milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
09 ธันวาคม 2564
ภาษาไทย

Oracle หรือ Blockchain Oracle คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

เนื่องด้วย Blockchain และ Smart Contract ไม่สามารถนำข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลโลกความจริงเข้ามาภายในเครือข่ายได้เอง รวมถึงปัจจุบันที่วงการ DeFi และ Blockchain ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างเพื่อการพัฒนา และจุดสำคัญหนึ่งคือการนำข้อมูลโลกภายนอกเข้ามาสู่ Blockchain จึงต้องมี Oracle เทคโนโลยีที่เป็นตัวกลางและกรองข้อมูลเข้าสู่เครือข่าย Blockchain


Article6_800.jpg

Oracle คืออะไร?

 

Oracle ทำหน้าที่นำข้อมูลจากโลกภายนอก Blockchain หรือข้อมูลโลกจริงเข้าสู่ Smart Contract ที่ทำงานบนเทคโนโลยี Blockchain เนื่องจาก Smart Contracts และ Blockchain ทำงานแบบระบบปิด ซึ่งมีกระบวนการทำงานต่างๆ ที่ค่อนข้างเข้มงวดในการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลภายนอก โดย Oracle มีวิธีการในการนำข้อมูลภายนอกหรือ Off-Chain เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมภายในหรือ On-Chain ของเครือข่าย Blockchain อย่างปลอดภัย ซึ่ง Oracle ได้ทำให้ Blockchain สามารถโต้ตอบกับข้อมูลภายนอกหรือ Off-Chain Data ได้


โดยตัวอย่างของข้อมูลภายนอก Blockchain หรือของมูลโลกจริง ที่ Oracle ได้นำเข้าสู่ Blockchain เช่น อุณหภูมิสภาพอากาศในแต่ละวันจากการตรวจจับเซนเซอร์ การชำระเงิน

ผลคะแนนจากการแข่งขันกีฬาฟุตบอล หรือแม้กระทั่งตัวเลขจำนวนการโหวตลงคะแนนให้ผู้สมัครเลือกตั้งทางการเมือง 


Oracle จะมีหน้าที่ทำให้ Smart Contract ที่ทำงานบน Blockchain สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตัดสินใจต่างๆ 


และโดยพื้นฐานแล้ว Oracle คือรูปแบบของการสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่างภายในและภายนอกของโลก Blockchain นอกจานนี้ Oracle ยังมีหลายประเภทที่ต่างกัน รวมถึงยังมีความท้าทายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับ Oracle ในแง่ของด้านการดำเนินการกับ Smart Contracts 



ประเภทของ Oracle

โดยส่วนใหญ่การจัดประเภทของ Oracle จะแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ Software และ Hardware หรือการไหลเวียนเข้าและออกข้อมูลระหว่าง Oracle กับแหล่งที่มา ได้แก่ Inbound และ Outbound รวมถึงรูปแบบของแหล่งของมูลว่าเป็น Decentralized หรือ Centralized


Oracle ประเภท Software และ Hardware

Software และ Hardware Oracle จะมีการดึงข้อมูลจากแหล่งที่มาต่างๆ ที่ต่างกัน ดังนี้

  • Software Oracles รับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ใช้อินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลที่เป็นดิจิทัล เช่น เซิร์ฟเวอร์ (Server) ฐานข้อมูล (Database) และเว็บไซต์ รวมถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของราคา หรือข้อมูลเที่ยวบิน เป็นต้น
  • Hardware Oracles รับข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านหรือเก็บข้อมูลที่เป็นกายภาพจากโลกความจริง ตัวอย่างเช่น สามารถส่งผ่านและถ่ายทอดข้อมูลจากเซ็นตรวจความเคลื่อนไหวของกล้อง เครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ และ RFID Sensors 

Inbound และ Outbound Oracles

Oracle มีการสร้างช่องทางการสื่อสารบน Blockchain ด้วยกัน 2 ทางตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น คือสามารถส่งข้อมูลที่เข้าไปใน Blockchain และถ่ายโอนข้อมูลไปข้างนอก โดย Inbound Oracle เป็นการส่งข้อมูล Off-chain ไปยัง Smart Contract ที่อยู่บน Blockchain ส่วน Outbound Oracle จะเป็นในทางกลับกันคือนำข้อมูลจาก Contract ไปสู่โลกความจริง

ตัวอย่างของ Inbound Oracle ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกนำเข้ามาตั้งแต่ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ หรือข้อมูลสภาพอากาศ ไปจนถึงข้อมูลที่พิสูจน์การชำระเงินที่เสร็จสิ้น


ส่วนในทางตรงกันข้าม Outbound Oracle จะเป็นการรายงานให้โลกภายนอกเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Blockchain ตัวอย่างเช่น Smart Contract ถูกตั้งโปรแกรมให้ปลดล็อกสมาร์ตล็อกในการเช่าสินทรัพย์ของโลกแห่งความจริงเมื่อได้รับข้อมูลการชำระเงิน Cryptocurrency จากที่อยู่ Crypto Wallet ที่เฉพาะเจาะจง


Centralized Oracle กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ

Oracles ที่ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเดียวหรือแหล่งข้อมูลแหล่งเดียว คือ Centralized Oracle ซึ่งทำให้ไม่มีความน่าเชื่อถือมากเท่าที่ควร โดยผู้ให้บริการหรือแหล่งข้อมูลเหล่านี้ต้องการผู้เข้าร่วมเพื่อให้เกิดความไว้วางใจในแหล่งข้อมูลเดียว ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างความล้มเหลวหนึ่งที่คุกคามความปลอดภัยของ Smart Contract เพราะหาก Oracle ไม่ปลอดภัยหรือขาดความน่าเชื่อถือก็จะส่งผลต่อ Smart Contract เช่นเดียวกัน ซึ่งความแม่นยำและประสิทธิภาพของ Smart Contract ต้องอาศัยคุณภาพของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างมาก รวมถึงเหตุผลสำคัญของการคิดค้น Smart Contract ขึ้นมาคือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากคู่สัญญาหรือการพึ่งพาบุคคลที่สาม 


เหตุผลสำคัญที่ Smart Contract ได้ถูกคิดค้นขึ้น คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จากคู่สัญญาและการพึ่งพาบุคคลที่สาม โดย Oracles ได้เข้ามาทำให้สัญญาต่างๆ สามารถถูกดำเนินการระหว่างกลุ่มบุคคลที่เชื่อถือได้ แต่ก็เสี่ยงที่จะกลายเป็นตัวกลางที่พวกเขาพยายามมาแทนที่ ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นหนึ่งความท้าทายหรือปัญหาที่สำคัญของ Oracle 

การเก็บรักษาความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยและความเป็นธรรม

รวมถึงการหลีกเลี่ยงการรวมศูนย์ที่มากเกินไป (Over-Centralization) ที่สามารถทำลายความสัมพันธ์ระหว่าง Smart Contracts และ Blockchains ได้กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญที่ Oracles ต้องพบเจอ 



Decentralized Oracle 


สำหรับ Decentralized Oracle เป็น Oracle ที่นำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ที่มีความพยายามให้เกิดความน่าเชื่อถือและผลลัพธ์มีความชัดเจน ซึ่งอาศัยเหตุและผลมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคลลักษณะเดียวกันกับเครือข่าย Blockchain โดยการกระจายความไว้วางใจในหมู่ผู้เข้าร่วมเครือข่ายจำนวนมาก ด้วยการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งเครือข่าย Decentralized Oracle มีศักยภาพที่จะเพิ่มระดับความปลอดภัยและความยุติธรรมให้กับ Smart Contract


และเนื่องจาก Centralized Oracles สามารถถูกคุกคามและยากต่อการจัดการเพราะมีกลุ่มบุคคลที่สาม รวมถึง Blockchain ต้องมีการนำข้อมูลโลกความจริงเข้ามาใน Chain ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีโครงการ Blockchain จำนวนมากที่พัฒนา Decentralized Oracle เช่น Band Protocol, Chainlink, Augur และ MakerDAO เป็นต้น เพื่อมาแก้ปัญหาดังกล่าว รวมถึงได้เช่วยพิ่ม Use Cases ของ Smart Contract ในตลาดต่างๆ มากมาย ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาที่น่าตื่นเต้นและน่าติดตามอย่างต่อเนื่องสำหรับวงการ Blockchain และคริปโต


นอกจากนี้ Oracle ยังมีประเภทอื่นๆ อย่าง Contract-Specific Oracles ซึ่งเป็น Oracle ประเภทที่สร้างขึ้นมาสำหรับ Smart Contract แบบเดี่ยว รวมถึงมี Human Oracle ซึ่งมีบุคคลที่มีความรู้เฉพาะด้านที่สามารถรับข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อใช้โดยข้อตกลงต่างๆ ที่อยู่บน Blockchain

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept