milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
03 เมษายน 2566
ภาษาไทย

Slippage คืออะไรในโลก Crypto?

Slippage’ เป็นอีกคำคุ้นหูที่พบบ่อยในโลกของการลงทุนทั้งในตลาดหุ้นทั่วไปจนมาถึงตลาด Cryptocurrency ซึ่งบทความนี้ SCB 10X จะพาไปทำความรู้จักกับคำนี้ให้มากขึ้นเนื่องจากมีความสำคัญกับการซื้อขายของนักลงทุนเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียสินทรัพย์หรือขาดทุนในโลก Crypto ที่นักลงทุนต้องตระหนักถึง


Article6JUL_1200X800.jpg


Slippage คืออะไร?


Slippage หมายถึงการที่ผู้ลงทุนซื้อและขายในตลาดคริปโตต้องลงเอยด้วยการจบในราคาที่ “คลาดเคลื่อน” หรือแตกต่างจากราคาที่ผู้ลงทุนตั้งไว้ โดยเป็นเรื่องที่เกิดได้ทั่วไปและพบบ่อยในตลาดคริปโต เนื่องจากตลาดขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วและตลาดมีความผันผวนของราคาค่อนข้างสูง


Slippage ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในตลาด Crypto เท่านั้น โดย Slippage เป็นแนวคิดที่นำมาจากตลาดหุ้นและ Forex แต่ในตลาด Crypto ที่มีความผันผวนมากย่อมส่งผลมากและกระทบเป็นวงกว้างในหมู่นักเทรด Crypto 


ยกตัวอย่างกรณี Slippage: เมื่อผู้เทรดคาดว่าจะซื้อหนึ่ง Bitcoin ในราคา 20,000 ดอลลาร์แต่ลงเอยด้วยการต้องจ่ายเงิน 20,050 ดอลลาร์ ซึ่ง Slippage คือ -50 ดอลลาร์ และในแง่เปอร์เซ็นต์ผู้เทรดต้องจ่ายเงินขาดทุน (-50 ดอลลาร์/20,000 ดอลลาร์) X 100 = -0.25%



Slippage เกิดขึ้นได้อย่างไร?


ในการสร้างคำสั่งซื้อขายและการดำเนินการคำสั่งซื้อขายมีช่องว่างหรือความแตกต่างของเวลาที่มากพอที่จะทำให้เกิดความผันผวนของราคาได้ โดยความผันผวนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มขึ้นของ Demand การเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องและการขาดสภาพคล่อง หรืออาจเกิดจากข่าวบางอย่างที่ส่งผลให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความผันผวนจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด ช่องว่างของเวลาสั้นๆ ก็เพียงพอที่จะทำให้ราคาของ Token เกิดความเปลี่ยนแปลงได้และนักลงทุนก็ต้องยอมรับผลที่ตามมา ถึงแม้ว่าราคาจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากพอที่จะทำให้เกิดผลเสียรุนแรงหรือทำให้ขาดทุนจำนวนมาก แต่ Slippage ก็อาจส่งผลเสียได้หากมีปริมาณการซื้อขายที่สูง ซึ่งทุกการ Bit ล้วนมีความสำคัญ



Slippage มีกี่ประเภท?


Slippage ในตลาด Crypto เกิดขึ้นได้ทั่วไปและพบบ่อย เมื่อผู้ลงทุนทำการซื้อขายบนแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย Slippage สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 แง่มุม ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ


โดย Slippage ที่เป็นเชิงบวกจะเกิดขึ้นเมื่อราคาของ Token ลดลงกะทันหันตามราคาที่ผู้ลงทุนตั้ง หรือหมายความว่าผู้ลงทุนจะได้ราคา Token ดีที่สุดที่มีอยู่ และในทางกลับกัน Slippage ในเชิงลบก็จะสร้างความกังวลให้กับผู้ลงทุน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคาของ Token เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่มีการตั้งราคาและดำเนินการ ซึ่งย่อมส่งผลให้กำลังซื้อของผู้ลงทุนลดลง



สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกัน Slippage ได้อย่างไร?


Slippage ที่เกิดขึ้นในตลาด Crypto สามารถสร้างความเสียหายหรือทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน ดังนั้นจึงมีแนวทางเบื้องต้นเพื่อหลีกเลี่ยงกับ Slippage ได้แก่:


  • ใช้งานการปรับค่า Slippage Tolerance บน Crypto Exchanges

Slippage Tolerance เป็นฟีเจอร์หนึ่งของ Crypto Exchanges ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ของ Slippage ที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ลงทุนสามารถรับ Slippage ได้ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ก็สามารถไปกำหนดค่า Slippage Tolerance ได้ ซึ่งคำสั่งซื้อที่ได้ตั้งไว้ก็จะดำเนินการต่อไปหากค่า Slippage ยังต่ำกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมากกว่าคำสั่งซื้อก็จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ โดยคุณสมบัติ Slippage Tolerance มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือสำคัญกับผู้ลงทุนประเภทเก็งกำไรซึ่ง Margin ต่ำ


  • หลีกเลี่ยงการลงทุนในเวลาที่มีสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้ตลาดเกินความปั่นป่วนมาก

อีกหนึ่งวิธีในการป้องกันความเสี่ยงพบกับ Slippage คือระมัดระวังอย่าซื้อขายในช่วงที่มีข่าวหรือประกาศสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน หรือหลีกเลี่ยงลงทุนในช่วงที่ตลาดอ่อนไหวจากเหตุการณ์ผิดพลาดครั้งสำคัญ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เกิด Slippage ครั้งใหญ่และก่อให้เกิดการเสียหายได้ ดังนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการซื้อขายในช่วงเวลาดังกล่าว


  • หลีกเลี่ยงการใช้คำสั่งซื้อขายประเภท Market Orders แต่หันไปใช้ Limit Orders

การซื้อขาย Market Orders เป็นคำสั่งซื้อขาย Token ในราคาที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ซึ่งคำสั่งซื้อขายประเภทนี้จะถูกดำเนินการในทันทีโดยที่ไม่มีการรับประกันราคา แต่ในทางกลับกัน การซื้อขายประเภท Limit Orders ผู้ซื้อขายจะสามารถกำหนดราคาที่ต้องการได้ โดย Crypto Exchanges สำคัญส่วนใหญ่จะมีให้เลือกซื้อขายประเภท Limit Orders ซึ่งการซื้อขายจะถูกดำเนินการอัตโนมัติเมื่อ Token ที่ผู้ซื้อขายต้องการอยู่ในราคาที่ต้องการ


นอกจากนี้ อีกวิธีคือการเลือกใช้งาน DEX ประเภท Layer 2 เนื่องจากนักเทรดจะสามารถทำธุรกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ความเสี่ยงของ Slippage น้อยลง รวมถึงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่น้อยลงด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน DEX หลายรายยังคงทำงานบนเครือข่าย Blockchain ประเภท Layer 1 ตัวอย่างเช่นการซื้อขายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นบน Exchanges ที่ขับเคลื่อนโดยเครือข่าย Ethereum โดยตรง เมื่อเครือข่าย Ethereum เกิดปัญหาคอขวดก็อาจทำให้การซื้อขายช้าลงและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด Slippage 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept