milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
18 ธันวาคม 2567
ภาษาไทย

อัปเดตเกี่ยวกับการกำกับดูแลและกฎระเบียบต่างๆ ของสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก 2024

Article5NOVTh_1200X800.jpg

 

สถิติและการเพิ่มขึ้นของกฎระเบียบสินทรัพย์ดิจิทัล

  • ในเดือนกันยายน 2024 มูลค่าตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2.24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามข้อมูลจาก World Economic Forum โดยการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลมีมูลค่าประมาณ 91 พันล้านดอลลาร์ทุก 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่เป็น Bitcoin หรือ Ethereum

  • อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของ Crypto ยังมาพร้อมกับกิจกรรมผิดกฎหมาย ตัวอย่างที่เด่นชัด เช่น การแฮ็กที่ทำให้เกิดการสูญเสียมูลค่าเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 และการฟอกเงินผ่าน Crypto ที่สูงถึง 22.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 แม้จำนวนลดลงจากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง

  • เพื่อสร้างความปลอดภัย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจนในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลายประเทศกำลังพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่ยึดแนวทางจากคำแนะนำของ “FATF” แต่มีรายละเอียดเฉพาะในแต่ละประเทศที่ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตาม

การกำกับดูแลของ ‘FATF’ และกฎ ‘Travel Rule’

  • Financial Action Task Force (FATF) แนะนำให้ประเทศต่างๆ ควบคุมผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล (Virtual asset service providers: VASPs) เช่นเดียวกับสถาบันการเงินทั่วไป โดยกำหนดให้ต้องลงทะเบียนหรือขอใบอนุญาตและปฏิบัติตามกฎการป้องกันการฟอกเงิน (AML) เช่น การรู้จักลูกค้า (KYC), การติดตามธุรกรรม และการตรวจสอบการคว่ำบาตร

  • หนึ่งในข้อกำหนดสำคัญคือ ‘Travel Rule’ ซึ่งกำหนดให้ VASPs และสถาบันการเงินเก็บและแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวของผู้ส่งและผู้รับธุรกรรม โดยใช้เกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดนที่มูลค่า 1,000 ดอลลาร์/ยูโร

  • ปัจจุบัน 65 ประเทศจาก 94 ประเทศได้ผ่านกฎหมาย Travel Rule (ข้อมูลเดือนเมษายน 2024) และอีก 15 ประเทศอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินในสินทรัพย์ดิจิทัล

ความเคลื่อนไหวกรอบกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศต่างๆ ที่น่าสนใจ

หน่วยงานกับกำดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลหลายประเทศทั่วโลกกำลังส่งเสริมนโยบายกันอย่างแข็งขัน โดยส่วนใหญ่เน้นพัฒนากฎของ Stablecoin และการใช้งานข้ามพรมแดน (Cross-border transactions)

 

สหรัฐอเมริกา

  • หน่วยงานกำกับดูแลตลาดอนุพันธ์ของสหรัฐฯ (CFTC) อาจอนุญาตให้ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหลักประกัน หากได้รับอนุมัติก็จะเป็นก้าวสำคัญระหว่างโลกดิจิทัลและตลาดการเงินแบบดั้งเดิม รวมถึง สหรัฐฯ  ยังเดินหน้าควบคุมสกุลเงินดิจิทัลอย่างเข้มงวด เพื่อปกป้องนักลงทุนและรักษาความมั่นคงทางการเงิน 

  • สหรัฐฯ มีการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลแบบกระจาย โดยมีหน่วยงานหลายแห่ง เช่น SEC, CFTC, FDIC และกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง หลายปีที่ผ่านมาได้มีการเสนอร่างกฎหมายเพื่อกำหนดขอบเขตการกำกับดูแลและสร้างความชัดเจน เช่น กฎหมาย Lummis-Gillibrand และ McHenry เกี่ยวกับ Stablecoin และร่าง FIT 21 ที่วางกรอบตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล แม้ว่ากฎหมายบางส่วนยังไม่บังคับใช้ แต่แนวทางแบบกระจายศูนย์ช่วยให้บางรัฐ เช่น นิวยอร์ก สามารถพัฒนากฎระเบียบได้อย่างรวดเร็ว

แคนาดา

  • หน่วยงานกำกับดูแลของแคนาดากำลังให้ความสำคัญกับการปกป้องนักลงทุนในการกำหนดกฎระเบียบสำหรับ Stablecoin ใหม่ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกฎระเบียบใหม่นี้อาจเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสร้างความท้าทายให้กับบริษัท Crypto ขนาดเล็ก ซึ่งอาจส่งผลต่อนวัตกรรมและการแข่งขันในตลาดของแคนาดา

สหภาพยุโรป (EU)

  • สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบ Markets in Crypto-Assets (MiCA) ในปี 2023 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การเงินดิจิทัล โดยกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความโปร่งใสสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่ มิถุนายน 2024 และมีผลเต็มรูปแบบ ธันวาคม 2024 โดยเน้นปกป้องนักลงทุน ปรับปรุงความสอดคล้องระหว่างประเทศสมาชิก และแทนที่กฎหมายระดับประเทศที่มีอยู่

  • นอกจากกฎระเบียบ MiCA แล้ว EU ยังมีกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Digital Operational Resilience Act (DORA) ที่ครอบคลุมความยืดหยุ่นในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และการหยุดชะงักของระบบ

  • มีระบบ DLT Pilot Regime ซึ่งเป็นระบบทดลองที่เปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทดลองใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการดำเนินงาน

  • หลายประเทศในยุโรป เช่น เอสโตเนีย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยียม ใช้กฎ Travel Rule และเพิ่มความเข้มงวดในกฎหมาย AML/CFT ด้าน สวิตเซอร์แลนด์ ก็มีแนวทางใหม่จาก FINMA สำหรับ Stablecoin เพื่อลดความเสี่ยง เช่น การฟอกเงิน

  • โดยรวมแล้ว EU กำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองนักลงทุนและความมั่นคงของระบบการเงิน

สหราชอาณาจักร

  • สหราชอาณาจักรกำลังพัฒนากฎระเบียบเพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาด ปกป้องนักลงทุน และสนับสนุนนวัตกรรม โดยแยกสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหลักทรัพย์ออกจาก Crypto ที่ไม่มีการค้ำประกันและ Stablecoin และยังเน้นการกำกับดูแล Stablecoin ให้สอดคล้องกับกฎ MiCA ของ EU เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาด 

  • หน่วยงานหลักคือ Financial Conduct Authority (FCA) และกฎหมายสำคัญคือ The Money Laundering, Terrorist Financing and Transfer of Funds Regulations 2017 รวมถึงมีกฎ Travel Rule ที่บังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว

บราซิล 

  • วางแผนจะเริ่มใช้กฎหมายควบคุม Stablecoin ในปี 2025 เช่น มีการเสนอร่างจากของธนาคารกลางบราซิลที่พิจารณากฎห้ามถอน Stablecoin ที่ผูกกับเงินต่างประเทศไปยังกระเป๋าเงินส่วนตัว (Self-Custody)

แอฟริกาใต้ 

  • แอฟริกาใต้กำลังพัฒนากฎระเบียบสำหรับ Stablecoin โดยศึกษาการใช้งานและผลกระทบทางการเงิน รวมถึงการนำสินทรัพย์จริงเข้าสู่ระบบ Blockchain (Tokenization) คาดว่าจะเผยแพร่เอกสารนโยบายภายในเดือนธันวาคม ขณะเดียวกันได้เริ่มควบคุม Crypto ในฐานะผลิตภัณฑ์การเงินตั้งแต่ปีที่แล้ว และจะรวม Stablecoin ไว้ในกรอบนี้ด้วย

ความเคลื่อนไหวในเอเชีย 

ในขณะที่จีนห้ามใช้ Crypto อย่างสมบูรณ์ในปี 2021 แต่ประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่งได้ก้าวเข้าสู่วงการนี้ และทิศทางด้านกฎระเบียบในภูมิภาคเปลี่ยนไปมุ่งเน้นที่การคุ้มครองผู้บริโภคและความชัดเจนสำหรับภาคธุรกิจ

 

ไทย

  • สำนักงาน ก.ล.ต. ไทย (Thai SEC) เสนอร่างกฎระเบียบใหม่ ขยายโอกาสให้กองทุนรวม และกองทุนเอกชนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ช่วยเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนได้มีตัวเลือกหลากหลาย และตอบรับกับการเติบโตของตลาดและความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน โดยการเสนอร่างกฎใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีความสนใจและความต้องการในการลงทุนใน Bitcoin และ Ethereum ETF ที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ซื้อขายตั้งแต่ต้นปีและเดือนพฤษภาคมที่ผ่านม

สิงคโปร์ 

  • สิงคโปร์เป็นผู้นำด้านกรอบกฎสินทรัพย์ดิจิทัลในปี 2023 โดย Monetary Authority of Singapore (MAS) ประกาศกฎระเบียบใหม่มีผลบังคับใช้กลางปี 2024 เพื่อปกป้องผู้ค้ารายย่อย เช่น การจำกัดการเข้าถึงเครดิตสำหรับการซื้อขาย Crypto, การห้ามใช้แรงจูงใจในการซื้อขาย และห้ามซื้อ Crypto โดยใช้บัตรเครดิตที่ออกในท้องถิ่น 

  • สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัลในเอเชีย โดย MAS เป็นหน่วยงานกำกับดูแลหลัก มีกฎหมายสำคัญ เช่น Payment Services Act 2019 (PS Act) และ Financial Services and Markets Act 2022 ซึ่งกำหนดข้อบังคับสำหรับผู้ให้บริการโทเคนการชำระเงินดิจิทัล (DPT) เช่น การแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล

  • MAS ออกกรอบการกำกับดูแลสำหรับ DPT โดยมีข้อบังคับที่เข้มงวด เช่น การห้ามการซื้อขายแบบ Margin หรือข้อเสนออื่นๆ แก่ลูกค้ารายย่อย แพลตฟอร์มต้องเปิดเผยผลประโยชน์ เผยแพร่มาตรการควบคุม และจัดตั้งขั้นตอนแก้ไขข้อพิพาทของลูกค้า

  • การดำเนินการของ MAS มาพร้อมกับปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่นๆ เช่น อัตราภาษีต่ำ โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคง และการยอมรับ Crypto  ในหมู่ประชากร ทำให้สิงคโปร์ได้รับความนิยมในฐานะศูนย์กลางของสินทรัพย์ดิจิทัลในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ฮ่องกง 

  • ฮ่องกงได้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยสำนักงานบริการทางการเงินและคลัง (FSTB) ของรัฐบาลฮ่องกงได้ออกแถลงการณ์นโยบายว่าด้วยการพัฒนาสินทรัพย์เสมือนจริง ในเดือนตุลาคม 2022 โดยกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางนโยบายสำหรับการกำกับดูแลกิจกรรมสินทรัพย์เสมือนจริง/ดิจิทัล ภายใต้หลักการ “กิจกรรมเดียวกัน ความเสี่ยงเดียวกัน กฎระเบียบเดียวกัน” ในเดือนมิถุนายน 2023 รัฐบาลฮ่องกงได้จัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อส่งเสริมการพัฒนา Web3 โดยยึดหลักความสมดุลระหว่างการกำกับดูแลที่เหมาะสมและการส่งเสริมการพัฒนา คณะทำงานจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาสินทรัพย์เสมือนจริง/ดิจิทัล และ Web3 ที่ยั่งยืนและรับผิดชอบในฮ่องกง

  • ปัจจุบันฮ่องกงมีวิธีการที่เสรีมากขึ้นโดยเปิดรับบริษัท Crypto และริเริ่มระบอบการออกใบอนุญาต Crypto ของตนเอง รวมถึงวางแผนที่จะสร้างตัวเองให้เป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการใช้กรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุม ซึ่งมีการดำเนินการเพิ่มเติมในปี 2024 เช่น วางแผนที่จะเสนอร่างกฎหมายควบคุม Stablecoin ต่อสภานิติบัญญัติภายในสิ้นปีนี้ 

ญี่ปุ่น

  • ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่มีกรอบกฎหมายสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Stablecoin ด้วยการขับเคลื่อนจากภาครัฐและนโยบายที่เป็นมิตรกับ Web3 ซึ่งยอมรับ Web3 ว่าเป็นเสาหลักสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ที่สำคัญญี่ปุ่นได้ก้าวเข้าสู่การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเต็มตัว ด้วยบทบาทสำคัญของ ‘Financial Services Agency’ (FSA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของญี่ปุ่น เพื่อการกำหนดนโยบายและบังคับใช้กฎระเบียบ รวมถึงมี Japan Virtual Currency Exchange Association (JVCEA) ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลสำหรับอุตฯ Crypto และมี Japan Security Token Offering Association (JSTOA) ที่จัดตั้งโดยกลุ่มบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ที่พยายามทำให้ธุรกิจและผู้ลงทุนมีความชัดเจนมากขึ้นในตลาด ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีส่วนร่วมในการสร้างกฎเกณฑ์และนโยบายที่ปรับให้เหมาะกับพื้นที่การกำกับดูแลของตน

  • นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่มี "ระบบความเท่าเทียมทางกฎระเบียบสำหรับการใช้ Stablecoin ข้ามพรมแดน" โดยระบบนี้ทำให้ Stablecoin ที่ออกโดยต่างประเทศ ซึ่งได้รับการกำกับดูแลตามมาตรฐานที่เทียบเท่ากับกฎหมายของญี่ปุ่น สามารถนำมาใช้งานในประเท

เกาหลีใต้

  • เกาหลีใต้ เตรียมควบคุม Stablecoin สำหรับการทำธุรกรรมข้ามประเทศ ยกระดับความปลอดภัยให้ผู้ลงทุน โดยป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน เช่น ฟอกเงินและเลี่ยงภาษี ซึ่งมาตรการจะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้า และผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัลต้องรายงานธุรกรรมต่อธนาคารกลางเกาหลี (BOK) ทุกเดือน

มาเลเซีย

  • กำหนดให้ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล (VASPs) ต้องได้รับใบอนุญาตและปฏิบัติตามกฎ AML และมีการบังคับใช้ Travel Rule

อินเดีย

  • กำหนดให้ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล (VASPs) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้าน AML/CFT

กาตาร์ 

  • ศูนย์การเงินกาตาร์ (QFC) ได้เปิดตัวกฎระเบียบครอบคลุมเพื่อควบคุมและสร้างสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไฮไลท์สำคัญคือการรับรองทางกฎหมายสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลและสัญญาอัจฉริยะ การสนับสนุนการ Tokenizaton ของสินทรัพย์ การคุ้มครองนักลงทุนที่เข้มงวด และการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยและความโปร่งใส กาตาร์ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนานโยบายนี้ ทำให้กาตาร์กลายเป็นเขตอำนาจศาลที่ก้าวหน้าในด้านสินทรัพย์ดิจิทัลและดึงดูดธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สนับสนุนสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดย Crypto ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นเงินตราที่ถูกกฎหมาย (Legal Tender) แต่ยังสามารถถือครองและซื้อขายได้ โดยกรอบการกำกับดูแลของ UAE ช่วยสร้างความชัดเจนและส่งเสริมการเติบโตในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างยั่งยืนในขณะที่รักษามาตรฐานความปลอดภัยและความรับผิดชอบ

ดูไบ

  • มีหน่วยงานกำกับดูแลสินทรัพย์เสมือน (VARA) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2022 มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศเป็นผู้นำในด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลสินทรัพย์เสมือน โดยมีเป้าหมายในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตและความปลอดภัย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างยั่งยืนและชัดเจนสำหรับนักลงทุนและผู้เล่นในตลาด

  • ในปี 2024 ศูนย์การเงินนานาชาติของดูไบ (DIFC) ได้ประกาศใช้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้นักลงทุนได้รับความชัดเจนและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี

อาบูดาบี 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept