milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
28 มีนาคม 2566
ภาษาไทย

กรณีศึกษา: การกำกับดูแล Web 3.0 ควรต่อยอดไปในทิศทางเดียวกันจาก Web ในยุคก่อน?

Web 3.0 และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะมีการใช้งานที่แพร่หลายไปได้ไกลและเร็วเพียงใดยังคงต้องติดตามกันต่อไป โดยมีความท้าทายที่ต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ประสบการณ์ผู้ใช้ไปจนถึงการฉ้อโกง รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุด คือการกำกับดูแลสำหรับ Web 3.0 ที่ยังคลุมเครือ และมีการเรียกร้องให้มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่นเกี่ยวกับสินทรัพย์และการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับทุนที่ถืออยู่ใน Custody 

อย่างไรก็ตาม การเข้าใจคุณลักษณะหลักของ Web 3.0 ยังคงมีความสำคัญสำหรับผู้นำธุรกิจในหลากหลายภาคส่วน รวมถึงการเข้าใจแนวทางที่เหมาะสมเพื่อการควบคุมดูแลจากหน่วยงานกำกับดูแลหรือภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่อาจนำมาปรับใช้และต่อยอดเกี่ยวกับการกำกับดูแล Web 3.0 

Article4JUN_1200X800.jpg

การกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตยุคเก่าที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบันมุ่งเน้นที่แอปพลิเคชัน

วิสัยทัศน์และแนวคิดอินเทอร์เน็ตในยุคแรกเริ่มหลายคนต่างต้องการให้อินเทอร์เน็ตมีเสรีและเปิดกว้างตลอดไป และเป็นเครื่องมือที่ไร้ขอบเขตและไร้กฎเกณฑ์สำหรับผู้ใช้ทุกคน แนวคิดดังกล่าวได้สูญเสียความชัดเจนไปบ้างในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีการปราบปรามการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่อยู่ภายใต้โปรโตคอลการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เช่น HTTP (การแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับเว็บไซต์) FTP (การถ่ายโอนไฟล์) และ SMTP (อีเมล) ยังคงมีความอิสระและเปิดกว้าง โดยรัฐบาลทั่วโลกยังคงรักษาแนวคิดหลักของอินเทอร์เน็ตดังกล่าวไว้โดยการยอมรับเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ยังคงเป็นโปรโตคอลแบบ Open Source และมีการกระจายอำนาจ รวมถึงอิสระและมาตรฐานเดิม

จากนั้นกฎหมายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในปี 1992 ของสหรัฐฯ เป็นการปูทางสู่ความเจริญของอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์โดยที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ TCP/IP (ซึ่งเป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์) รวมถึงการผ่านกฎหมายการสื่อสารโทรคมนาคมที่ได้รับอนุมัติจากสภาคองเกรสในปี 1996 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในกฎหมายโทรคมนาคมของอเมริกา เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่อินเทอร์เน็ตรวมอยู่ในการกระจายเสียงและการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็ไม่ได้ขัดขวางวิธีการข้ามผ่านเครือข่ายข้อมูลแต่อย่างใด และยังคงให้ความชัดเจนเพียงพอที่จะช่วยให้สหรัฐฯ ครองเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตด้วยยักษ์ใหญ่มาจนถึงในปัจจุบัน เช่น Amazon, Apple, Alphabet และอื่น ๆ 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็ยังทำให้อุตสาหกรรมและนวัตกรรมเติบโตต่อไปได้และส่งผลให้มีบริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมากที่เรานิยมใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งจากที่ผ่านมารัฐพยายามควบคุมเพียงแอปพลิเคชัน


การกำกับดูแล Web มุ่งเน้นไปที่ “แอปพลิเคชัน” สามารถปรับใช้ได้กับ Web 3.0

จากอดีตที่ผ่านมา รัฐพยายามควบคุมเพียงแค่แอปพลิเคชัน เช่น เบราว์เซอร์ เว็บไซต์ และซอฟต์แวร์อื่นๆ หรือโดยทั่วไปเรียกว่า “ไคลเอ็นต์” ที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเว็บ ไม่ใช่การควบคุมโปรโตคอล โดยแนวทางการควบคุมดังกล่าวสามารถต่อยอดเพื่อนำไปใช้ใน Web 3.0 ได้ ซึ่ง Web 3.0 เป็นวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตที่มีแอปหรือไคลเอนต์รูปใหม่ เช่น เว็บแอปและกระเป๋าเงิน โปรโตคอลแบบกระจายศูนย์ รวมถึงส่วนของการชำระเงินสำหรับการแลกเปลี่ยนที่ใช้ความสามารถของ Blockchain และ Smart Contract และในแง่ของการกำกับดูแลใน Web 3.0 ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความจำเป็น แต่ควรต้องมีเลือกวิธีการกำกับดูแลที่เหมาะสมที่สุดกับลักษณะ Tech Stack ของแต่ละส่วนของ Web 3.0 ซึ่งมีความแตกต่างออกไป เพื่อไม่ให้กระทบกับการเติบโตของ Web 3.0 โดยแรกเริ่มหรือ Web1 มีลักษณะของโปรโตคอลที่มีข้อมูลเป็นฐานสำคัญ (Information-Based Protocols) ส่วน Web 3.0 เป็นโปรโตคอลที่มูลค่าเป็นฐานสำคัญ (Value-Based Protocols) 

โดยทั่วไปประสบการณ์ผู้ใช้เว็บมักเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการควบคุม และจากนั้นจึงเข้าถึงข้อมูลผ่านเบราว์เซอร์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันที่ได้รับการควบคุม ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับโปรโตคอลที่เป็นแบบเปิดและฟรี ภาครัฐจึงสามารถดูแลควบคุมประสบการณ์บนเว็บเหล่านี้ได้โดยใช้การจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือโดยกำหนดให้ปฏิบัติตามกฎความเป็นส่วนตัวและการละเมิดลิขสิทธิ์


เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมจึงไม่มีการกำกับดูแลที่โปรโตคอล

เหตุผลที่การกำกับดูแลมุ่งเน้นไปที่แอปพลิเคชัน ซึ่งการกำกับดูแลในระดับโปรโตคอลไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่สามารถเป็นจริงได้:

  • ประการแรก: เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่โปรโตคอลจะใช้กฎข้อบังคับเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปและอาจมีความขัดแย้งกันตามเขตอำนาจ แม้ว่าจะเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีในการสร้างโปรโตคอลที่สามารถช่วยตัดสินใจที่ซับซ้อนและเป็นส่วนตัว (Subjective) ก็ตาม 

กฎขึ้นอยู่กับบริบทใน Web 3.0 สิ่งที่อนุญาตภายใต้กฎหมายควบคุมจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละ DEX ไม่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐานสากลสำหรับกฎหมายเช่นเดียวกับ SMTP ที่ไม่สามารถจำกัดการเข้าถึงได้ตามภูมิศาสตร์ 

  • ประการที่สอง: ในทางเทคโนโลยีเป็นไปไม่ได้ที่โปรโตคอลต่างๆ จะต้องมีกฎหมายกำกับดูแล เนื่องจากส่วนใหญ่ยังมีความคลุมเครือและมักถูกกำหนดโดยความคิดเห็นส่วนตัวหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Subjective Regulations) แม้ว่ากฎจะมีเจตนาที่ดีก็ตาม


ยกตัวอย่างจากการพิจารณากรณีของ “สแปม” ที่ไม่มีใครในโลกพึงพอใจ แต่จะเป็นอย่างไรหากใน Web ปัจจุบันมีการกำหนดให้โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งอีเมลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ “SMTP” ผิดกฎหมายจากการอำนวยความสะดวกให้สแปม ซึ่งหมายความว่าจะทำให้เราไม่มีอีเมลใช้กันในปัจจุบัน ดังนั้น การควบคุมที่โปรโตคอลจึงไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา แม้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่พยายามกำจัดสแปมออกจากแอปอีเมลหรือไคลเอนต์ก็ยังคงแก้ปัญหาที่ต้นตอไม่ได้ 

นอกจากนี้ แม้ว่าผู้มีอำนาจบางรายจะกำหนดให้โปรโตคอล SMTP มีการกรองสแปมตั้งแต่ค่าเริ่มต้น ผู้ประสงค์ร้ายก็ยังสามารถทำได้ เนื่องจากโปรโตคอลเป็นแบบ Open Source จึงสามารถหลีกเลี่ยงการคัดกรองได้ ดังนั้น การห้ามไม่ให้ SMTP สามารถส่งสแปมอาจไม่ได้ผลและอาจกลายเป็นจุดจบของอีเมลตามที่ทราบกันดี

ใน Web 3.0 เราสามารถเปรียบเทียบโทเคนกับอีเมลในบริบทของโปรโตคอลการแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) หากรัฐบาลต้องการยับยั้งการแลกเปลี่ยนโทเคนบางตัวที่อาจเป็นหลักทรัพย์หรืออนุพันธ์และใช้โปรโตคอลดังกล่าว พวกเขาจำเป็นต้องสามารถระบุข้อกำหนดทางเทคนิคที่ตรงตามหมวดหมู่ดังกล่าวอย่างเป็นกลาง แต่เกณฑ์การจำแนกตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการพิจารณาสินทรัพย์ว่าเป็นหลักทรัพย์หรืออนุพันธ์เป็นการวิเคราะห์ที่อาศัยความคิดเห็นส่วนบุคคลหรือต้องมีคนกลาง และต้องมีการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและกฎหมายร่วมด้วย แม้แต่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ก็ยังประสบกับปัญหานี้

ดังนั้น ความพยายามที่จะใส่การวิเคราะห์โดยผ่านคนกลางหรือแบบ Subjective ลงในชุดคำสั่งส่วนฐานจึงไร้ประโยชน์ เช่นเดียวกับกรณีของ SMTP และเป็นไปไม่ได้ที่โปรโตคอลการแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) จะมีการวิเคราะห์เชิงอัตนัย (Subjective) โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นตัวกลาง เนื่องจากจะกลายเป็นการลบล้างการกระจายศูนย์และความเป็นอิสระของโปรโตคอล และการนำกฎข้อบังคับดังกล่าวไปใช้กับ DEX จะกลายเป็นการยับยั้งการทำงานของโปรโตคอล ดังนั้นจึงเป็นการผิดกฎหมายประเภทนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่กำลังเติบโต และเป็นอันตรายต่อความสามารถในการทำงานของ Web 3.0 ทั้งหมด

และประการที่สาม จากเหตุผลต่างๆ ข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่าการควบคุมแอปเหมาะสมมากกว่าการพยายามเข้าไปควบคุมโปรโตคอล ซึ่งกฎระเบียบที่ใช้กับแอปสามารถบรรลุเป้าหมายของภาครัฐหรือหน่วยงานกับกำดูแลได้โดยไม่กระทบต่อเทคโนโลยีพื้นฐานของ Web 3.0 และวิธีการดังกล่าวได้ผลและมีการใช้จริงปัจจุบัน

โปรโตคอลของ Web ในยุคแรกยังคงมีประโยชน์แม้ว่าผ่านไปกว่า 30 ปี เนื่องจากยังคงเป็นโอเพ่นซอร์ส กระจายศูนย์ เป็นอิสระและมีมาตรฐาน รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลสามารถจำกัดข้อมูลที่ส่งผ่านโปรโตคอลเหล่านี้ได้ด้วยการควบคุมที่แอปพลิเคชัน แต่ละประเทศสามารถกำหนดแนวทางของตนเองได้ และธุรกิจที่ดำเนินการเบราว์เซอร์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลในพื้นที่ของตนได้ 

Web รุ่นแรกให้เครื่องมือที่น่าทึ่งแก่เราในรูปแบบของเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูล อีเมล และโปรโตคอลการถ่ายโอนไฟล์ ทั้งหมดนี้ทำให้สามารถย้ายข้อมูลด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ต และ ‘Web 3.0’ ทำให้การถ่ายโอน “มูลค่า” สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความเร็วอินเทอร์ในทำนองเดียวกัน ทั้งมีฟังก์ชันใหม่ๆ ที่เข้ามาพลิกโฉมโลกการเงินบนอินเทอร์เน็ตใหม่นี้ ซึ่งล้วนเป็นนวัตกรรมที่ควรได้รับการคุ้มครองให้เกิดการพัฒนาต่อไป และเรื่องกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ ยิ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการใช้งานหลากหลายภาคส่วนใน Web 3.0 ตั้งแต่ DeFi ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยครีเอเตอร์ ซึ่งค่อนข้างละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนมากขึ้น


สรุป

Web 3.0 ยังคงเป็นโลกแห่งการสร้างสรรค์ ปัญหาและข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulation) ควรต้องได้รับการจัดการแก้ไขให้มีความชัดเจนก่อนที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนไปถึงการยอมรับในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การนำเสนอ “คุณค่า” สำหรับผู้บริโภคยังคงเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากแอปพลิเคชันและการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตลอดจนภาครัฐและสังคม ควรตระหนักถึงการมาของ Web 3.0 ที่กำลังเกิดขึ้นและเริ่มเตรียมการรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของโอกาสใหม่ทางธุรกิจนี้

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept