol ที่อยู่บน Chain ของ Ethereum มาก่อน แต่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ไม่สามารถอัปเดตได้บ่อยเท่าความต้องการของผู้ใช้งาน จึงต้องสร้างเครือข่ายหลักเองอย่าง Bandchain ขึ้นมาจาก Framework Cosmos SDK เพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการประมวลผลข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังบล็อกเชนอื่น ซึ่งการใช้ Consensus อย่าง PoS ทำให้พวกเขาสามารถ Scale ได้มาก ประกอบกับการที่เป็นผู้ให้บริการ Oracle อย่างเดียวจึงทำให้สามารถดำเนินการคำขอข้อมูลได้จำนวนมากเมื่อเทียบกับปกติ ซึ่งแม้จะมีการเปิดตัว Ethereum 2.0 ออกมา เขาก็ยังเชื่อว่า bandwidth ที่มีเพียงพอต่อการให้บริการ และจะไม่เกิดการอุดตันในการทำธุรกรรมแน่นอน 

ด้วยความได้เปรียบที่กล่าวมาทั้งเรื่องของเวลา ความเร็ว ความสามารถในการ Scale  และการมีพันธมิตรเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและผู้ให้บริการข้อมูลมากกว่า 100 ราย ทำให้พวกเขามีลูกค้าเป็น dApps ใน Blockchain ต่างๆ กว่า 10 แห่ง และมีเงินมากกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ผูกติดอยู่กับ Smart Contract ของพวกเขา นอกจากนี้พวกเขายังพัฒนาการทำงานแบบ Multi-Chain เพื่อให้บริการได้มากขึ้น ด้วยข้อมูลที่แม่นยำ และความถี่ในอัปเดตข้อมูลที่มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละ Chain เช่น Binance Smart Chain, Cosmos, Terra, Polkadot, Solana และ Phantoms เป็นต้น อย่างไรก็ตามพวกเขายังไม่มีแผนพัฒนาสำหรับ Blockchain ไหนเป็นพิเศษ พวกเขาพยายามสนับสนุนทุกอย่างที่มีการใช้งานและรวมถึง Layer 2 และ sidechain บน Ethereum ด้วยเช่นกัน 


กระแสการพา Traditional Service ข้ามไปสู่โลก Blockchain ด้วยสะพานอย่าง Oracle 

ในช่วงปีที่ผ่านมานี้องค์กรใหญ่ๆ จำนวนมากรวมถึงผู้ให้บริการข้อมูลแบบเดิมเริ่มให้ความสนใจในวงการ Blockchain เพราะพวกเขาต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ คุณสรวิศเริ่มเห็นกระแสการตื่นตัวของทั่วโลกและกำลังสำรวจกรณีการใช้งานที่แตกต่างกันกับพันธมิตรบางส่วน เช่น Google Cloud เพื่อการทำงานกับข้อมูลนอก Blockchain เป็นต้น ซึ่งคุณสรวิศคาดว่าในปี 2022 จะได้เห็นผู้เล่นแบบดั้งเดิมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น มีแอปพลิเคชันมากขึ้น แต่เกือบทุกแอปพลิเคชันก็ต้องหมุนรอบ Oracle อยู่ดี อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการ Oracle นั้นก็คือธุรกิจแบบ B2B (Business-to-Business) ที่จำเป็นต้องได้รับความไว้วางใจจากแอปพลิเคชันและหน่วยงานเหล่านั้น รวมถึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการข้อมูลแบบดั้งเดิมเหล่านี้ที่ช่วยเหลือได้มากจนถึงตอนนี้

ความท้าทายหลักของผู้ให้บริการ Oracle คือความแม่นยำ เช่น หากเราถามราคา Bitcoin ตอนนี้ เมื่อได้รับคำตอบ ราคาก็อาจขยับไปแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่สามารถถูกต้อง 100% ก็ต้องแม่นยำเพียงพอสำหรับการใช้งานในแต่ละกิจกรรม Band Protocol จึงต้องจัดลำดับความสำคัญของความเร็วในขณะที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ที่มีความถูกต้องเพียงพอผ่านการออกแบบทางเศรษฐกิจของโทเค็นนี้ เพื่อให้ผู้ให้บริการ Oracle หรือผู้ตรวจสอบความถูกต้องในเครือข่ายของพวกเขาจำเป็นต้องมีหลักประกันที่เพียงพอในรูปแบบของเหรียญ BAND ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต่างจากโซลูชันอื่น ๆ โดยปัจจุบันมีการผูกเหรียญ BAND กับ Blockchain มูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังใช้การสุ่มเพื่อเลือก Validators เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีความแม่นยำแม้จะถึงไม่ถึง 100% แต่คุณสรวิศมองว่า Protocol ของพวกเขาค่อนข้างยืดหยุ่น เนื่องจากในตอนที่ยื่นขอข้อมูลจากทาง BandChain จะต้องเขียนสคริปที่ระบุว่าต้องการข้อมูลใด ความถี่ที่ต้องการเป็นเท่าใด ต้องการตัวตรวจสอบความถูกต้องกี่ตัว และคุณสามารถระบุเงื่อนไขได้ เช่น การกำหนดพารามิเตอร์

สำหรับประเด็นเรื่องการแข่งขันในตลาดผู้ให้บริการ Oracle คุณสรวิศเชื่อว่าไม่มี Oracle ไหนที่เหมาะสมกับทุกคน ผู้ใช้บริการย่อมต้องเลือกว่าจะเน้นเรื่อง Decentralize ความเร็ว ความแม่นยำของข้อมูล หรือ Scalability เป็นต้น โดยผู้ให้บริการแต่ละรายก็มีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป ซึ่งเขาเป็นคนหนึ่งที่เห็นช่องว่างในตลาดนี้และเข้ามาเล่น คุณสรวิศมองว่ายิ่งคนเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องนี้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง และดีต่ออุตสาหกรรม ไม่ได้เป็นอุปสรรคหรือคู่แข่งที่จะส่งผลเสียแต่อย่างใด


ความท้าทายของผู้ให้บริการ Oracle ในอนาคต

ในช่วงที่ผ่านมา MEV (Miner Extractable Value) เริ่มเข้ามาแย่งส่วนแบ่งมูลค่าในตลาด DeFi ดังนั้น บทบาทของ Oracle ก็ต้องปรับตัวไปตามความซับซ้อนของ MEV เพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานในอนาคต ซึ่งคุณสรวิศมองว่านี่เป็นการโอกาสในการปรับตัวที่ดี เพราะ Oracle Front-Running มักจะมีปัญหา หมายความว่าเมื่อผู้คนเห็นว่าธุรกรรม Oracle กำลังอัปเดตข้าสู่กลุ่มหลัก จะมีบอทที่พยายามเรียกใช้หรือทำเบื้องหลังธุรกรรมการอัปเดตเพราะจะมีวิธีการชำระบัญชีและโอกาสในการเก็งกำไร ทาง Band Protocol จึงได้เริ่มการพูดคุยกับผู้ให้บริการโซลูชันบางรายเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นคือการหาวิธีที่จะรับประกันว่าพวกเขาเป็น Oracle แรกที่อัปเดตในพื้นที่กล่องบล็อกเชนนั้นๆ ซึ่งถ้าหากพวกเขาสามารถหาวิธีรับประกันตำแหน่งของการอัปเดต Oracle ในบล็อกเดียวจะช่วยกำจัด MEV อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ได้ง่าย และจำเป็นต้องทำงานกับแอปพลิเคชัน เพราะปัญหานี้จะส่งผลต่อผู้ใช้งานแอปพลิเคชันมากกว่าผู้ให้บริการ Oracle

อีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญในการเป็น Data Oracle คือการกำกับดูแล โดยเฉพาะกฎระเบียบเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อน ดังนั้นทาง Band Protocol จึงมีการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามคุณสรวิศมองว่าการที่หน่วยงานการกำกับดูแลเข้ามาในพื้นที่จะมีประโยชน์ในระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรม

และนี่คือเรื่องราวที่น่าสนใจของ Band Protocol ผู้ให้บริการ Data Oracle หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของ Blockchain และในโอกาสต่อไป SCB 10X จะมีเรื่องราวของ Blockchain ที่น่าสนใจมาให้ติดตามกันอีกอย่างแน่นอน 


สำหรับผู้ที่สนใจสามารถชม session นี้ย้อนหลังได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=kWOq6qsKIHI

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept