milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
29 พฤศจิกายน 2564
ภาษาไทย

Alpha Finance Lab กับการคิด Product เพื่อสร้าง Alpha Universe ใน DeFi Ecosystem

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีนั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยีที่เปิดตัวใหม่อย่างสม่ำเสมอจนมีสินค้าให้เราเลือกกันจนตาลาย ซึ่งนี่คือวงจรสินค้าเทคโนโลยีในโลกแบบเดิม แต่ไม่ใช่ในโลกของ DeFi เพราะการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเน้นแค่เพียงความสดใหม่ หรือความถี่ในการเปิดตัวเท่านั้น แต่ต้องเน้นไปที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการตอบสนองผู้ใช้งานด้วย ในงาน REDeFiNE TOMORROW 2021 จึงเชิญคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Alpha Finance Lab บริษัทด้าน FinTech สัญชาติไทยที่พัฒนา DeFi Product ในระดับโลกจะมาร่วมพูดคุยถึงประเด็นแนวคิดการพัฒนา DeFi Product ที่ใช้งานได้จริง และ Prof. Dr. Philipp Sandner จาก the Frankfurt School of Finance & Management ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain เบอร์ต้นๆ ของยุโรป ในโอกาสนี้ SCB 10X จึงขอสรุป Session ดังกล่าวให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

1200x800 Alpha Finance & the Ecosystem of DeFi Products 01.png


ทำความรู้จักกับ Alpha Finance Lab 


Alpha Finance Lab เป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลางบน Blockchain
ที่ทำงานได้ทั้งบน Ethereum และ Binance Smart Chain โดยการสร้างระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ และบริการแบบ Cross-Chain จุดแข็งหลักคือการเข้าใจภาพรวมของ DeFi และค้นหาช่องว่างทางการตลาดว่าในแต่ละ Segment มีตรงไหนที่ยังไม่มีผู้เล่น หลังจากนั้นก็จะคิดค้นหาผลิตภัณฑ์ DeFi ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ด้วยการคิดแบบนอกกรอบ ที่สำคัญคือ Protocol ของ Alpha ยากที่จะทำซ้ำหรือเลียนแบบ การที่ Alpha Fin หาช่องว่างใหม่เจอก่อน ทำให้เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ในตลาดในส่วนนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่าเข้ามาในตลาดส่วนนั้นตั้งแต่วันแรก ซึ่งในจุดนี้ทำให้ขึ้นเป็น Alpha Fin ผู้นำในตลาดในส่วนของบริการ Leverage ได้ แต่ก่อนจะปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมานั้นคุณทชาได้เล่าว่าจะมีการวาดแผนภาพโครงสร้างทางการเงินในแล็บก่อน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ DeFi ที่ออกมาสามารถไปต่อได้ในอนาคตโดยไม่ตกรุ่น หรือมีผลิตภัณฑ์อื่นมาแทนที่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ปล่อยออกมาในปีที่แล้วคือ Alpha Homora ตามมาด้วย Alpha X ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์แรกมาก เพราะเป็นการ Disrupt สิ่งที่เรียกว่า The Derivatives Perpetual Swaps Area และต้นปีนี้ก็เพิ่งเปิดตัว Alpha Launchpad เพื่อสร้างมูลค่าให้กับโครง Incubator ต่างๆ และทดสอบความเร็วในการ Scale ของผลิตภัณฑ์

นอกจากคอนเซปต์ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจแล้ว การจัดสรรทรัพยากรใน Alpha Finance Lab ก็น่าสนใจเช่นกัน เพราะประสิทธิภาพในการทำงานจะมากขึ้นถ้าสามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำ โดยไม่มีเรื่องอื่นมารบกวนหรือต้องแบ่งเวลาไปทำสิ่งอื่น ที่นี่จึงแบ่งออกบุคคลากรเป็น 2 ทีม คือทีมพัฒนาที่จะผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา และอีกทีมคือทีม Launchpad ที่ร่วมกับบุคลากรจาก DeFi Community เพื่อให้คำปรึกษาครบในทุกมิติจากความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ให้กับบรรดาโครงการ Incubator เพื่อสร้าง Techfirm ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ เข้าสู่ระบบนิวเศน์ของ DeFi


แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก Alpha Finance Lab 

คุณทชา กล่าวว่าหนึ่งแนวคิดที่สำคัญของ Alpha คือเราจะสร้างแต่ผลิตภัณฑ์ทีมีมาตรฐาน มีคุณภาพสูง ใส่ใจในรายละเอียด และจะพัฒนาคุณภาพ แต่ไม่ได้สร้างเยอะเกินไป กล่าวคือเราจะเน้นคุณภาพสินค้ามากกว่าปริมาณสินค้านั่นเอง โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ออกมาอย่าง Alpha Homora เริ่มจากคอนเซปต์ในการเป็น leverage farming แต่เมื่อมองตลาด DeFi ใน Segment นี้จะเห็นว่ามีช่องว่างอยู่ จึงคิดค้นนวัตกรรมทางการกู้ยืมอย่าง Alpha Homora เข้าไปเติมในตลาดส่วนนี้ ซึ่งสามารถแบ่งผู้ใช้งานได้เป็น 2 กลุ่ม ผู้ให้กู้ และผู้กู้ 

ในด้านของผู้กู้คือกลุ่มเป้าหมายในตอนแรกของการทำ Leverage อยู่แล้ว แต่ที่แตกต่างคือสามารถกู้ยืมเพื่อนำไปฟาร์มด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้นได้ไม่ว่าจะใช้สินทรัพย์สกุลใดมาค้ำประกัน ในส่วนของผู้ให้กู้ กลุ่มนี้จะกลายเป็นมือโปรในวงการ DeFi เพราะเมื่อเข้ามาแล้วพวกเขาจะได้ผลตอบแทนที่สูงทำให้มีทุนมากขึ้น และนอกจากจะสร้างอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับสินทรัพย์ที่คุณมีแล้ว ยังสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของ ALPHA Coin ให้กับทั้งผู้กู้และผู้ปล่อยกู้ด้วย โดยเหรียญ ALPHA เป็น Governance token คือผู้ถือเหรียญสามารถออกข้อเสนอเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม รวมถึงใช้แสดงสิทธิ์ในการโหวตข้อเสนอจากผู้ใช้อื่น ผ่านแพลตฟอร์มแบบ Decentralized Autonomous Organization

แต่ความจริงยังสามารถแบ่งผู้ใช้งานด้วยสถานะของผู้กู้ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Protocol อื่นๆ ที่ไม่ซับซ้อน จึงเกิดการให้ยืมระหว่าง B2B เพราะ Alpha Finance Lab ให้ผลตอบแทนสูงสุด กลุ่มที่สองจะเป็นผู้มีความรู้ด้านการเงินและมีทุนจำนวนมากที่จะนำไปลงทุนต่อ ส่วนกลุ่มที่สามคือนักลงทุนรายย่อย ซึ่งมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตามคุณทชามีความสนใจลูกค้าอีกกลุ่มอย่างพวกสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น VC หรือบริษัทธุรกิจการค้าต่างๆ และจากการที่เคยได้พูดคุยกับกลุ่มนี้แล้ว คุณทชาพบว่ากลุ่มเป้าหมายนี้สามารถทำงานอย่างสอดคล้องกับแผนของ Alpha Finance ได้ในหลายมิติ โดยสามารถปรับส่วนประกอบต่างๆของแผนได้ และไม่มีเพียง Protocol เดียว แต่คุณทชาคิดว่าเหตุผลสำคัญสำหรับแรงจูงใจของกลุ่มนี้คือพวกเขาได้ศึกษาแผนและผลตอบแทนแล้วเห็นว่ามันจะทำให้โตแบบก้าวกระโดด

ทั้งนี้ คุณทชา กล่าวว่า Alpha Finance Lab มีเป้าหมายที่จะสร้าง Alpha Universe ที่ประกอบไปด้วย Alpha Ecosystem ซึ่งมาจากการรวมกันของผลิตภัณฑ์จาก Alpha เอง เปรียบเทียบเหมือน G-Suite ของ Google ที่รวม GMail, gg.doc, gg.sheet เป็นต้น ดังนั้นเมื่อปล่อยผลิตภัณฑ์แรกอย่าง Alpha Homora แล้วก็ต้องตามมาด้วย AlphaX ซึ่งก็คือ On-Chain Perpetual Contract โดยสิ่งที่แตกต่างจาก Perpetual Contract ทั่วไปก็คือไม่ว่าจะอยู่ฝั่ง Short หรือ Long ก็ไม่มี Funding rate และเป็นการทำสัญญาออกมาในรูปแบบ ERC-20 กล่าวคือสามารถซื้อขายได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องสร้างที่ AlphaX 

และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ก็คือ Alpha Launchpad เหตุผลแรกในการคิดผลิตภัณฑ์นี้มาจากการที่พวกเขาอยากจะนำเสนอคุณค่าแท้จริงให้กับผู้ถือ Alpha Token ว่าทีมงานสามารถ Scale Lab ได้มากที่สุดอย่างไรด้วยความรู้ทั้งหมดที่มี รวมถึงการนำความรู้ไปใช้ในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีไปให้คำปรึกษา แนะนำ และสนับสนุนกับโครงการที่เพิ่งเริ่มต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ก็กระจายให้ Token กลับมาให้กับผู้ถือ Alpha ซึ่งสิ่งที่ Alpha Launchpad สนับสนุนไม่ใช่แค่เพียงเทคนิคในการทำโปรแกรม หรือกระบวนการสร้างและออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่รวมถึงด้านการตลาดและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ สรุปคือพวกเขาสร้างผลิตภัณฑ์ในเครือ Alpha ขึ้นมาจากเหล่า Incubator Project ทำการเก็บค่าธรรมเนียม Protocol แล้วก็จ่ายคืนให้กับผู้ถือ Alpha ดังนั้น Alpha Launchpad เหมือนเป็นพาหนะที่ช่วยนักลงทุนในการสะสมมูลค่าคงค้าง โดยไม่ต้องกังวล

สำหรับโครงการแรกของ Alpha  Launchpad คือ Beta Finance ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาคือการชดเชยความผันผวนด้วยฟังก์ชันการขายชอร์ต และยังมีอีกหลายโครงการที่น่าสนใจที่ทีมงาน Alpha Finance คัดเลือกมาและกำลังจะเปิดตัวภายในปีนี้ ซึ่งถ้าใครสนใจก็สามารถติดตาม รวมถึงสมัครเข้าร่วมได้ที่ launchpad.alphafinance.io


Quote_SCB10X5-03.jpg.png

มุมมองของ Alpha ต่อ Ecosystem of DeFi ในอนาคต

คุณทชากล่าวว่า DeFi เป็นเรื่องระยะยาว จึงมีความยากที่จะรู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร เพราะมีสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลกระทบเสมอ ดังนั้นคุณทชาคิดว่าตอนนี้ Alpha จะค่อยๆเติบโต ซึ่งปัจจัยที่จะผลักดันให้เติบโตมี 2 ขั้น ขั้นแรกคือการสร้าง Leverage Block และ Protocol ที่ทำให้แน่ใจว่าตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ได้รับประโยชน์ทุกคน ขั้นที่สองคือชักจูงสถาบันตั้งแต่หน่วยธุรกิจ บริษัท ธนาคาร หรือ VC ให้มั่นใจว่า Smart Contract สามารถปรับใช้ได้กับแต่ละธุรกิจอย่างไร เพราะแต่ละสถาบันมีเงินทุนจำนวนมากที่พร้อมจะลงทุน กล่าวคือเมื่อผลิตภัณฑ์มีประโยชน์และสร้างมูลค่าได้ก็จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนมหาศาลจากสถาบันต่างๆ และจะสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของ Philipp มองว่าการจะจูงใจให้แต่ละสถาบันมาลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจคงไม่ได้เกิดขึ้นในเร็วๆนี้ โดยเฉพาะสถาบันการเงินแถบยุโรป เนื่องจากผู้กำกับดูแลยังขาดความรู้ในเรื่องนี้จึงยังไม่มีกฎระเบียบที่รองรับ แต่ในเยอรมนีที่ตื่นตัวในเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นได้ใน 1 ปี ซึ่งคุณทชามองว่าการจะชวนให้สถาบันมาลงทุนได้จะต้องสร้างความมั่นใจให้สถาบันต่างๆ ยอมรับก่อน ส่วนประเด็นเรื่องความรู้ในการกำกับดูแลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามยังมีสถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอย่างพวกธนาคารที่สนใจและพร้อมที่จะเข้ามาแล้ว โดยจะเห็นได้ชัดจากภูมิทัศน์เมื่อ 2 ปีที่แล้วกับตอนนี้ที่ต่างกันมาก ตอนนั้นคนส่วนหนึ่งเริ่มใช้งาน DeFi จริงจาก NFT Gaming คนที่เหลือที่เป็นส่วนมากก็เข้ามาสังเกตและศึกษา และเมื่อพวกเขาเข้าใจวิธีการทำงานและมีความพร้อมก็จะเข้ามาเอง ส่วนคนกลุ่มแรกก็จะกลายเป็นผู้นำ ดังนั้นการให้คนเข้ามาใช้งาน Blockchain เป็นเพียงแค่เรื่องของเวลา
 

ในส่วนของ Alpha เองก็จะดำเนินการต่อไปผ่านกองทุน Alpha Homora และจะทำการบูรณาการร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อขยายไปยัง Chains Layer 2  นอกจากนี้ยังคิดว่าจะใช้ร่วมกับ Alpha X ว่า Derivatives ควรทำงานอย่างไรใน DeFi โดยกระบวนการคิด จะเริ่มจากการวางผู้ใช้เป็นหลักก่อนแล้วดูว่าต้องใช้อะไรในการสร้างเพื่อให้แน่ใจว่า Derivatives รวมกันแล้วจะใหญ่มากพอในการแลกเปลี่ยนแบบ Decentralized และเมื่อมองกลับมาที่ภาพรวมก็จะเห็นว่ามีส่วนไหนที่สำคัญหายไปบ้าง ซึ่งในตอนนี้ส่วนที่ยังไม่มีคือ Protocolจำนวนมาก สำหรับการให้บริการและกำหนดเป้าหมายแก่นักลงทุนที่มีประสบการณ์มากขึ้น เพราะบางทีนักลงทุนก็ใช้ Perpetual Swaps บางทีก็ใช้ Leverage Tokens ซึ่งตัวอย่างนี้เป็นส่วนที่เล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของวงการ DeFi แต่ชิ้นส่วนสำคัญที่ยังไม่มีจนทำให้ Derivatives บน Blockchain ยังไม่โตได้เท่ากับระบบการเงินแบบดั้งเดิมคือความคิดสร้างสรรค์ ออกนอกกรอบแนวคิดเดิม แต่ต้องสามารถใช้งานได้จริง และสร้างความเชื่อมั่นได้ ซึ่งพวกเขาใช้กระบวนการคิดนี้ในการทำ Alpha X และจะประกาศวิธีการทำงานในอนาคต แต่ในของ Smart Contract นั้นสำเร็จแล้ว โดยผ่านการตรวจสอบครั้งแรกของข้อตกลง 5 ข้อได้แล้ว และกำลังจะผ่านการตรวจสอบอีกรอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า 

กล่าวโดยสรุปคือแผนในอนาคตของ Alpha จะดำเนินกิจกรรมหลักไม่ต่างจากเดิม 3 อย่าง คือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม เพื่อหาพาร์ทเนอร์เพิ่มและขยาย Chain ออกไป กิจกรรมที่ 2 คือการสร้างนวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ และสุดท้ายคือ Alpha Launchpad ที่จะค้นหาเหล่าโครงการ Incubation ที่น่าสนใจและอบรม พัฒนาให้มีคุณภาพ ซึ่งเป้าหมายก็คือการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มาใช้ร่วมกันเพื่อเติมช่องว่างที่ยังหายไปในระบบของ DeFi

และนี่คือ เรื่องราวที่น่าสนใจของ Alpha Fin กับแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และจะพัฒนาสินค้าออกมาใหม่จนกลายเป็น Alpha Ecosystem ในโอกาสต่อไป SCB 10X จะมีเรื่องราวของ Blockchain ที่น่าสนใจมาให้ติดตามกันอีกอย่างแน่นอน 


สำหรับผู้ที่สนใจสามารถชม session นี้ย้อนหลังได้ที่: YOUTUBE

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept