milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
21 มกราคม 2564
ภาษาไทย

อนาคตโลกใหม่ที่หมุนด้วยระบบกับการเงิน CeFi และ DeFi


งาน Blockchain Thailand Genesis 2020 Exclusive Edition เปิดโลกสินทรัพย์ดิจิทัลและอุตสาหกรรมบล็อกเชน งานสัมมนาออนไลน์ด้าน Blockchain ครั้งสำคัญที่เพิ่งผ่านไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ที่ SCB 10X ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ โดยในบทความนี้จะมานำเสนอไฮไลท์สำคัญในช่วงของ DeFi ที่ทางคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Head of Venture Builder จาก SCB 10X ได้รับเชิญทำหน้าที่เป็น Moderator และมีคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี, Co-Founder & CEO จาก Alpha Finance Lab รวมถึงคุณสาวิทธ์ ตริสิริสัตยวงศ์, Integration Lead จาก Band Protocol ได้ให้เกียรติมาร่วมกันแชร์ความรู้ เสนอมุมมองของ CeFi และ DeFi ในหัวข้อ “สถาบันการเงินกับโลกยุคการเงินไร้ศูนย์กลาง (CeFi & DeFi)”


1200x800 CeFi & DeFi 01.png

ความแตกต่างของ CeFi และ DeFi คืออะไร?


สำหรับหลายๆ ท่านที่ได้ติดตามบทความทาง Blog หรือทาง Facebook ของ SCB 10X ก็อาจจะเข้าใจความหมายของ CeFi หรือ DeFi กันไปบ้างแล้ว อย่าง CeFi ที่หมายถึงระบบการเงินแบบรวมศูนย์ เป็นระบบการเงินที่มีโครงสร้างที่ให้คำสั่งหรือธุรกรรมทั้งหมดถูกควบคุมโดยมีตัวกลาง ซึ่งครั้งนี้เรามาดูมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านกันบ้าง โดยคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี ได้อธิบายความหมายของ CeFi ในมุมมองที่เข้าใจได้ง่ายว่า CeFi เป็นระบบที่ไม่ได้อยู่บน Blockchain ซึ่งผู้ที่ใช้บริการก็ต้อง Trust ในเจ้านั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น Binance หรือ Lending Products ที่เป็น Centralized Finance เพราะว่าการเขียน Code นั้นไม่ได้อยู่บน Blockchain หากมีอะไรเกิดขึ้นกับระบบหรือเกิดการ Hack ก็อาจส่งผลกระทบได้ แต่เมื่อเป็น DeFi ที่มีการเขียน Code อยู่บน Blockchain จะเกิดการ Hack ได้ค่อนข้างยาก เพราะ Ethereum ซึ่งเป็น Blockchain นั้นมีผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก ดังนั้น แฮกเกอร์ก็ต้องทำการ Hack ไปพร้อมกันทั่วโลก  


ส่วนทางด้านคุณสาวิทธ์ ตริสิริสัตยวงศ์ ได้เสริมในเรื่องของ Trust เช่นกัน โดยในกรณีของ CeFi ที่สามารถทราบได้ว่าใครกำลังบริหารงานอยู่ แต่ใน DeFi บางรายเป็น Anonymous ไม่ทราบว่า Founder เป็นใคร ดังนั้น หากจะเข้าไปในโปรเจกต์นี้เราต้องทำการศึกษาด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ต้องมีความมั่นใจมากว่าเรามีความเข้าใจ อีกด้านของ DeFi จากตัวอย่างของ Case ที่มีการส่งเหรียญ Token ไปให้ผิดคน หากเป็น CeFi ผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือได้สะดวก แต่หากเป็นบน Blockchain เราก็ต้องรับมือด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง



ข้อดีข้อเสียของ CeFi และ DeFi


ข้อดีข้อเสียของ CeFi และ DeFi ในแง่มุมของคุณทชา ได้ให้ความเห็นว่า ในด้านของ CeFi ผู้ใช้ต้อง Trust ในผู้ให้บริการนั้นๆ และระบบมีความเสี่ยงถูกผู้ไม่หวังดีหรือแฮกเกอร์โจมตีได้ ส่วนฝั่งที่ดำเนินการโดย Blockchain ซึ่งคนทั่วโลกสามารถอ่าน Code ได้ ก็สามารถถูกโจมตีได้เช่นกัน อย่างเช่นในกรณีที่มี Loophole ใน Code ผู้ไม่หวังดีก็สามารถโจมตีหรือดูดเงินในระบบได้เช่นกัน แต่จะเป็นการโจมตีที่ต้องใช้ความสามารถระดับสูงกว่าทางฝั่ง CeFi 


สรุปคือในส่วนของ DeFi ก็ยังต้องมีการพัฒนาอีกค่อนข้างมาก เพื่อให้มีความปลอดภัยจากการโจมตีจากผู้ไม่ไหวดีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ถึงแม้ว่าขณะนี้ในหลายๆ เจ้าได้มีการใช้ Audi Firm ในการอ่าน Code แล้วก็ตาม



ตัวอย่างของ DeFi Projects ที่น่าสนใจ


ทางด้านคุณทชา ได้ยกตัวอย่างโปรเจกต์ Aave ซึ่งเป็น Lending Products ที่ออกมาภายหลังจาก Compound โดย Compound เป็นเจ้าแรกที่คิดคอนเซปต์ Lending บน Blockchain ที่ทำได้ค่อนข้างยาก

แต่ทาง Aave ได้ออกมาภายหลัง แล้วสามารถปรับตัวได้รวดเร็วมาก จนในขณะนี้เหมือนเป็นผู้นำตลาดในฝั่งของ DeFi ไปแล้ว ในส่วน Lending Products ของ Aave ก็มีการเติบโตขึ้นมาก รวมถึง Use Case ต่างๆ สามารถทำการ Build On ได้อีกด้วย นอกจากนี้ Aave ไม่เพียงแต่จะพัฒนาใน DeFi เท่านั้น ยังมีความพยายามที่จะสร้าง Use Case ที่เชื่อมโยงกับ Traditional World ได้มากขึ้น อย่างเช่นการไปพาร์ทเนอร์กับอสังหาริมทรัพย์ที่อังกฤษ และสามารถหาวิธีการให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ผ่านการใช้ Aave ได้


ส่วนของทางด้านคุณสาวิทธ์ ได้เลือกโปรเจกต์ Mirror Protocol ที่สร้างขึ้นโดยทีม Terra money หนึ่งใน Blockchian ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี โดยทาง Terra Money จะเน้นในเรื่องของ Payment Processing แต่ในส่วนของ Mirror Protocol จะทำให้ใครก็ตามที่อยู่ใน Terra Chain สามารถเทรดหุ้น Stocks โดยเฉพาะ  Tech Stocks ของทางอเมริกา อย่างเช่น Tesla หรือ Netflix ได้



หลายท่านที่ยังไม่เคยใช้บริการด้าน DeFi หากต้องการเริ่มต้น จะต้องทำอย่างไร?


การใช้งานบริการด้าน DeFi ทำได้ไม่ยาก ซึ่งทางคุณทชา ได้ให้คำแนะนำว่า เริ่มจากการแปลงเงินบาทเป็นเงิน Crypto ผ่าน Centralized Exchange ที่อยู่ในเมืองไทย หลังจากนั้นจึงโอนเงิน Crypto ที่แปลงมาแล้วเข้าไปใน Wallet ของผู้ให้บริการ Crypto Wallet เช่น Metamask หรือ Ledger เป็นต้น



ทำอย่างไรให้คนอยากลองใช้บริการของ DeFi?


สาเหตุที่ผู้สนใจ DeFi ยังไม่ลองใช้ อาจเนื่องจากยังไม่เข้าใจในระบบ หรือกังวลด้านความปลอดภัย ซึ่งทางคุณทชาได้แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองใช้บริการด้าน DeFi โดยการให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการมาเป็นระยะเวลานาน อย่างเช่น Compound.finance และ Aave.com ซึ่งทั้งสองรายนี้นอกจากจะให้บริการมาเป็นเวลานาน ยังมีเงินหมุนเวียนในระบบที่รองรับอยู่ประมาณ 1-2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ณ ปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าระบบ Smart Contract สามารถรับมือกับเงินจำนวนมากมาเป็นระยะเวลานาน โดยที่ยังไม่ถูกการโจมตีใดๆ จึงทำให้ค่อนข้างมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง 


ส่วนทางด้านคุณสาวิทธ์ มีความเห็นที่คล้ายกัน คือให้เลือกเจ้าที่อยู่เป็นเวลานาน หรือที่มีคนเชื่อใจมาก และใช้ง่าย พร้อมเสริมว่า เมื่อผู้ใช้มีความเข้าใจระบบมากขึ้น ก็อาจย้ายไปยัง Protocol ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น Compound หรือ Aave แม้จะมีความปลอดภัยสูง แต่ผลตอบแทนจริงๆ อาจไม่สูงเท่ากับ Protocol เจ้าใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการศึกษาในเจ้านั้นๆ เป็นอย่างดี 



สถาบันการเงินควรเตรียมตัวอย่างไรกับสถานการณ์ของ DeFi ?


จะเห็นได้ว่าทางสถาบันการเงินเริ่มมีความตื่นตัว หรือเริ่มให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึง DeFi และ Blockchain มากขึ้น โดยในมุมมองของคุณทชา ได้ให้ความเห็นถึงทางสถาบันการเงินว่า ควรรู้สึกตื่นเต้น เพราะเป็นเหมือนจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญและครั้งใหม่ของด้านการเงิน โดยที่ขณะนี้สามารถเรียนรู้ใหม่ไปพร้อมกันได้ ซึ่งหากต้องการจะสร้างอะไร ก็สามารถเริ่มสร้างได้ในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบน DeFi หรือนำคอนเซปต์ของ DeFi ไปใช้กับทางสถาบันการเงิน หรือเป็นโปรเจกต์ใหม่ที่ทางสถาบันการเงินสร้างขึ้นมาเอง ในส่วนข้อมูลของ DeFi ในขณะนี้ก็มีให้ศึกษาค้นคว้าได้มากมาย 



ความยากในการสร้าง DeFi Projects คืออะไร?


ทางด้านคุณทชา ได้ให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมนี้หมุนไปอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้น ไม่ว่าจะออกผลิตภัณฑ์หรือเหรียญ ก็ต้องสามารถดึงกระแสได้ทันที และหากทำไม่ได้ก็อาจหลุดจาก Cycle นั้นๆ ได้ เนื่องจากมีเจ้าใหม่ที่ต่อคิวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คุณทชา ยังได้แนะนำเรื่องของ Community ที่มีความสำคัญมากและมีผลต่อหลายๆ ด้านของอุตสาหกรรมนี้ อย่างเช่นโปรเจกต์ส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่สหรัฐฯ จึงทำให้ต้องเข้าหา Ecosystem ของ Ethereum ที่อยู่สหรัฐฯ ต้องหาขั้นตอนดำเนินการ หาพาร์ทเนอร์ หรือติดต่อผู้ที่จะทำให้เราสามารถสร้าง Community ให้ถึงจุดนั้นได้ 


ประเด็นสุดท้าย คือเรื่องของความปลอดภัย แม้จะสามารถสร้าง อ่านหรือเขียน Code ได้เอง แต่ก็ต้องมี Audit Firm ที่ต้องทำงานด้วยตลอดเวลา รวมถึงต้องรู้จักคนในอุตสาหกรรมนี้ให้มาก เพราะหากมีกรณีที่ Audit Firm ตรวจสอบได้ไม่เพียงพอ ก็จะต้องให้ทาง Developers ทีมอื่นช่วยอ่าน Code เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะหากเกิดความผิดพลาดหรือมี Bug สามารถส่งผลกระทบต่อเงินหรือระบบค่อนข้างมาก


ส่วน Developer ที่จะเข้ามาทำ DeFi ทางคุณสาวิทธ์ ได้ให้ความเห็นว่า Developer ด้านอื่นๆ หากเข้ามาใน DeFi ก็ย่อมพบกับความแตกต่าง ทั้งด้านความรู้หรือเรื่อง Stack แต่ก็สามารถเข้ามาทำได้ในระดับหนึ่ง เพราะอยู่ที่ Passion รวมถึงความอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ความอยากเข้าไป Interact กับคน โดยสิ่งสำคัญคือการเข้าไปลองเล่น Protocol ด้วยตนเอง เข้าไปเข้าใจการเทรด รวมถึงสร้างความเข้าใจ Ecosystem และอุตสาหกรรมนั้นๆ



อนาคต CeFi และ DeFi จะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่?


นับว่าเป็นอีกคำถามที่หลายท่านอยากรู้ ซึ่งขณะนี้มีประเด็นมากมายที่ได้ตั้งคำถามถึงสองระบบการเงินนี้ ว่าอนาคตจะออกมาอย่างไร? ทางคุณทชา ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ทั้งสองระบบสามารถอยู่ด้วยกันได้ เพราะต่างก็ตอบโจทย์ในปัญหาที่ต่างกัน ในส่วน CeFi ก็ต้องมีอยู่ เพื่อรองรับคนที่ยังไม่ได้อยู่ใน Crypto ไม่ว่าผ่านทาง Centralized Exchange หรือ Lending Products


สิ่งที่น่าสนใจในอนาคต CeFi และ DeFi คือทั้งสองระบบจะรวมเข้าด้วยกันมากขึ้น ซึ่งรวมแล้วทำให้ Ecosystem โตขึ้นได้  นอกจากนี้ คุณทชา ได้เสริมว่าอนาคตของ DeFi ในปี 2021 นี้ คาดว่าจะมี Blockchain รายใหม่ออกมาให้บริการหลายเจ้า รวมถึงมี Layer 2 Solutions ที่ออกมาช่วยแก้ปัญหาปรับขนาดการทำธุรกรรมบน Blockchain ของทาง Ethereum อีกด้วย 


สุดท้าย ทางด้านคุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร จาก SCB 10X ได้กล่าวเสริมปิดท้ายไว้สำหรับผู้ที่สนใจใน DeFi โดยได้แนะนำให้ลองไปเล่นด้วยตนเองเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุด เรื่องของการอ่านหรือการฟังก็ทำในระดับหนึ่ง แต่ว่าการลองเข้าไปลงทุนเล่นเองก่อนทีละน้อย จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept