รู้จัก Security Token ทำไมถึงมาแรงในโลก Crypto?
หลังจากที่ได้นำเสนอเรื่องของ Utility Tokens ไปแล้วครั้งนี้มาทำความรู้จักกับ Security Token ที่กำลังร้อนแรงไม่แพ้กันในโลก Crypto โดยมีจุดประสงค์และประโยชน์ในการใช้งานที่ต่างออกไป ติดตามรายละเอียดของโทเคนประเภทนี้ได้ในบทความนี้

Security Token คืออะไร?
Security Token เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าผันจากสินทรัพย์ภายนอกและสามารถทำการซื้อขายได้ตามปกติ โดยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือการควบคุมดูแลจากองค์กรของรัฐ ซึ่งโทเคนประเภทนี้จำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษหรือทำให้โครงการต้องยุติลง
อีกแง่มุมหนึ่ง Security Token หมายถึงสัญญา ธุรกรรม หรือโครงการที่ทำให้บุคคลสามารถลงทุนในกิจการต่างๆ ทั่วไปและนำไปสู่การคาดหวัดจะได้รับผลกำไรที่มาจากบุคคลที่สามหรือผู้จัดตั้งโครงการ
ส่วนในแง่ระบบเศรษฐกิจสิ่งเหล่านี้เหมือนกับพันธบัตร อนุพันธ์ และตราสารทุน โดยที่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและทำให้โทเคนชนิดนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า Securitized Tokens
หากบริษัทต้องการจะออก Security Token จะเรียกว่า ‘Security Token Offer (STO)’ ซึ่งต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความไว้วางใจให้แก่นักลงทุนในการลงทุนกับโครงการต่างๆ ที่หลากหลาย
Security Token ทำงานอย่างไร?
Security Tokens ถูกสร้างมาเพื่อการลงทุน โดยผู้ที่ถือโทเคนจะได้เงินปันผลในรูปแบบเหรียญทุกครั้งเมื่อบริษัทผู้ออกโทเคนได้รับผลกำไรในตลาด และผู้ใช้ที่ถือ Security Token จะเสมือนได้สิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทไปด้วย เนื่องจาก Blockchain ทำให้เกิดแพลตฟอร์มที่สามารถนำมาใช้สำหรับการโหวตลงคะแนน ซึ่งช่วยให้นักลงทุนมีส่วนร่วมกับกระบวนการตัดสินใจของบริษัท
โทเคนดิจิทัลที่ผ่านการทดสอบ Howey ถือว่าเป็น Security Token ซึ่งมูลค่าของโทเคนจะผันจากสินทรัพย์ที่ซื้อขายได้ภายนอก และเนื่องจากเป็นโทเคนที่จัดว่ามีความปลอดภัยจึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและองค์กรรัฐ
วัตถุประสงค์ของ Security Token
วัตถุประสงค์ของ Security Token คือการให้สิทธิ์ที่ค่อนข้างคล้ายกันกับหุ้นแบบดั้งเดิมทั่วไป แต่ช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้กว้างขึ้น และขจัดระบบแบบเก่าที่ซับซ้อนและลดความล่าช้าของกระบวนการต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการจดทะเบียนหุ้นแบบทั่วไปอีกด้วย
Security Token มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกับ Utility Token อย่างไร?
Security Token และ Utility Token มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันมากในโลกของสกุลเงิน Cryptocurrency โดย Security Token แสดงถึงการถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ส่วน Utility Token เสมือนเป็นเครื่องมือส่งเสริมการขายที่ให้สิทธิ์แก่ผู้ถือโทเคนในการเข้าถึงหรือโปรโมชันพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะเปิดตัวในอนาคต
Security Token เสมือนเป็นสัญญาของการลงทุนที่แสดงสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทั้งกายภาพและสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายที่ได้มีการตรวจสอบหรือยืนยันภายใน Blockchain แต่ Utility Token จะช่วยในเรื่องการระดมทุน ICO และสร้างระบบเศรษฐกิจภายในโปรเจกต์ Blockchain โดยผู้ใช้งานที่ถือ Utility Token จะมีสิทธิ์ในการออกเสียงบางอย่างภายใน Ecosystem
ข้อได้เปรียบของ Security Tokens
แนวคิดของ Security Tokens ที่มีการระบุความเป็นเจ้าของแบบแยกสัดส่วนของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Real Assets) ให้ไปอยู่ในรูปแบบของ Security Tokens เป็นแนวคิดที่มีการแบ่งโครงสร้างไว้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า และนักลงทุนสามารถคาดหวังได้ว่าสัดส่วนการเป็นเจ้าของของพวกเขาจะยังคงอยู่ในบัญชีแยกประเภทบน Blockchain
โดย Security Tokens เป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาคการเงินแบบดั้งเดิมกับ Blockchain และเกิดประโยชน์กับทั้งสองภาคส่วน เนื่องจากสินทรัพย์ที่แบ่งผ่านโทเคนนั้นมีอยู่แล้วในตลาดแบบดั้งเดิม แม้แต่ตลาดที่ใหญ่ที่สุด เช่น หุ้น (ทั้งภาครัฐหรือเอกชน) และอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ในขณะนี้โปรเจกต์ Blockchain จำนวนมากมีแพลตฟอร์มที่ตัดเอาบางส่วนของโมเดล ICO แบบเก่าๆ ออกไปโดยตรง ด้วยการ Tokenizing สิทธิในตราสารทุนสำหรับบริษัทต่างๆ ก่อนการเสนอขาย IPO
การไม่มีการกำกับดูแลของ Utility Tokens ทำให้บริษัทที่ต้องการระดมทุนสามารถหลีกเลี่ยงภาคสถาบันการเงินควบคู่ไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆ และความรับผิดชอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หมายถึงลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่ผันผวนตลอดเวลาจึงยังมีความเสี่ยงอยู่ทั้งการเปิดขายผ่าน ICO หรือความมีเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัท