milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
09 พฤษภาคม 2567
ภาษาไทย

Restaking: อนาคตของ Staking บน Ethereum ที่คุณควรรู้

‘Restaking’ เป็นอีกเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดในระบบนิเวศ Ethereum ที่ขณะนี้มีมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล (TVL) กว่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนวัตกรรมนี้ใช้ประโยชน์จากการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย Ethereum เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับ Blockchain อื่นๆ ที่สร้างขึ้นบน Ethereum Virtual Machine (EVM) โดยบทความนี้จะพาไปเจาะลึกที่มาที่ไปและประโยชน์ของ Restaking


Article4APRTh_1200X800.jpg


Restaking คืออะไร?


Restaking คือการนำเหรียญที่ได้จากการ Staking ไป Staking ต่อบนบริการ Proof-of-Stake (PoS) อื่นๆ บน Blockchain

ตัวอย่างเช่น: คุณ Staking ETH (Ethereum) อยู่บนเครือข่าย Ethereum แต่คุณสามารถนำรางวัลที่ได้จากการ Staking ETH ไป Staking ต่อบนบริการที่มีกลไก PoS อื่นๆ ได้อีกด้วย


การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Ethereum: จาก Proof of Work สู่ Proof of Stake


เมื่อเดือนกันยายน 2565 Ethereum ได้มีการอัปเกรดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า "The Merge" การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เปลี่ยนวิธีการทำงานของเครือข่ายจาก Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) อธิบายโดยง่าย คือ PoS จะให้ผู้ที่ถือ Ethereum (ETH) อยู่มาช่วยตรวจสอบความปลอดภัยเครือข่ายแทนการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้คนเหล่านี้เรียกว่า Validators และต้อง Stake ETH จำนวนขั้นต่ำคือ 32 ETH เพื่อเข้าร่วม โดยจะได้รับรางวัลสำหรับการทำงานที่ผลออกมาถูกต้อง แต่ถ้าพวกเขาทำผิดพลาดก็จะเสี่ยงที่จะสูญเสีย ETH ที่ Stake ไว้บางส่วน (เรียกว่า Slashing) 


ความท้าทายของการ Staking แบบเดิม


โดยทั่วไปผู้ใช้จะได้รับรางวัลจากการ Staking ETH ของตนสำหรับการตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum โดยระบบ Proof of Stake ใหม่นี้มีอุปสรรคอยู่บ้าง ด้วยจำนวนการ Stake ขั้นต่ำที่จำเป็นในการรันโหนดตรวจสอบความถูกต้องบนเครือข่าย Ethereum จะอยู่ที่ 32 ETH (ประมาณ $83,000 ในช่วงต้นปี 2567) โดยเป็นจำนวนเงินที่สูงสำหรับคนจำนวนมาก จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนจำนวนมากในชุมชนไม่สามารถเข้าร่วมตรวจสอบเครือข่ายได้โดยตรง 


มีโซลูชันใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อการตรวจสอบระบบ Proof of Stake บน Ethereum 


มีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อแก้การ Stake บน Ethereum ที่ราคาสูง ตัวอย่างเช่น ‘Lido Finance’ นำเสนอทางออกที่เรียกว่า "Liquid Staking" เป็นวิธีที่ผู้คนสามารถรวม ETH ของตนเข้าด้วยกันเพื่อ Stake ร่วมกัน และบริหารจัดการเป็นกลุ่ม Validators โดยรางวัลจะถูกแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วม นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับ Liquid Staking Token (LST) เช่น Lido Staked ETH (stETH) ที่ใช้แลกเปลี่ยนเพื่อการ Stake บน ETH และโทเค็นนี้ยังสามารถนำไปใช้ในบริการอื่นๆ ได้ในขณะที่ได้รับรางวัลจาก ETH ที่กำลัง Stake อยู่ด้วย


การขยายขอบเขตของ ‘Ethereum’ เมื่อโครงการใหม่และความต้องการด้านความปลอดภัยมีเพิ่มขึ้น


ระบบนิเวศ Ethereum เติบโตขึ้นจนเป็นมากกว่าแค่ Smart Contracts และ Staking แต่ยังมี Bridges และ Oracles รวมถึงมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่พึ่งพาความปลอดภัยของ Ethereum ซึ่งการสร้างเครือข่าย PoS ขึ้นใหม่ทำได้ยาก และแม้แต่เครือข่ายที่ทำสำเร็จก็อาจไม่ปลอดภัยเท่ากับ Ethereum รวมถึงปัจจัยต่างๆ ข้างต้นที่นำมาสู่แนวทางใหม่อย่าง “Restaking” 


เจาะลึกแนวทางใหม่จาก Staking สู่ ‘Restaking’ 


Restaking เป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากการ Stake บน Ethereum ที่สามารถนำไปใช้ตรวจสอบเครือข่ายอื่นๆ ได้ด้วย ลองจินตนาการว่า ETH ที่ Stake ทั้งหมดเป็นเหมือน Pool ของความปลอดภัยขนาดใหญ่ แทนที่แต่ละโครงการใหม่จะต้องมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยของตัวเอง แต่โครงการเหล่านี้สามารถใช้ Pool ที่มีอยู่แล้วมา Restaking ร่วมกันและช่วยให้ Validators สามารถสร้างความปลอดภัยให้บริการอื่นๆ ไปพร้อมกัน (เรียกว่า Actively Validated Services หรือ AVSs) ซึ่งผู้ Staking ก็อาจได้รับรางวัลเพิ่มเติม 


‘EigenLayer’ แพลตฟอร์มหลักของ Restaking


EigenLayer โปรโตคอลที่สร้างขึ้นบน Ethereum เปิดให้บริการ Restaking ที่มุ่งสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการรักษาความปลอดภัยของเศรษฐกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

EigenLayer เป็นผู้เล่นหลักในพื้นที่ Restaking ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตลาดกลางให้โปรเจกต์ต่างๆ ได้สามารถเข้ามาสร้าง Validators ซึ่งเป็นการสร้างระบบแบบไดนามิกที่ Validators สามารถเพิ่มโอกาสในการรับรางวัลในขณะที่โปรเจกต์ของตนก็ได้รับประโยชน์จากความปลอดภัยที่แข็งแกร่งของ Ethereum

ผู้ใช้สามารถสร้าง Liquid Restaking Token (LRT) จาก ETH ที่ Stake ไว้ โดย LRT เป็นโทเค็นที่สามารถใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ใช้ EVM อื่นๆ และยังใช้เป็นหลักประกันในโปรโตคอล DeFi ควบคู่กัน


EigenLayer ทำงานอย่างไร? มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

  • ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับรางวัลจากการตรวจสอบความปลอดภัยให้กับเครือข่ายอื่นนอกเหนือจากเครือข่าย Ethereum
  • ผู้ใช้สามารถเข้าร่วม Restaking ได้สะดวกโดยสามารถส่งมอบ ETH ของตนไปยังผู้ปฏิบัติงานที่ดูแลจัดการด้านเทคนิค
  • มีทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถร่วม Stake คนเดียวได้ด้วยค่าใช้จ่ายสูง โดยสามารถเข้าร่วมในกลุ่ม Staking Pool ซึ่งเหมือนกับกองทุนกลุ่มที่จัดการโดยบุคคลที่สาม
  • อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องที่ต้องระมัดระวัง และ Validators อาจสูญเสีย ETH ที่ Stake ไว้หากประพฤติผิด


Restaking: รางวัลที่น่าดึงดูดมาพร้อมกับความเสี่ยง


Restaking น่าดึงดูดสำหรับผู้ใช้ Ethereum ด้วยรางวัลค่าตอบแทนที่มากขึ้น ผู้ใช้สามารถล็อก ETH ของตนเพื่อ Staking และยังคงเข้าถึงสภาพคล่องที่อื่นๆ ได้ผ่าน Liquid Restaking Token (LRT) ที่ช่วยให้พวกเขาได้รับรางวัลจาก Staking และโปรโตคอล DeFi ที่ต้องการ


อย่างไรก็ตาม Restaking มาพร้อมกับความท้าทายและข้อสังเกตต่างๆ เช่น:

  • ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น: การใช้สัญญาทำการซื้อขายหลายชั้น Blockchain ของการ Restaking ย่อมเพิ่มความซับซ้อน ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและข้อผิดพลาด
  • ความเสี่ยงด้านเทคนิค: โปรโตคอล Restaking ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น อาจมีความเสี่ยงจาก Bugs หรือข้อผิดพลาดในโค้ด
  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย: การโจมตี Restaking ครั้งใหญ่สามารถขโมย LRT และยังปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึง ETH ที่ Stake ไว้ ซึ่งความเสี่ยงนี้สำคัญมากเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าที่สูงของสินทรัพย์ที่ Stake ไว้
  • มีบทลงโทษที่เรียกว่า “Slashing” : Validators จะได้รับบทลงโทษหากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเครือข่าย ซึ่งจะมีผลกับเงินรางวัลทั้งหมดที่พวกเขาจะได้รับ
  • ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ: กฎระเบียบเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่ชัดเจน

ถึงแม้จะมีความเสี่ยงและความท้าทาย ผู้ใช้ก็ถูกดึงดูดไปยัง Restaking ด้วยศักยภาพต่างๆ โดยเฉพาะผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับ Staking แบบปกติ


ทำไม Restaking จึงน่าสนับสนุนถึงแม้จะมีความเสี่ยง

  • มีความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น: โปรโตคอล Restaking ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้วยการตรวจสอบหลายครั้งอย่างรอบคอบ และมีการทดสอบอย่างละเอียดก่อนใช้งานโค้ด ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการถูกโจมตีครั้งใหญ่ และอุตสาหกรรม Restaking ยังรอดพ้นจากการแฮ็กและฉ้อโกงต่างๆ จากช่วงเวลาที่ DeFi ได้รับผลกระทบอย่างหนักในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  • ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม DeFi : มีหลายคนในอุตสาหกรรมที่เชื่อว่าความโดดเด่นด้านความปลอดภัยของภาคส่วนนี้จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวของระบบได้ โดยเฉพาะสำหรับทีมที่เปิดตัวเครือข่าย EVM เลเยอร์ 2 ของตนเอง หรือสร้างโปรโตคอลบนเครือข่ายเลเยอร์ 2 จะชื่นชอบ Restaking เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสามารถในการจัดหาสภาพคล่องที่เป็นหัวใจหลักของทุกโครงการ DeFi


ตัวอย่างการใช้งาน Restaking เพิ่มเติม:

  • โปรเจกต์ EVM เครือข่ายเลเยอร์ 2 สามารถใช้ Restaking เพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่าย
  • โปรโตคอล DeFi สามารถใช้ Restaking เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
  • ผู้ใช้ Ethereum ทั่วไปสามารถใช้ Restaking เพื่อรับรางวัลเพิ่มเติมจาก ETH ที่ Stake ไว้


สรุปและแนวโน้มอนาคต Restaking


Restaking เป็นแนวคิดใหม่และกำลังพัฒนาศักยภาพที่จะสร้างผลกระทบที่ดีต่อระบบนิเวศ Ethereum เป็นอย่างมากด้วยประโยชน์หลายประการ เช่น เพิ่มความปลอดภัยให้กับโปรเจกต์และบริการใหม่ๆ และการสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาโปรโตคอล Restaking ใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนใช้งาน Restaking โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรทำความเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และเลือกโปรโตคอล Restaking ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงและรายละเอียดทางเทคนิคที่ต้องศึกษาอย่างรอบคอบ

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept