milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
27 ตุลาคม 2565
ภาษาไทย

องค์กรอัตโนมัติ ‘DAO’ สำคัญอย่างไรใน WEB 3.0

Web 3.0 เป็นอินเทอร์เน็ตยุคใหม่แบบกระจายศูนย์และสร้างขึ้นบน Blockchain และ Crypto ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากที่ต้องพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น ระบบการจัดการเพื่อรับมือด้านการกำกับดูแล และ ‘DAOs’ (Decentralized Autonomous Organisations) ได้ปรากฏขึ้นเพื่อจัดการกับเรื่องนี้บน  Web 3.0 

W3_ed_1200X800.jpg


DAO คืออะไร และทำงานอย่างไรในเบื้องต้น

Decentralized Autonomous Organization (DAO) หรือองค์กรอัตโนมัติรูปแบบกระจายศูนย์ มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างโปร่งใสโดยการเขียนชุดคำสั่ง Code และถูกกำหนดโดย Smart Contract ที่ทำงานอยู่บน Blockchain รวมถึงถูกควบคุมโดยสมาชิกและมีความเป็นอิสระจากตัวกลางหรือบุคคลที่สาม

DAO ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เมื่อไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับรัฐใดรัฐหนึ่งหรือธนาคารกลาง และนักพัฒนาได้พัฒนาขึ้นมาในรูปแบบอัตโนมัติและมีการกระจายศูนย์ ไร้ข้อจำกัดจากระบบงานแบบเก่าที่ซับซ้อน

โดยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เสมือนเป็น Venture Capital Fund หรือกองทุนรวมที่อยู่บนพื้นฐานของ Open-Source Code โดยที่ไม่มีโครงสร้างของการลงทุนหรือการซื้อหุ้นนอกตลาด (Private Equity) และคณะกรรมการบริษัท จากนั้นรูปแบบของการระดมทุนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Crowd-Funding) นี้ก็จะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับด้านอื่นๆ ขององค์กร อย่างเช่น ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนมูลค่า การกู้และการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized finance: DeFi)



องค์ประกอบสำคัญและวัตถุประสงค์หลักของ DAO

กุญแจสำคัญของ DAO คือ Smart Contracts ที่ระบุกฎขององค์กรและการถือครองคลังสินทรัพย์ของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มชุมชนจะทำหน้าที่เป็นผู้เสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงโปรโตคอล เช่น การปรับปรุงทางเทคนิคและการจัดสรรคลัง หรือการโหวต

โดยผู้ที่มีส่วนร่วมจะได้รับโทเคนเฉพาะของแต่ละ DAO เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับใช้สิทธิ์ในการโหวตและเป็นเจ้าของส่วนได้เสียเพื่อกำหนดกรอบอนาคตของ DAO ที่ตนมีส่วนร่วม และยิ่งสมาชิกเป็นเจ้าของโทเคนมากเท่าใด น้ำหนักในการตัดสินใจและอำนาจการลงคะแนนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

DAO คือการให้อำนาจแก่สมาชิกในชุมชนมีสิทธิ์ในการออกเสียง และให้นักลงทุนสามารถรับ ส่ง และจัดเก็บมูลค่าทั่วโลกโดยอัตโนมัติและไม่ต้องระบุตัวตน

หลายปีที่ผ่านมา DAO ถูกมองว่าเป็นวิธีการที่ช่วยลดอุปสรรคที่ซับซ้อน เช่น การจัดการกับระบบราชการแบบดั้งเดิมที่ใช้เวลานาน ซึ่งวัตถุประสงค์ของ DAOs คือการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นหลักและสนับสนุนให้ทุกคนมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นและแง่มุมอื่นๆ ที่คุ้มค่ามากกว่า และที่สำคัญระบบอัตโนมัติของ DAO ไม่ต้องการการจัดการจากส่วนกลางแบบดั้งเดิมที่รับมือกับความเสี่ยงได้น้อย มีความผิดพลาดของมนุษย์และมีโอกาสโกงได้มากกว่า



DAO มีบทบาทและสำคัญอย่างไรใน Web 3.0

การออกแบบเครือข่ายของ DAO สามารถผสมผสานกับรากฐานของ Web 3.0 ได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดเศรษฐกิจใหม่สำหรับครีเอเตอร์และอนาคตของการทำงาน

DAO ถือได้ว่าเป็น Web 3.0 ได้เช่นกันเมื่อพิจารณาถึงหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ Web 3.0 ก็คือการกระจายศูนย์ (Decentralization) ยกตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์ม DeFi ที่ใช้ DAO เพื่อให้เกิดการกระจายศูนย์อย่างสมบูรณ์ภายในแพลตฟอร์ม หรือ Decentralized Exchanges (DEXs) เช่น SushiSwap และ Uniswap เป็นอีกตัวอย่างสำคัญกับบทบาทของ DAOs ใน Web 3.0

Web 3.0 มีส่วนสร้าง Decentralized Autonomous Organisation (DAOs), NFTs และ Metaverse ซึ่งสามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ โดยมีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่เรื่องบทบาทของผู้ใช้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นและเรื่องความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ผ่านการใช้ Cryptocurrencies รวมถึงเรื่อง การกำกับดูแลของชุมชนและการระดมทุนรูปแบบใหม่ซึ่งไม่ต้องการการแทรกแซงของ VCs แบบเดิม

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างเช่น “JennyDAO” เป็น Metaverse DAO ที่ช่วยให้สามารถแบ่งส่วนการเป็นเจ้า (Ownership) ของ NFTs ซึ่งสมาชิกสามารถดูแลการซื้อและจัดเก็บ NFTs ผ่าน Smart Contracts ที่ถูกระบุไว้ในโปรโตคอล DAO



ความท้าทายของ DAO ใน Web 3.0

การจัดการแพลตฟอร์มและระบบในโลก Web 3.0 ทำให้ผู้ใช้มีอำนาจการตัดสินใจมากขึ้น รวมถึงมีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและความสามารถในการควบคุมข้อมูลของตนมากขึ้น หลายคนเชื่อว่า DAO มีศักยภาพเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำงานใหม่ เช่น ด้านความร่วมมือกันและการทำงานร่วมกัน หรือด้านทรัพยากร นอกจากนี้ DAO สร้างโอกาสเพื่อชุมชนและองค์กรต่างๆ ได้หันมาทบทวนถึงวิธีการทำงานร่วมกันใหม่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสิ่งจูงใจหรือผลตอบแทนที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายถึงโมเดลฉันทามติหรือรูปแบบของการออกเสียงใน DAO ว่าเป็นอุปสรรคต่อการเกิดนวัตกรรม ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนมีชื่อเสียงและมีความสามารถสร้างนวัตกรรมแต่มีบทบาทเป็นเพียงแค่คนออกเสียงคนหนึ่งใน DAO ก็อาจทำให้เสียโอกาสที่จะเกิดนวัตกรรมจากบุคคลที่มีความสามารถที่น่าทึ่งเหล่านี้ได้

อีกความท้าทายหนึ่งคือ Web 3.0 ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งเทคโนโลยีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ยังต้องการเวลาพัฒนาและต้องมีการทำงานอีกมาก และยังมีแฮกเกอร์ที่พุ่งเป้าโจมตีไปที่ DAO เนื่องจากเป็นระบบที่มีมูลค่าทางการเงินสูงและมีแนวโน้มโตขึ้นเรื่อยๆ

และเนื่องจาก DAO ที่เป็นระบบการกระจายศูนย์ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบตรงไปตรงมา เพราะมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น Marketplace และผู้ซื้อหรือผู้ขาย และต้องมีการประสานงานกันของผู้ซื้อและผู้ขายว่าใครจ่ายให้กับใครเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งไม่ง่ายเหมือนการออกใบสั่งซื้อและรอการชำระเงิน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลและเรื่องภาษี ซึ่งก็ต้องติดตามต่อไปว่าจะมีการปรับปรุงเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างไรในอนาคต

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept