milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
24 พฤษภาคม 2565
ภาษาไทย

อนาคตของ Web 3.0 กับโอกาสใหม่ๆ ในประเทศ

อัปเดตความเคลื่อนไหวของนวัตกรรมเปลี่ยนโลกการเงินส่วนหนึ่งจากงาน MIT Thailand Future Seminar 2022 โดยคุณมุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer จาก SCB 10X ที่ได้เข้าร่วมแชร์มุมมองให้กับนักศึกษาไทยในสหรัฐฯ และยุโรป ในหัวข้อ “The Future of WEB 3.0 in Thailand” ร่วมกับคุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Founder & Group CEO จาก Bitkub 

Article_W3_800.jpg

เทคโนโลยี Blockchain กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกการเงิน สามารถสร้างประโยชน์ให้การเงินดิจิทัลไทยได้อย่างไร

Blockchain เป็นเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของ Web3 และเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของการสร้าง Cryptocurrency DeFi และ NFT หรือแอปพลิเคชันเพื่อใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

เทรนด์ที่คนกำลังให้ความสนใจและตื่นเต้นกันมากในช่วงนี้คือ Metaverse ที่มีการใช้ AR และ VR และคาดว่าการมาถึงของ Web3 และเทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคตข้างหน้าที่เป็นส่วนโครงสร้างพื้นฐานจะมีการทำงานร่วมกันควบคู่กันไป ซึ่ง Metaverse ที่มีการใช้ AR และ VR ก็จะขาดเทคโนโลยี Blockchain หรือ Cryptocurrency และ NFT ไปไม่ได้อีกด้วย

โครงสร้างพื้นฐานของการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่ผ่านมา ซึ่งมีการแบ่งเป็นสามระยะ คือยุคการเงิน 1.0 การเงิน 2.0 และการเงิน 3.0 โดยในยุคการเงิน 1.0 ผู้คนต้องไปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมการเงินและบริการทางการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นแบบ Centralized และทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ในบัญชีแยกประเภทของแต่ละธนาคารหรือต้องเข้าถึงด้วยเอกสารที่เป็นกระดาษเป็นหลัก หลังจากนั้นการมาของอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน และระบบคลาวด์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเราจึงได้เห็นยุคการเงิน 2.0 ที่ผู้คนเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินกับธนาคารที่สาขาน้อยลง เพราะสามารถเข้าถึงได้ผ่านทาง Mobile Banking นอกจากนี้ยังพบว่าผู้คนถอนเงินสดจากตู้ ATM น้อยลง เมื่อดูจากข้อมูลจำนวนเงินค่าธรรมเนียมการถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารที่ลดลง และในปัจจุบันเรากำลังใช้บัญชีแยกประเภทแบบดิจิทัลแบบรวมศูนย์ (Centralized) โดยหลังจากการมาของอินเทอร์เน็ตเราสามารถทำธุรกรรมระหว่างธนาคารและบริการทางการเงินส่วนใหญ่บนแอปพลิเคชันของธนาคารบนมือถือ ซึ่งอยู่ในช่วงของการเงินยุค 2.0

และต่อไปในยุคการเงิน 3.0 เราน่าจะได้เห็นว่าบัญชีหรือการจดทะเบียนต่างๆ จะอยู่บน Blockchain หรือมี Protocol สำหรับทำธุรกรรมและมีเงินในรูปแบบ Programmable Money ซึ่งหมายถึงเงินที่มีความสามารถในการเขียนโค้ดในการทำธุรกรรมและไม่ต้องผ่านคนกลางและทำให้ไม่ต้องใช้เอกสารเป็นหน้ากระดาษอีกต่อไป บริการทางการเงินต่างๆ จะเป็นแบบ Open Source ที่หากใครมีแนวคิดดีๆ และพร้อมให้บริการด้านการเงินก็สามารถสร้างและเปิดให้บริการแพลตฟอร์มได้จากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงสามารถทำกิจกรรมการเงิน การลงทุนหรือการระดมทุนต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางอีกต่อไป และเมื่อเป็น Programmable Money เราสามารถโปรแกรมบริการทางการเงินใดๆ ได้บน Smart Contract และทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ใน Blockchain รูปแบบของการกระจายศูนย์ และสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นควบคู่กับการมาของ Web3 ที่กำลังพัฒนา โดยอินเทอร์เน็ตจะเป็นไปในรูปแบบกระจายศูนย์


“คนกลาง” ที่กำลังถูก Disrupt ด้วยการมาของ Blockchain ได้รับผลกระทบหรือต้องปรับตัวอย่างไร

ความจริงที่คนกลางอย่างเช่นธนาคารกำลังถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เป็นเหตุผลว่าทำไม SCB 10X ที่เป็น Digital Technology Investment Arm ของธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี Disruptive ต่างๆ และเมื่อได้รู้จักกับเทคโนโลยี Blockchain หรือ DeFi ที่มีศักยภาพและน่าสนใจมาก เพราะไม่ว่าการเงินแบบดั้งเดิมจะเป็นอย่างไร แต่ Decentralized Finance หรือ DeFi ก็มีหรือสามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งยังทำได้ในแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและต้นทุนที่ลดลงมากเนื่องจากกิจกรรมหรือธุรกรรมต่างๆ จะถูกดำเนินการผ่าน Smart Contract บน Blockchain ดังนั้นโดยภาพรวมเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถเข้ามา Disrupt การเงินแบบเดิมได้เป็นอย่างมากจึงทำให้ต้องจับตามองกับเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงเป็นเหตุให้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา SCB 10X ได้เข้าไปเกี่ยวข้องและลงทุนในองค์กรเกี่ยวกับ Blockchain และ DeFi มากมาย เพื่อต้องการที่จะเรียนรู้และร่วมเป็นพันธมิตร ซึ่งคาดหวังว่าในอนาคตจะสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผสานรวมกับการเงินแบบดั้งเดิมได้  

ทั้งนี้การเงินแบบดั้งเดิมสามารถทำหน้าที่ในส่วนของ Front End ต่อไปได้ เพราะมีจุดเด่นและเชี่ยวชาญในการหาลูกค้าและบริการลูกค้า และส่วน Back End สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ที่กล่าวมาช่วยลดค่าใช้จ่ายและใช้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างโปร่งใส


มุมมองเกี่ยวกับการเทคโนโลยี Blockchain และ DeFi เข้ามาใช้กับธนาคารหรือการเงินแบบดั้งเดิมอย่างสมดุล 

องค์กรจำนวนมากพยายามที่จะนำ Blockchain มาใช้แต่เป็นไปในรูปแบบที่ต้องผ่านการได้รับอนุญาต หรือ Permission Blockchain ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เพราะต้องมี Validator Node จำนวนมากในการช่วยตรวจสอบธุรกรรมและสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคล้ายกับว่าองค์กรเป็นเจ้าของ Blockchain และอาจมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากเป็น Public Blockchain จะสามารถทำให้คนทั่วโลกมาช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานและตรวจสอบ Node ได้ รวมถึงเป็นไปในแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized และมีความโปร่งใสมาก ดังนั้นจะได้เห็นว่ามีการนำ Public Blockchain มาใช้กันมากขึ้น 

ในมุมมองของธนาคารที่กระบวนการทำงานบางส่วนต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสูงก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ Permission Blockchain แต่ในบางส่วนที่สามารถเปิดเผยได้ก็สามารถใช้ Public Blockchain อย่างไรก็ตามในการเลือกใช้ประเภทของ Blockchain ก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องเลือกใช้เพียงประเภทเดียวแต่สามารถนำมาใช้ผสมผสานกันได้

การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ กับช่องทางและโอกาสในการสร้าง Startup ในประเทศไทย

ปัจจุบันมีช่องทางและโอกาสมากมายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับ DeFi และ Metaverse หรือ Web3 ที่สามารถมี Startup ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ในประเทศไทย และเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีนักพัฒนาที่มีความสามารถ มากมายในประไทย 

สำหรับในพื้นที่ DeFi มีโอกาสต่างๆ จากการเข้าไป Disrupt ระบบการเงินแบบดั้งเดิม และเห็นความได้เปรียบจากการบริหารทีมโดยคนไทยทั้งหมด อย่างเช่น Alpha Finance Lab ที่มีการเติบโตที่รวดเร็วมาก และปัจจุบัน DeFi ได้ก้าวไปไกลกว่าแค่การเข้ามา Disrupt ระบบการเงินดั้งเดิม แต่ได้เข้าสู่ช่วงของ DeFi 2.0 ที่กำลังมีความพยายามปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่ใน DeFi 1.0 เช่น ปรับปรุง Capital Efficiency และเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทน หรือการปรับปรุงการจัดการความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นไปที่ด้านการจัดการมากขึ้น ดังนั้นจากข้อบกพร่องหรือสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ใน DeFi 1.0 ทำเห็นถึงโอกาสและมีนวัตกรรมมากมายที่สามารถเข้าไปตรวจสอบและสร้างสรรค์จากสิ่งที่มีอยู่ได้

ส่วนใน Metaverse ก็เป็นที่น่าจับตามองเช่นกัน เพราะเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ออกมาได้โดยสิ้นเชิง และผู้ใช้สามารถสร้างและได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ตนสร้างขึ้นได้ และ SCB 10X ก็ได้ลงทุนใน The Sandbox แพลตฟอร์มเกม NFT โลกเสมือนและเป็น Metaverse 

SCB 10X ได้เข้าไปพัฒนาสร้าง Virtual Headquarter ใน The Sandbox โดยโลก Metaverse ได้สร้างโอกาสทางอาชีพขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างของทาง SCB 10X ที่ได้รับคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงาน นอกเหนือจากนักออกแบบไทยก็ยังมีสถาปนิกเข้ามาช่วยเรื่องการออกแบบ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญเช่นเดียวกันเหมือนกับโลกความจริง 


การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในมุมของ SCB 10X 

ในการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Disruptive ต่างๆ ให้เกิดการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในมุมของ SCB 10X นอกเหนือจากการเป็นผู้ลงทุนก็ยังมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้คน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างแท้จริง อย่างเช่นช่วยให้ผู้ลงทุนมีความรู้มากเพียงพอในการลงทุนกับบริษัทและโทเคนที่ดี ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ และเป็นเหตุผลที่ SCB 10X ได้ทำในช่วงสองปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน Virtual Summit ที่เชิญผู้นำองค์กร DeFi และ Crypto ระดับโลกมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นในองค์กรของพวกเขาและมาช่วยให้ความรู้ต่างๆ ภายในงาน รวมถึงมีการจัดแข่งขัน Hackathon ไปจนถึงการแชร์ความรู้พูดคุยกันทาง Clubhouse และ Twitter Spaces ซึ่งสิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นการสร้างและให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาและได้ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีการทำงานร่วมกับทาง Regulator หรือหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องนี้ และในที่สุดต้องการที่จะรวมเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับธนาคารเพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ นี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากและต้องอาศัยความเข้าใจมากจึงต้องใช้เวลาเพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ อย่างถูกต้องต่อไป

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept