milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
26 กรกฎาคม 2566
ภาษาไทย

‘AI’ ช่วยรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร?

AI สร้างความตื้นเต้นให้กับคนทั่วโลกอีกครั้ง ด้วยการพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ซึ่งเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของ “ChatGPT” ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างประโยชน์ได้หลากหลายด้วยความสามารถที่เลียนแบบมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น แต่อีกมุมหนึ่ง AI ก็มีประโยชน์กับการนำไปใช้ด้านรักษาสภาพอากาศและสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและน่ากังวลมากขึ้น และเกิดขึ้นใกล้ตัวกับเรามากขึ้นไปทุกที บทความนี้จึงนำเสนอการนำ AI กับการนำไปใช้ช่วยงานด้านรักษาสิ่งแวดล้อมในหลายแง่มุม ไปดูกันว่าเทคโนโลยีนี้จะนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณให้เกิดความยั่งยืนอย่างไรได้บ้าง

Article5JAN_1200X800.jpg

ความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศและระดับมลพิษ

สถานการณ์ปัจจุบันผู้คนต่างสนใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษที่รุนแรงและกระทบความเป็นอยู่ เกิดใกล้ตัวไปยังบริเวณที่ตนพักอาศัยและพื้นที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยทั้งปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระจายทั่วโลก มีวิธีเดียวที่สามารถสู้กับปัญหานี้คือความจำเป็นต้องมีโซลูชันระดับโลก

โดยปัจจุบันมีทางออกและวิธีการใหม่ๆ เพื่อความยั่งยืนและแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่ง AI ก็เป็นอีกเทคโนโลยีที่สามารถนำมาช่วยจัดการกับมลพิษทางอากาศได้ อย่างเช่นการใช้ AI รวบรวมข้อมูลเซนเซอร์ดาวเทียมและช่วยนักวิจัยในการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศเพื่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ


ความสามารถของ AI กับการนำไปใช้รับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนความยั่งยืน

AI มีบทบาทสำคัญช่วยธุรกิจรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนความยั่งยืน โดยทุกวันนี้เราได้เห็นการที่โลกเผชิญกับวิกฤตการณ์รอบโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงปัญหามลภาวะและขยะ ที่สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการขาดข้อมูลที่มากพอ แต่ปัจจุบันเรามีข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศมากขึ้นกว่าในอดีต และการเข้าถึง การทำความเข้าใจและวิธีดำเนินการกับข้อมูลนั้นมีความสำคัญกับการรับมือวิกฤตการณ์เหล่านี้ ซึ่ง “AI”  เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นศูนย์กลางช่วยจัดการกับข้อมูล

AI มีความสามารถในการคาดการณ์อันทรงพลังและมีระบบโครงข่ายอัจฉริยะเพื่อจัดการอุปสงค์และอุปทานของพลังงานหมุนเวียน และโดดเด่นกับการนำไปใช้ช่วยประเมินข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ที่ AI สามารถสร้างความแตกต่างได้ คือการคำนวณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของผลิตภัณฑ์ ซึ่งธุรกิจสามารถนำ AI มาช่วยเป็นรากฐานในด้านนี้ได้

AI สามารถช่วยคำนวณข้อมูลหรือที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรและห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด และช่วยให้ทั้งธุรกิจและผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วยชุดข้อมูล ซึ่งข้อมูลประเภทนี้จำเป็นสำหรับสนับสนุนแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบนโลกดิจิทัลที่มีความยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น บนแพลตฟอร์ม E-Commerce เช่น Amazon.com และ Shopify เป็นต้น


การใช้ AI ช่วยตรวจสอบและติดตามคุณภาพอากาศ

รู้หรือไม่ว่า 92 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีมลพิษทางอากาศในระดับที่เป็นอันตราย ซึ่งทำให้มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามอันดับ 4 ต่อมนุษยชาติ มีหลายส่วนของโลกที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากมลพิษทางอากาศจำนวนมหาศาล บางครั้งถึงกับทำให้ไม่ปลอดภัยที่จะอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

ปัจจุบันมีเครื่องตรวจจับสภาพอากาศและฟอกอากาศที่มาพร้อมระบบ AI ในตัวที่สามารถบันทึกคุณภาพอากาศและข้อมูลสิ่งแวดล้อมแบบ Real-Time และนำไปช่วยปรับประสิทธิภาพการกรองอากาศได้ โดยในเขตเมืองยังสามารถส่งคำเตือนไปยังผู้คนในพื้นเกี่ยวกับระดับมลพิษด้วยการจำลองสถานการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจจับแหล่งกำเนิดมลพิษได้เร็วกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากยานพาหนะ เซนเซอร์ข้อมูล และกล้อง สามารถนำไปใช้ช่วยปรับปรุงเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศได้เช่นกัน

การติดตามคุณภาพอากาศด้วย AI เป็นอีกหนึ่งความคิดริเริ่มในการติดตามด้านสิ่งแวดล้อมที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้ร่วมก่อตั้งร่วมกับ IQAir แพลตฟอร์มตรวจสอบมลพิษทางอากาศซึ่งเป็นเครือข่ายข้อมูลคุณภาพอากาศระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย IQAir รวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 25,000 แห่งจากกว่า 140 ประเทศ และใช้ประโยชน์จาก “AI” เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของคุณภาพอากาศตามเวลาจริงต่อประชากร และช่วยแจ้งมาตรการป้องกันด้านสุขภาพ เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ทั้งภาครัฐและเอกชนใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเร่งดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกและพลิกโฉมธุรกิจ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบด้วยความเร็วและขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน


AI นำไปใช้สนับสนุนการใช้ดินอย่างยั่งยืน

เราสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของการใช้ดิน พืชพรรณ พื้นที่ป่า และผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ด้วยการใช้ AI ผสานเข้ากับภาพถ่ายดาวเทียม หรือการตรวจหาโรคพืชและปัญหาอื่นๆ ล่วงหน้าผ่านการใช้หุ่นยนต์เสริมการเกษตรด้วย AI (AI-Augmented) 

กล่าวคือระบบนี้จะประกอบด้วยมาตรการแก้ไขแบบอัตโนมัติ รวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ จนถึงขั้นตอนการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงปัจจัยการผลิตและผลตอบแทนทางการเกษตรตามอุปสงค์และอุปทาน ส่งผลให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอุตสาหกรรม และลดการใช้น้ำ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง หรือทุกอย่างที่เป็นต้นเหตุของการทำลายระบบนิเวศที่สำคัญ


AI สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด


เราสามารถใช้ความสามารถในการคาดการณ์อันทรงพลังและระบบโครงข่ายอัจฉริยะเพื่อจัดการอุปสงค์และอุปทานของพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น การพยากรณ์อากาศที่แม่นยำยิ่งขึ้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดการสร้างมลพิษคาร์บอนที่ไม่จำเป็น 

นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงวิธีการจัดเก็บพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และการบริหารการใช้พลังงาน (Load management) รวมถึงช่วยในการบูรณาการและความน่าเชื่อถือของพลังงานหมุนเวียน และในทางกลับกัน เป็นวิธีสิ่งที่ช่วยให้การกำหนดราคาและการซื้อขายแบบยืดหยุ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในตลาด

ยกตัวอย่างเช่น IBM ที่ได้นำ AI ไปใช้ในการพยากรณ์อากาศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ส่งผลให้การคาดการณ์มีประสิทธิภาพขึ้น 30% ผลลัพธ์ของพวกเขาแสดงให้เห็นถึงการจัดการโรงงานที่ดีขึ้น โดยผลลัพธ์ชี้ให้เห็นถึงการจัดการโรงงานที่ดีขึ้น เพิ่มการผลิตพลังงานทดแทนได้สูง และมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน


AI ช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ดีขึ้น

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) หรือ The Organization for Economic Cooperation and Development เปิดเผยผลการศึกษาที่ระบุว่า ทรัพยากรธรรมชาติกว่า 62 พันล้านตัน เช่น แร่ธาตุ ไม้ โลหะ ฯลฯ ถูกดึงออกมาใช้จากโลกในทุกๆ ปี รวมการศึกษายังระบุอีกว่า 20% ของทรัพยากรเหล่านั้นถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีปัญหาเรื่องการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

โดยศูนย์กลางสำคัญสำหรับการใช้ทรัพยากรอย่างสุดโต่งนี้เกิดขึ้นในเมือง และไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดในเร็วๆ นี้ ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองได้ก่อให้เกิดความเครียดด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง

วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการอนุรักษ์ทรัพยากร คือการใช้หลอดไฟ LED อัจฉริยะ เมื่อเทียบกับการใช้ไฟแบบเดิม ระบบไฟ LED อัจฉริยะให้การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ากว่ามาก และยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า ซึ่งมีการนำไปใช้กับไฟถนน โดยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดนี้ เรียกว่า “Smart Grid” ที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาวะที่ทำให้แสงมืดลงหรือสว่างขึ้นได้ เป็นระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่จ่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ 


 

Source:

https://www.unep.org/news-and-stories/story/how-artificial-intelligence-helping-tackle-environmental-challenges

https://www.openaccessgovernment.org/how-can-we-use-ai-to-fight-air-pollution/137726/#:~:text=AI%20can%20play%20a%20role,with%20measurements%20from%20traditional%20stations.

https://www.aitimejournal.com/how-ai-can-improve-environmental-sustainability/#:~:text=Artificial%20intelligence%20can%20apply%20powerful,and%20unnecessary%20carbon%20pollution%20generation

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept