milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
trending
06 มีนาคม 2567
ภาษาไทย

มุมมอง Chris Dixon จาก 'Read Write Own': เมื่อ Blockchain เป็นจุดเปลี่ยนของโลกอินเทอร์เน็ต

ในช่วงผ่านมามีทั้งบทความ หนังสือ และงานเขียนต่าง ๆ ออกมาถกกันในประเด็นของตลาดคริปโตเคอร์เรนซี และล่าสุดมีงานที่น่าสนใจของ Chris Dixon อย่าง ‘Read Write Own: Building The Next Era of the Internet’ ที่ไม่ได้ออกมาพูดถึงความก้าวหน้าหรือความล้มเหลวของตลาดคริปโต แต่เป็นการแสดงความเห็นต่อเทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่ควรเข้ามาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ใช้งานในยุคนี้


Article4FEBTH_1200X800.jpg


Chris Dixon คือ นักธุรกิจและนักลงทุน เป็นผู้ก่อตั้ง a16z และปัจจุบันก็ยังเป็น General Partner ของ Andreessen Horowitz ซึ่ง Dixon เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องของ Web3 และคริปโต

 

อย่างไรก็ตาม 'Read Write Own' ของเขาจะนำเสนอมุมมองหลักต่อโลกอินเทอร์เน็ต และการเข้ามาของ Blockchain ที่จะเข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์โลกดิจิทัล แต่ยังคงต้องพึ่งความร่วมมือจากหลากหลายฝ่าย



มุมมองโลกอินเทอร์เน็ตของ Dixon บน ‘Read Write Own: Building The Next Era of the Internet’



‘Read era’ คือ เป็นยุคแรกของอินเทอร์เน็ตที่คนใช้งานได้ฟรี แต่มีข้อจำกัดตรงที่การใช้งานยังไม่ครอบคลุม 

 

ในขณะที่ ‘Write era’ หรืออินเทอร์เน็ตยุคที่ทุกคนสามารถเขียน ส่ง โพสต์ทั้งข้อความและรูปภาพลงไปได้ หรือเรียกอีกอย่างว่ายุคของโซเชียลมีเดีย ถึงแม้ว่าโลกออนไลน์ยุคนี้มีความน่าสนใจ แต่ Dixon มองว่า โลกอินเทอร์เน็ตกำลังถูกบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ควบคุม สังคมออนไลน์ทั้ง Facebook, Google, X ต่างถูกสร้างและดูแลโดยบริษัทรายใหญ่ และเป็นยุคแห่ง Digital  monopolist ยุคที่ถูกผูกขาดทางดิจิทัล และใน Write era นี้ การใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ไม่ฟรีอีกต่อไป ผู้ใช้งานต้องแลกด้วยข้อมูล (Data) และคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม

 

โซลูชันที่ Dixon มองว่า จะเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ของโลกอินเทอร์เน็ต คือ การก้าวเข้าไปเป็น ‘Own era’ หรือโลกที่ทุกคนคือเจ้าของพื้นที่ ทุกคนสามารถสร้างและควบคุม Data ของตัวเองได้ ซึ่งเน็ตเวิร์คนี้คือ สิ่งที่สร้างขึ้นบน Blockchain

 

บน Blockchain ผู้ใช้งานสามารถสร้างได้ทั้ง โซเชียลมีเดีย เกม บริการทางการเงิน และอีกมากมาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งการควบคุมและการดำเนินดารผ่านบิ๊กเทค โดย Dixon ได้ยกตัวอย่าง Ethereum ที่เป็นเหมือนสนามให้คนเข้าไปสร้างแอปพลิเคชัน โดยที่ผู้ใช้สามารถควบคุมการดำเนินการได้เอง



เกิดความไม่มั่นใจใน Blockchain เมื่อยักษ์ใหญ่คริปโตเริ่มล้ม



ถึงแม้ว่าการนำเสนอของ Dixon จะมีความน่าสนใจ แต่ยังคงมีการโต้แย้งถึงเรื่องความปลอดภัยและความไม่มั่นใจในการใช้ Blockchain ที่จะเห็นได้จากเหตุการณ์จากเหตุการณ์การล่มสลายของอาณาจักรต่าง ๆ ในธุรกิจคริปโต

 

อย่าง การล้มของ FTX ของ Sam Bankman-Fried หลังขาดสภาพคล่องและมูลค่าของเหรียญลดลงอย่างต่อเนื่อง จนในท้ายที่สุดต้องมีการยื่นล้มละลาย และล่าสุดทาง Bankman-Fried ก็ถูกตัดสินฐานความผิดฉ้อโกง 7 คดี 

 

นอกจากกรณีของ FTX แล้ว ผลกระทบจากการสูญเสียมูลค่าของ TerraUSD เหรียญ Stablecoin รวมไปถึงการเพิ่มขึ้น Scam แฮกเกอร์ การที่บุคคลสำคัญในโลกคริปโตเริ่มถูกตั้งข้อหา และพาธุรกิจสู่สถานะล้มละลาย ทำให้ความเชื่อมั่นในการทำงานใน Blockchain เริ่มสั่นคลอนมาเรื่อย ๆ

 

ถึงแม้ว่าผลผลิตจากการใช้งาน Blockchain จะสร้างปัญหาและความกังวลให้กับผู้ใช้งาน แต่ในทางกลับกัน Dixon มองว่า ตัวเทคโนโลยี Blockchain ยังคงมีความเป็นกลางอยู่ โดยเขาเสริมลงไปว่า หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องมองให้ออกถึงความแตกต่างระหว่าง “การใช้งานแบบผิด ๆ ” กับ “การทดลองเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้งานแบบผิด ๆ ” ซึ่งในหนังสือของ Dixon เป็นคำเตือนบอกว่า เรากำลังอยู่ในยุคที่ Overcaution เรื่อง Blockchain

 

Dixon มองว่า Blockchain คือโอกาสใหม่ที่จะเข้ามา Rebalance โลกอินเทอร์เน็ตให้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต-ครีเอเตอร์-ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยเขาได้ตำหนิว่า ความผิดที่ทำให้คนมองว่า Blockchain ไม่น่าเชื่อถือ คือการสร้าง Casino Culture ขึ้นมา กล่าวคือ คนมองว่า Blockchain คือแหล่งรายได้แบบคาสิโน ที่วันใดวันหนึ่งเราอาจจะชนะได้เงินมหาศาล และในวันต่อมาเราอาจจะหมดตัวเลยก็ได้ ความเข้าใจผิดว่า Blockchain มี Culture แบบนี้ ส่งผลให้หน่วยงานกำกับดูแลและผู้ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมาต่อต้านการใช้งานของเทคโนโลยีนี้

 

อย่างไรก็ตาม Dixon ไม่ได้ปฏิเสธว่า เขาไม่เห็นด้วยทั้งหมดกับการทำงานของหน่วยงานกำกับดูแล แต่เขาแค่กลัวว่า การตัดสินใจบางอย่างของหน่วยงานอาจจะรวดเร็วเกินไป ดูจากตัวอย่างการล้มละลายของ FTX ที่เขาเกรงว่า อาจจะไปเพิ่มความยากทางกฎหมายให้กับธุรกิจคริปโตในสหรัฐฯ



Blockchain = จุดเปลี่ยนโลกอินเทอร์เน็ต



Dixon เน้นย้ำว่า “อินเทอร์เน็ตกำลังถูกควบคุมและถูกหาผลประโยชน์โดยบิ๊กเทคที่ผูกขาดตลาด” แต่ Blockchain จะเป็นตัวช่วยลดการควบคุมจากยักษ์ใหญ่ลงได้ และช่วยสร้างความเท่าเทียมในโลกดิจิทัลอีกด้วย

 

การสร้างแพลตฟอร์มบน Blockchain จะต้องอาศัยการโหวตจากคนส่วนมากในการออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดความมั่นใจและเปลี่ยนสังคมออนไลน์ให้มีความเท่าเทียม

 

ถึงแม้ว่าความเห็นนี้ของเขาจะดูมีความเป็นนามธรรม Dixon ก็มองว่า ในเมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญหากเราสามารถออกแบบกฎการใช้อินเทอร์เน็ตของเราได้เอง 

 

หากเราสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว ครีเอเตอร์ไม่โดนแบนจากการโชว์ผลงานของตัวเอง คอนเทนต์ไม่ถูกซ่อน และค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องได้โดยที่ไม่ถูกขั้นด้วยโฆษณา Dixon มองว่า นี่ควรจะเป็นอนาคตของอินเทอร์เน็ต

 

นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงหัวใจสำคัญของ Blockchain อีกอย่างหนึ่ง คือ โทเคน หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่รันอยู่บน Blockchain ซึ่งเขาอธิบายว่า โทเคน คือตัวขับเคลื่อนชั้นดีที่จะสร้าง Ownership ให้กับผู้ใช้งาน จะเป็นแรงจูงใจให้กับผู้ใช้งาน โดยที่พวกเขาจะได้รับกันอย่างเท่าเทียม 

 

Dixon อธิบายว่า โทเคน เป็นผลตอบแทนได้หลายรูปแบบ อย่างแรกคือ ไม่ว่าคุณจะเป็น Contributor แบบไหน ทั้ง Creator, Stakeholder หรือ Developer คุณจะมีส่วนในการเป็นเจ้าของโทเคน และสร้างความสำเร็จให้กับเน็ตเวิร์คผ่านการสร้างซอร์ฟแวร์ สร้างคอนเทนต์ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ ก็ตาม อย่างที่สองคือ การมีโทเคนเป็นผลตอบแทนจะเป็นตัวช่วยเพิ่มการแข่งขัน เพิ่มทางเลือกให้คนมาใช้งานซอร์ฟแวร์ที่ถูกสร้างบน Blockchain และอย่างสุดท้าย คือ การทำธุรกรรมผ่านโทเคนจะมีความโปร่งใส และดำเนินการผ่านโปรแกรม ซึ่งแตกต่างจากหุ้นองค์กร โดยจะมีความยุติธรรมมากกว่า เปิดเผยมากกว่า และมีความลื่นไหลมากกว่าระบบอนาลอก

 

อ้างอิง: Fortune, Fast Company, WIRED

 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept