milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
trending
15 กุมภาพันธ์ 2567
ภาษาไทย

เกาะเทรนด์ “Consumer Crypto” ปี 2024 มีอะไรน่าติดตาม?

"Consumer Crypto" หมายถึงการใช้เทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินและการใช้ชีวิตที่ตอบสนองต่อความต้องการและความสะดวกของผู้บริโภคทั่วไป เช่น การใช้ NFTs เพื่อเป็นเจ้าของสิทธิ์ทางศิลปะ ซึ่งได้สร้างกระแสครั้งใหญ่ในไม่กี่ที่ผ่านมาและเกิดการใช้งานใหม่ๆ ตามมามากมาย


Article1FEB_1200X800 (2).jpg


และครั้งนี้ SCB 10X ได้นำไฮไลต์จากรายงานของ Messari กับการคาดการณ์โลกคริปโตปี 2024 เกี่ยวกับ “Consumer Crypto” ซึ่งในปีที่ผ่านมามีแอปพลิเคชันคริปโตที่เกิดขึ้นมากมาย และผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำลังเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ “NFT” และ “เครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ” ที่อาจจะเป็นส่วนสำคัญของอนาคตที่มี AI ขับเคลื่อน พร้อมกับบทสรุปที่ว่าคริปโตจะมีกระแสที่ดีขึ้นในปีที่จะถึงนี้ แม้ว่าราคาและความเชื่อมั่นในตอนนี้ยังเป็นไปในทางตรงข้ามก็ตาม นอกจากนี้ยังมีมุมมองอื่นๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้


1. เทรนด์ Ownership Economy จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


  • Ownership Economy เป็นเศรษฐกิจที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของข้อมูลและสินทรัพย์ของตนได้มากยิ่งขึ้น ไม่ถูกแทรกแซงและนำข้อมูลไปใช้หาผลประโยชน์โดยบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกผลักดันในอุตสาหกรรม Crypto มาโดยตลอดเพื่อสร้างความเท่าเทียม โปร่งใส และเพิ่มประโยชน์ให้กับผู้ใช้มากกว่าที่เคย
  • DeSoc (Decentralized Social Media) และ NFT Trading เป็นส่วนที่น่าติดตามและเกิดการพัฒนาอย่างมาก 
  • Crypto Gaming : ความนิยมในการเล่นเกม Crypto ที่เพิ่มขึ้น คล้ายคลึงกับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเกมฟรี (F2P: Free To Play) เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา แต่เกมคริปโตมีจุดเด่นคือระบบการสร้างรายได้และจะเป็นโมเดลธุรกิจที่สำคัญต่อไป

2. แพลตฟอร์ม DeSoc (Decentralized Social Media) 

  • DeSoc มีการก้าวหน้าที่ดีและเห็นความจำเป็นมากขึ้น เนื่องด้วยความต้องการของผู้ใช้ที่ไม่ต้องการถูกแทรกแซงข้อมูล (Censorchip) บน Social Media อีกต่อไป 
  • มีแพลตฟอร์มที่น่าสนใจและมีระบบที่ดีมากมาย นำโดย Friend.tech, Lens และ Farcaster เป็นต้น
  • จุดเด่นคือผู้ที่สร้างคอนเทนต์บน DeSoc จะได้รับส่วนแบ่งจากงานของตนอย่างเป็นธรรม


Screenshot 2567-02-14 at 22.47.49.png



3. NFT Market Models 

  • มีความท้าทายเกิดขึ้นในตลาด NFT ในปีที่ผ่านมา ตลาดขนาดใหญ่อย่าง OpenSea ดิ่งลงอย่างหนักในตลาดหมี ยิ่งไปกว่านั้นมีการแย่งชิงพื้นที่ตลาด NFT Marketplace และได้เปลี่ยนแปลงผู้นำตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยโดย “Blur” ซึ่งเป็น NFT Marketplace ที่ใช้เวลาเพียงประมาณ 5 เดือนก็สามารถครองตลาด (Market Share) ได้กว่า 80 เปอร์เซ็นจากตลาดทั้งหมด
  • ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยดีของ NFT แต่โครงการ NFT ที่ใช้งานได้หลากหลาย มีประโยชน์จริงและเป็นนวัตกรรมก็ยังคงอยู่ต่อไป อย่างเช่น cNFTs (Compressed NFTs) ของ Solana ที่มีจุดเด่นช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ Mint หรือจัดเก็บ NFTs

4. “Ordinal Theory” สร้างโอกาสใหม่บนเครือข่าย Bitcoin

  • “Ordinal” เป็นโปรโตคอลที่มาแรงในภาคของ NFT ที่หมายถึงการฝังข้อมูลใน “Satoshi” (sat) หน่วยย่อยที่เล็กสุดใน Bitcoin และด้วยการอัปเกรดใหม่ (Taproot) ทำให้สามารถเปลี่ยน sat เป็น NFT ได้ ดั้งนั้น Ordinal จึงช่วยให้สร้าง NFT บนเครือข่าย Bitcoin ได้ 
  • BRC-20 หมายถึงมาตรฐานสำหรับการสร้างโทเคน Blockchain ของ Bitcoin ก็ได้แนวคิดมาจาก Ordinal จึงสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้มากมาย
  • Bitcoin Ordinal เติบโตขึ้นมากกว่า 300 เท่าเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งนำไปสู่การคาดการณ์ถึงแนวโน้มที่ดีและการถกเถียงกันต่างๆ ว่า Bitcoin Blockchain อาจจะทำอะไรได้มากขึ้นนอกเหนือจากธุรกรรมการเงินหรือการโอนสินทรัพย์

5. บัญชี Token Bound Accounts (TBA) 

  • อีกการพัฒนาที่สำคัญของ NFT ในปีที่ผ่านมาคือการเริ่มต้นใช้งาน “Token Bound Accounts” บนมาตรฐาน NFT อย่าง “ERC-6551” ซึ่งทำให้ NFT เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลได้ และทำให้ผู้ใช้ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์พร้อมกับโต้ตอบกับแอปพลิเคชัน Dapps ได้เหมือนกับบัญชีทั่วไปโดยที่ไม่ต้องแก้ไขสัญญาอัจฉริยะหรือโครงสร้างพื้นฐาน หรือพูดง่ายๆ คือทำให้ NFT มีคุณสมบัติมากขึ้น 
  • TBA ส่งผลดีกับ NFT Lending ด้วย “Cross-Margining” ซึ่งเป็นการเทรดที่สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และลดการถูกบังคับขายและลดการเกิดหนี้สูญ (Bad Debt) 
  • กรณีตัวอย่าง “Lens Protocol” เกิดการพัฒนาครั้งสำคัญด้วยการปรับปรุงโครงสร้างด้วย TBA ทำให้กิจกรรมต่างๆ เช่น Mints สามารถเข้ากระเป๋าเงินของโปรไฟล์ได้สะดวกทันที แทนที่จะเข้าทาง Address ของผู้ใช้

6. แนวคิดร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) และประสบการณ์ที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User-Generated Experiences: UGX) 

  • มีความท้าทายทางการเงินในการสร้างโลกดิจิทัลที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล
  • Meta ได้ใช้เงินมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้าง Metaverse ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนบริษัทเกมก็ทุ่มเงินจำนวนมากไปกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองผู้ใช้
  • เป็นเรื่องยากที่จะเห็นว่าชุมชน Crypto จะก้าวข้ามความท้าทายทางการเงินเพื่อแข่งกันสร้างโลกดิจิทัล หรือ “Autonomous World” เทรนด์โลกแห่งเกมบน Web3 ที่น่าจับตามอง 
  • แต่ว่าเกม Autonomous World มีศักยภาพมากพอที่จะทำให้โลกแห่งการพัฒนาเกมหายซบเซา ซึ่งต้องการนักออกแบบเกมที่ดียิ่งกว่าที่เคยและมีความร่วมมือที่ดีจากหลายฝ่าย รวมถึงต้องใช้การเล่าเรื่องหรือสร้างคอนเทนต์จากผู้ใช้ที่เป็นตัวจริงและดีจริง โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์แบบ “Cocreation” ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Story Protocol, Shibuya, StoryCo และ Storyverse เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ประโยชน์จาก NFT และมีวิธีการชำระเงินที่เอื้อประโยชน์ต่อระบบนิเวศในวงกว้าง ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าจับตามองในการพลิกโฉมการสร้างคอนเทนต์ที่ Messari หยิบยกขึ้นมา

Screenshot 2567-02-14 at 22.50.25.png


ในปี 2024 มีการคาดการณ์ในรายงาน Messari ว่าอาจจะได้เห็นเส้นทางของ Crypto ที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากผ่านปีที่อุตสาหกรรมต้องสั่นคลอนและเกิดความไม่แน่นอนมากมาย เสมือนการคัดกรองเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ได้จริง แล้วนวัตกรรมล้ำสมัยเหล่านี้จะได้รับความนิยมมากขึ้นอีกหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไปในปีนี้

 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept