milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
20 สิงหาคม 2564
ภาษาไทย

Algorand กับแนวคิดการสร้าง Global Blockchain Infrastructure ให้มีครบทั้ง Scale Secure และ Decentralization

นวัตกรรมของ Blockchain ทุกวันนี้ ได้รับการพัฒนาด้วยการใช้งานที่มากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในหลักการที่จะทำให้ Blockchain กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกได้ ซึ่งข้อจำกัดที่ว่านี้ก็เป็นที่พูดถึงในหมู่นักพัฒนานวัตกรรมชั้นนำเป็นอย่างมาก SCB 10X จึงขอสรุปบทสนทนาหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องนี้จาก งาน REDeFINE TOMORROW 2021 ระหว่าง Steve Kokinos ซึ่งเป็น  CEO  ของบริษัท Algorand ผู้ให้บริการด้านการออกแบบและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลและ Blockchain Platform ในประเทศสหรัฐอเมริกา กับ Michel Arrington ผู้ก่อตั้ง Arrington XRP Capital, หนึ่งในบริษัทกองทุนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในแวดวง Blockchain และเป็นผู้ก่อตั้ง TechCrunch สื่อชั้นนำด้านเทคโนโลยี ให้ไดัติดตามกัน

1200x800 Algorand & Arrington Capital’s Algorand Ecosystem Fund 02.png

แนวคิดการสร้างนวัตกรรม Blockchain ที่แตกต่างโดย Algorand


แนวคิดของ Algorand มีความโดดเด่นจาก Blockchain อื่นๆ โดย Steve ยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากความน่าเชื่อถือของผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Silvio Micali ศาสตราจารย์แห่ง MIT  ซึ่งได้รางวัล Turing Award ตัวศาสตราจารย์มีความสนใจใน Bitcoin มาเป็นเวลานาน แต่รู้สึกว่าการจะขยายขนาดจริงๆ หรือนำสกุลเงินดิจิทัล และ Public Blockchain ไปสู่ธุรกรรมการเงินระดับโลก จำเป็นต้องมีชุดเทคโนโลยีพื้นฐานที่แตกต่างกัน  โดยปกติแล้วในวงการ Blockchain จะมีคุณสมบัติได้แค่ 2 อย่างจาก 3 (Blockchain Trilemma) ได้แก่ Decentralization, Scale และ Security ซึ่ง Silvio คิดว่าการเลือกแค่ Scale กับ Security ไม่เพียงพอต่อ Blockchain สาธารณะ สำหรับการแลกเปลี่ยนหรือการชำระเงินอย่างง่าย แต่ต้องพิจารณาถึงวิธีสร้างสินทรัพย์ใหม่ หรือวิธีสร้างแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ซับซ้อนแต่ทำงานได้มากขึ้น รวมถึงมี Layer 1 Primitives ใดที่จำเป็นต่อแพลตฟอร์ม  ดังนั้น Silvio จึงสร้างเครื่องมือที่ซับซ้อนมาก เพราะเขาคิดว่าในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเลือกเพียง 2 อย่าง แล้วสละอีกอย่าง อย่างไรก็ตามเขาคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญจริงๆ ของ DeFi คือ ศักยภาพที่แข็งแกร่งและความสามารถในการปรับขนาด

แนวทางการสร้างผลิตภัณฑ์ของ Algorand เริ่มต้นจากพื้นฐานที่เหมือนผู้เล่นคนอื่น แต่หนึ่งในความแตกต่างที่สำคัญคือการสร้างการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัย เราจะไม่ยอมให้เกิดประโยคอย่าง “สร้างตอนนี้ แก้ไขในภายหลัง” ที่มาจาก Silicon Valley ซึ่งบริษัท Crypto ต่างๆ ทำเช่นนั้นค่อนข้างบ่อย กล่าวคือวัฒนธรรมองค์กรของเราคือ คุณต้องทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้องในครั้งแรก เพราะในวงการ Crypto คุณรู้ดีว่าในขณะที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็ได้ทำลายสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ Steve คิดว่าการสร้างเครือข่ายให้ผู้คนสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้รู้ความต้องการของตลาด และสามารถสร้างแอปพลิเคชันทางการเงิน รวมถึงสินทรัพย์มูลค่าสูง เช่นเดียวกันถ้าคนในตลาดอยากจะดู Code หรืองานวิจัยของเรา ทางเราก็ยินดี เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของระบบการเงินโลก ตัวอย่างเช่น โครงการหนึ่งที่เราทำงานด้วยเรียกว่า Reach เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมที่คล้ายกับ Java Script ที่ทำให้การสร้าง Smart Contracts เป็นเรื่องง่ายมาก แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการหาคนมาตรวจสอบให้แน่ใจว่าการรักษาความปลอดภัยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของมันก่อนที่จะเปิดตัว ดังนั้นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของ Algorand คือการพัฒนานวัตกรรมสำหรับพื้นฐานของโปรแกรมให้มีความแข็งแกร่ง เน้นความมั่นคงและผลลัพธ์ในระยะยาวมากกว่าการเน้นความเร็วในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างในตลาดเทคโนโลยีที่เราเห็นกัน

ในปี 2021 มีโครงการมากกว่า 700 โครงการที่สร้างบน Algorand มี Fungible Token ที่เกิดขึ้นกว่า 4.5 ล้าน Token โดยมีเปิดบัญชีผู้ใช้งานได้มากถึง 12 ล้านบัญชีภายในปีนี้  ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น Opulous ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนแบบ peer-to-peer สำหรับนักดนตรี ช่วยในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ที่ปกติจะดำเนินการผ่านนายหน้า ทำให้ศิลปินได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ซึ่ง Algorand ช่วยให้ Opulous ทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 4.5 วินาทีต่อครั้ง และความสามารถในการ Scale ของ Algorand ยังช่วยให้ Opulous เติบโตในเชิงรุก เมื่อผู้ใช้งานตระหนักดีว่านี่เป็นศักยภาพที่พลิกเกมได้ Algorand ยังมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในฐานะผู้เล่นที่จริงจังใน Blockchain ในระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทีม Opulous และเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระยะยาวของพวกเขาเอง



กลไกการ “ถ่วงดุล” อำนาจด้วย Decentralization สู่การเข้าถึงโลกการเงินที่กว้างกว่าเดิม


เป็นที่รู้กันว่าในช่วงแรกของโลก DeFi คุณสมบัติ Decentralization จะดูไม่สำคัญจนกว่าระบบแบบเดิมจะมีปัญหา แต่อีกเหตุผลที่ทำให้สำคัญขึ้นก็คือความกังวลเมื่อต้องทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่มีมูลค่าสูง เพราะตัวกลางในระบบเดิมสามารถกีดกันได้ ในระดับบุคคลเรื่องนี้อาจไม่ส่งผลมากนัก  แต่เมื่อคุณเข้าสู่การให้บริการทางการเงินในระดับโลกที่ใหญ่ขึ้นทุกคนรู้ดีว่ามีโอกาสที่จะมีผู้ไม่หวังดีอยู่ในการทำธุรกรรมของเรา 

Steve กล่าวว่า การจะเข้าใจว่า Decentralization สำคัญอย่างไรจะต้องรู้ก่อนว่า Public Blockchain เป็นตัวแทนของอะไร และนี่คือการเปลี่ยนแปลงจากโลกที่ธุรกรรมทางการเงินส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยความไว้วางใจ และกรอบการกำกับดูแลที่มีอยู่ ซึ่ง Steve คิดว่าเมื่อคุณเปลี่ยนไปทำธุรกรรมบน Public Blockchain มันเป็นความเสี่ยงของคู่สัญญาที่แตกต่างกันที่คุณต้องเข้าใจ และเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณภาพของเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญ 

Steve ย้ำว่าในระดับ Global กระบวนการ Decentralization มีความสำคัญมากเพราะเราไม่ต้องการให้ผู้ดำเนินการทำตามอำเภอใจเหมือนรูปแบบเดิมที่เครือข่ายสามารถควบคุมได้ว่าธุรกรรมของเราจะสำเร็จหรือไม่ หรือมีคนอื่นทราบว่ากำลังดำเนินการถึงขั้นตอนไหน นอกจากคุณมีเครือข่ายในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลธุรกรรมของคุณ Steve คิดว่านั่นเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ และแนวคิดเรื่องความเสี่ยงของคู่สัญญาไม่ใช่สิ่งที่ตลาด Public Blockchain มีจริงๆ 

 แนวโน้มของเงินดิจิทัลไปได้ดีและปีนี้เริ่มเห็นแนวทางผสมผสานที่แตกต่างกันมากขึ้น ธนาคารกลางต่างๆ เริ่มเข้ามาในเรื่องนี้มากขึ้น อย่างในยุโรปมีความคิดเกี่ยวกับ e-money และเงินยูโรดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลแล้ว โดยธนาคารกลาง ซึ่งคล้ายกับ USDC ของสหรัฐ ที่มีการกำกับดูแล Stable Coin โดยเฉพาะ กล่าวคือ การเข้ามาของธนาคารกลางของแต่ประเทศ รวมถึงการมีอยู่ของ CBDC (Central Bank Digital Currency) สามารถควบคุมธุรกรรมของประชาชนได้อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ Steve ย้ำว่าเรื่องนี้ยังไม่สามารถตัดสินว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ในตอนนี้ แต่มีความเป็นไปได้ในอนาคต เพราะธนาคารกลางติดต่อกับธนาคารขนาดใหญ่โดยตรง รวมถึงสามารถควบคุมการกู้ยืมเงินทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ เขามองว่าธนาคารกลางต้องการควบคุมอุปทานเงินในประเทศต่างๆ โดยใช้ระบบแทนตัวกลาง ดังนั้นการที่ธนาคารกลางจะเข้ามากำกับดูแลในตลาดนี้ก็เปรียบเสมือนเข้ามาพิจารณาการปล่อยสินเชื่อรายบุคคลด้วยตนเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง

Steve จึงย้ำว่าประโยชน์ในการเข้ามาของ  Decentralization จะทำให้มีเงินในมือของฝ่ายต่าง ๆ ที่สามารถทำสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้มากขึ้น และสามารถให้กู้ยืมแก่ผู้คนได้โดยตรงในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งเขาคิดว่า CBDC ไม่ได้คำนึงถึงรูปแบบที่ใช้งานว่านำไปสู่สิ่งที่หลายคนคาดหวังในตลาด Crypto คือการที่ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงินและมีโอกาสในการลงทุน โดยสามารถได้รับผลตอบแทนและใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สร้างสรรค์เหล่านี้ได้


ยุคเริ่มต้นของ Programmable Money กับตัวอย่างการใช้เพื่อรักษ์โลก


แม้คำว่า Programmable Money จะปรากฎขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่เป็นการใช้กับ Cryptocurrency อย่างเช่น Bitcoin ซึ่งตอนนี้ Algorand กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของ Programmable Money ในการนำมาใช้กับ Fiat Currency และการ Tokenize สินทรัพย์ผ่าน Smart Contract  ทั้งนี้ ความเป็น Token ช่วยให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น สามารถแบ่งซื้อเป็นส่วนเล็กเหมือนที่ Bitcoin สามารถแบ่งได้เล็กมากๆ และไม่ว่าใครก็ตาม สามารถสร้างตลาดเพื่อเป็นศูนย์ซื้อขาย Token ในตลาดต่างๆ ได้ เนื่องจากยังมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีธนาคารแบบดั้งเดิม Programmable Money จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเมื่อนำมาใช้กับ Fiat Currency และส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เพราะทำให้ตลาดการเงินใหญ่ขึ้น ผู้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและมีโอกาสในการลงทุน

หนึ่งในตัวอย่างล่าสุดคือ Algorand ร่วมมือกับ ClimateTrade สร้างเครือข่าย Carbon-Negative เพื่อเป็น Blockchain ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดด้วย โดยใช้ Programmable Money สำหรับการซื้อขาย Carbon Credit ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้ว่าในตลาด Crypto จะมีบริษัทอื่นที่ทำเกี่ยวกับ Carbon Credit อยู่ก่อนแล้ว แต่สิ่งที่ algorand แตกต่างออกไปคือ Smart Contract ที่จะล็อกปริมาณ Carbon Credit ที่เทียบเท่ากับ ASA (Algorand Standard Asset) ไว้ในคลังสีเขียว Smart Contract จะทำงานเมื่อองค์กรนั้นมีส่วนช่วยลดคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศ ทั้งยังมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่ำ และความสามารถในการ Scale ที่มีเพียง Algorand เท่านั้นที่สามารถให้ได้ 

นอกจากนี้เครือข่าย Algorand จะการออกแบบการทำงานเพื่อให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด พลังงานที่จำเป็นในการเรียกใช้ Node ในเครือข่ายนั้นน้อยมาก และสามารถทำได้บนอุปกรณ์ง่ายๆ เมื่อเทียบกับ Blockchain อื่นๆ การสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลและธุรกรรมบน Algorand ส่งผลให้มีการปล่อย Co2 น้อยลง โดยการวิเคราะห์เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อย Co2 ได้น้อยลงกว่า 2 ล้านเท่า จากเดิม

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่น่าสนใจของ Algorant กับการเป็น Blockchain Platform ที่รองรับการใช้งานหลากหลายเพื่อขยายขอบเขตของ Blockchain Ecosystem ให้กว้างขึ้น ในโอกาสต่อไป SCB 10X จะมีเรื่องราวของ Blockchain ที่น่าสนใจมาให้ติดตามกันอีกอย่างแน่นอน 


สามารถชม session ย้อนหลังได้ที่ : Youtube

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept