milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
16 พฤศจิกายน 2566
ภาษาไทย

อุ่นเครื่องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าแข่งขัน ‘Bangkok AI Hack 2023’ ประเดิมด้วย Workshop ในหัวข้อ "How To Learn Anything" โดยคุณภูมิปรินทร์ มะโน

ก่อนเริ่มแข่งขันเฟ้นหาทีมสุดยอดนักพัฒนาด้าน AI ครั้งนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมอุ่นเครื่องให้กับผู้เข้าแข่งขัน Hackathon ในงาน ‘Bangkok AI Hack 2023’ ที่ SCB 10X ร่วมกับพันธมิตรด้าน AI และบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งแข่งขันระหว่างวันที่ 11 - 19 พฤศจิกายน 2566 ณ DISTRICTX อาคาร FYI Center ด้วยการเรียนรู้ไปกับ Workshop สุด Exclusive จากเหล่าพันธมิตรที่ร่วมจัดงาน อาทิ AWS, InnovestX, VISTEC, Creatorsgarten, Together.ai, Sambanova, AIEAT, Microsoft, Nectec, และ DataX ซึ่งอุ่นเครื่องด้วย Workshop แรกที่บรรยายโดยคุณภูมิ ภูมิปรินทร์ มะโน, Software Engineer, Co-Founder ของ Creatorsgarten กับหัวข้อ "How to learn anything" ที่ตั้งใจปลดล็อกแนวคิดของการเรียนรู้ให้กับเหล่าผู้เข้าแข่งขัน

workshop1-1.png

เริ่มต้นไปกับการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเรียนอย่างเช่นสิ่งที่เราไม่ชอบในการเรียนรู้คืออะไรกันแน่? จะเป็นเนื้อหาสาระ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ หรือวิธีการสอน? จากนั้นคุณภูมิได้แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานโปรเจกต์ต่างๆ ที่มุ่งเน้นแนวทางการเรียนรู้ที่หลากหลายมากกว่าให้เห็นถึงความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาเรียนรู้แบบดั้งเดิม

จากนั้นได้นำไปสู่ยกตัวอย่างประเด็นของประสบการณ์การเรียนรู้ในวัยเด็กอย่างเช่นในโรงเรียนอนุบาลที่เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ที่ได้โต้ตอบและมีส่วนร่วมค่อนข้างมาก ซึ่งเขาได้แนะนำแนวคิดโมเดลการเรียนรู้ในแบบ Broadcast และ Re-Construction ที่ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ที่ให้ลงมือปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากการทดลอง

และเจาะลึกกันต่อกับการเสวนาถึงประวัติศาสตร์ของโรงเรียนอนุบาลกับปรัชญาการเรียนรู้ผ่านการเล่นหรือชุดอุปกรณ์ ที่เรียกว่า “Froebel Gifts” ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์ที่ให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมการเล่น หรือเป็นแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ที่สนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้จากการสร้างความรู้ของตนเองอย่างเข้มข้น โดยได้ยกตัวอย่างจากบุคคลผู้มีอิทธิพลในแนวคิดดังกล่าว อย่างนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน “Seymour Papert” ผู้ประพันธ์หนังสือ “Mindstorms”

workshop1-2.png

จากนั้นได้นำไปสู่ประเด็นการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ โดยมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบหลัก ได้แก่ โปรเจกต์ ความหลงใหล การเล่น และการมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งเขาสนับสนุนวงจรของการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการจินตนาการ การไตร่ตรอง การแบ่งปัน และการทำซ้ำ รวมถึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้แนวคิด “Constructionism” กับชีวิตในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ในด้านต่างๆ เช่น การเขียนโปรแกรม การออกแบบและการจัดการผลิตภัณฑ์ เป็นต้น


นอกจากนี้มีการสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันให้กำหนดเป้าหมายและแนะนำการปฏิบัติตามแนวทางการพิสูจน์แนวคิด (Proof-of-Concept) และเรียนรู้โดยการแบ่งปันความก้าวหน้าและข้อมูลเชิงลึกแบบสาธารณะ รวมถึงได้แนะนำให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมั่นตรวจสอบเป้าหมาย และรักษาสมดุลระหว่างความท้าทายและความสนุกสนาน โดยแนะนำให้ยึดหลักการ "มุ่งไปตามความสนุก" และสร้างโครงการที่จุดประกายความสนใจให้ได้


workshop1-3.png

ปิดท้าย Session อย่างสมบูรณ์ด้วย Workshop สั้นๆ ที่กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้ สิ่งที่พวกเขารู้อยู่แล้ว และวิธีที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ซึ่งโดยสรุปเป็นการส่งเสริมแนวทางการเรียนรู้แบบองค์รวมและให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน โดยมุ่งเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของแต่ละคนและได้ลงมือปฏิบัติจริงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทั้งหมดเพื่อเป็นแนวทางให้กับนักพัฒนาได้นำแนวคิดการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม


Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept