milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
08 มิถุนายน 2566
ภาษาไทย

ทำไม Crypto Custodian (ผู้ดูแลสินทรัพย์คริปโต) จึงจำเป็นกับนักลงทุนสถาบันในปี 2023?

ปัจจุบัน Crypto Custodians หรือผู้ให้บริการดูแลสินทรัพย์คริปโตนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อความนิยมของการนำมาใช้ Crypto ในอนาคต เนื่องจากช่วยให้สินทรัพย์ของนักลงทุนอยู่ในความดูแลจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นประตูสู่โลก Crypto ที่สะดวกและปลอดภัยกว่า โดยบทความนี้ SCB 10X พาไปรู้จักกับ Crypto Custody ให้มากขึ้นอีกแง่มุมและรวมไปถึงวิธีพิจารณาผู้ให้บริการ Custody ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประกอบการตัดสินใจในเบื้องต้นสำหรับนักลงทุน

Article2DEC_1200X800.jpg

ทำไมการดูแลรักษาสินทรัพย์คริปโต (Crypto Custody) จึงสำคัญกับนักลงทุนสถาบัน?


Crypto Custody หรือการดูแลรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency) และเนื่องมาจากการที่ Private Key รหัสที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือเข้าถึงการถือครอง Crypto เป็นรหัสที่จำได้ยากและสามารถถูกแฮ็กได้ รวมถึงวิธีการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างเช่น Online Wallet หรือ Exchange Wallet ก็ยังมีความเสี่ยงถูกแฮ็ก เช่นเดียวกันกับ Cryptocurrency Exchanges หรือไม่ว่าจะเป็นวิธีการการเก็บ Private Key แบบ Offline ก็ยังเสี่ยงต่อการสูญหายและเมื่อสูญหายก็กู้คืนได้ยาก 

ดังนั้นทำให้ Crypto Custodian ถูกให้ความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นในโลกคริปโตโดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ซึ่งนักลงทุนสถาบันถือสินทรัพย์จำนวนมากกว่านักลงทุนรายย่อยก็ย่อมมีความเสี่ยงที่มากขึ้นตามมา จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการดูแลรักษาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ 

สรุปโดยสังเขปได้ว่า Crypto Custody เป็นวิธีการรักษาความปลอดภัย Private Key ที่ใช้เข้าถึงสินทรัพย์ในกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งในการธนาคารแบบดั้งเดิมก็มีผู้ดูแลสินทรัพย์โดยเป็นสถาบันการเงินที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม ในโลก Crypto เจ้าของสินทรัพย์สามารถเป็นผู้รักษาหรือจัดการสินทรัพย์ได้ด้วยตนเอง และสามารถว่าจ้างให้บุคคลที่สามหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ได้เช่นกัน ดังนั้น Crypto Custody จึงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

  • การดูแลรักษาสินทรัพย์ด้วยตนเอง (Self-Custody) คือการที่ผู้ลงทุนถือ Private Key ด้วยตนเอง โดยการใช้อุปกรณ์ประเภท Hardware และ Software ซึ่งหมายความว่านักลงทุนสามารถควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามเกี่ยวข้อง

  • การดูแลสินทรัพย์โดยบุคคลที่สาม (Third-Party Custody) เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการจัดการบัญชีด้วยตนเอง หรือผู้ที่ไม่ถนัดกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่โดยทั่วไปเป็นการดูแลสินทรัพย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการกับนักลงทุนสถาบัน ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยจึงสูงขึ้นไปในอีกระดับ โดยผู้ให้บริการดูแลสินทรัพย์คริปโต (Crypto Custodian) ต้องได้รับการจดทะเบียนและอยู่ภายใต้การควบคุมซึ่งได้รับใบอนุญาตระดับรัฐหรือระดับประเทศเพื่อทำหน้าที่เป็นดูแลผู้รับฝากสินทรัพย์


นักลงทุนสถาบันสามารถตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ Crypto Custody ได้อย่างไร?

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Custody กลายเป็นเรื่องที่นักลงทุนสถาบันควรให้ความสำคัญเพื่อดูแลจัดการกับสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยความเสี่ยงจากการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีหรือปัจจัยอื่นๆ โดยนักลงทุนสถาบันจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่อง “กลไก” “การควบคุม” และ "กฎระเบียบ" ของ Crypto Custody ที่มีความแตกต่างกันและมีหลากหลายรูปแบบในตลาด เพื่อให้สามารถปกป้องรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

องค์ประกอบสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของ Custody

ในขณะที่สถาบันจำเป็นต้องมีการดำเนินงานและบริหารจัดการมากมายสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อแรกและสำคัญที่สุด คือการพิจารณาความถูกต้องด้านเทคนิคและกฎระเบียบที่เป็นรากฐานเพื่อเก็บสินทรัพย์อย่างปลอดภัย แต่การพิจารณาเรื่องความปลอดภัยแบบครบวงจรของ Custody มี 4 องค์ประกอบที่ควรตระหนักถึง (ข้อมูลจาก Anchorage Digital) ดังนี้

  • 1. ขั้นตอนการสร้าง (Generation): มักเป็นขั้นตอนที่ถูกมองข้าม แต่สามารถกลายเป็นหนึ่งในช่องโหว่ที่เปราะบางที่สุดของวงจรการจัดเก็บข้อมูล โดยสิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่
    • ตรวจสอบที่มาหรือวิธีการสร้าง Private Key
    • ตรวจสอบกระบวนการสร้างว่าเป็นแบบ Manual หรืออัตโนมัติ
    • ในขณะที่สร้างไม่มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องหรือผู้ไม่ประสงค์ดีที่เข้ามาหวังแอบลักลอบ
  • 2. การเก็บรักษา (Storage): กลไกเพื่อเก็บรักษา Private Key เป็นอีกส่วนสำคัญในการตรวจสอบสถานะของ Custody นอกจากการคำนึงถึงวิธีการเก็บรักษาสินทรัพย์ก็ควรพิจารณาถึงประวัติและประสบการณ์การให้บริการของ Custody นั้นๆ อีกด้วย โดยพิจารณาตั้งแต่กระบวนการและตำแหน่งที่จัดเก็บ รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจทำให้ Private Key สูญหาย

  • 3. วิธีการใช้ (Usage): ความแม่นยำ ครอบคลุมและกรอบงานที่ปลอดภัยต่อการเข้าถึงและใช้งานส่วนประกอบต่างๆ ของ Private Key เป็นอีกส่วนที่สำคัญมากของ Custody ที่มีความปลอดภัย ซึ่งควรมีหลักการในการป้องกันในการใช้งาน Private Key ระดับเดียวกันกับรักษาความปลอดภัยส่วนประกอบต่างๆ ของ Private Key ยกตัวอย่างสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น ส่วนการป้องกันสินทรัพย์เมื่อมีการใช้งาน หรือพิจารณานโยบายที่ใช้ในการสร้างและการนำมาใช้ Private Key นั้นๆ เป็นต้น

  • 4. ความรับผิดชอบ (Responsibility): เนื่องจากความปลอดภัยของสินทรัพย์เริ่มจากการตั้งค่าทางเทคนิคตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทาง รวมถึงทุกช่องทางที่เกี่ยวข้องในวงจรความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัยทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องซับซ้อนที่จะทำให้ถูกต้อง โดยการทำให้ผู้ลงทุนสถาบันเกิดความมั่นใจในความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของ Custody อย่างชัดเจน เป็นกุญแจสำคัญที่ ช่วยให้สถาบันที่ใช้บริการสามารถเกิดความวางใจและสามารถไปมุ่งเน้นในธุรกิจของตนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตัวอย่างเรื่องที่สถาบันควรพิจารณา เช่น หน้าที่และความรับผิดชอบของ Custodian ที่ใช้บริการได้รับการตรวจสอบและผ่าน Regulated เป็นที่เรียบร้อย หรือทราบว่าใครที่เป็นผู้รับผิดชอบ Private Key ให้มีความปลอดภัย เป็นต้น 


สรุป

 

Cryptocustodian เป็นอีกส่วนสำคัญเพื่อให้เกิดการใช้งานหรือเข้าถึง Crypto หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่แพร่หลายในอนาคต ด้วยการช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดเก็บสินทรัพย์ไว้กับผู้ให้บริการ Custody ที่ได้รับการกำกับดูแลและไว้วางใจได้ 

ประโยชน์สำคัญของการใช้งาน Crypto Custody คือการปกป้องสินทรัพย์โดยมีเป้าหมายคือกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งถือครองสกุลเงินดิจิทัลเป็นจำนวนมาก





Source:

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept