milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
14 พฤศจิกายน 2565
ภาษาไทย

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ The Sandbox และอนาคตของ Web 3.0 Metaverse

ในภาวะตลาดที่ซบเซาหรือตลาดหมีส่งผลกระทบกับโปรเจกต์ Metaverse หรือไม่และอย่างไร? วันนี้ SCB 10X จะพาไปหาคำตอบจากมุมมองของผู้นำและผู้บุกเบิกแพลตฟอร์ม Metaverse ระดับโลกอย่าง Sebastien Borget, The Sandbox และ Moderator: Prapasri (Megan) Khunakridatikarn, Metaverse Architect, SCB 10X พร้อมทั้งอัปเดตความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มยอดนิยมนี้กันในบทความนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งจากงาน REDeFiNE TOMORROW 2022 และสามารถรับชมรายละเอียดทั้งหมดย้อนหลังได้ทาง Youtube: https://youtu.be/GH1biwjlIFo


Arti2sand_1200X800.jpg

ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของ Web 3.0 Metaverse ในแบบ The Sandbox


The Sandbox เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกพื้นที่ Metaverse มานานกว่า 4 ปี ตั้งใจมอบคุณค่าที่แท้จริงให้กับผู้เล่น เพิ่มขีดความสามารถให้กับนักสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มต้น เสมือนว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ทุกคนที่เข้ามาใช้งานมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นและให้เข้าถึงได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดๆ เพื่อเรียนรู้การทำคอนเทนต์หรือสัมผัสประสบการณ์ใน The Sandbox ซึ่งมีเครื่องมือ Voxel Editor และโหมดสร้างเกมโดยไม่ต้องใช้ Code 

ปัจจุบัน The Sandbox ได้ดึงดูดแบรนด์ดังเข้าร่วมกว่า 300 แบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมด้านความบันเทิง แฟชั่น ดนตรี และศิลปินชื่อดังอย่างเช่น Snoop Dogg และ Jamiroquai ไปจนถึงด้านเกม 

เสมือนเป็นพื้นที่ที่มีการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายพร้อมกับคอนเทนต์ที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเองส่วนหนึ่งและแบรนด์อื่นๆ อีกส่วนหนึ่ง โดยอนุญาตให้ทุกคนนำคอนเทนต์เหล่านี้ไปสร้างสรรค์และผสมผสานกันอย่างอิสระตามต้องการพร้อมกับได้ค่าตอบแทน ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยดึงดูดผู้ใช้งานเข้าให้มาใน The Sandbox มากขึ้น และเป็นวิธีเพื่อเข้าถึงแฟนๆ และกลุ่มนักสร้างสรรค์ ทำให้พวกเขาเหล่านี้ได้เป็นเจ้าของและสร้างรายได้จากคอนเทนต์ โดยเห็นได้ว่า The Sandbox ค่อยๆ โตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 3.5 ล้านคน และมีเจ้าของที่ดิน (LAND) ที่ไม่ซ้ำกันประมาณ 21,000 ราย 

นอกจากนี้ “สิ่งจูงใจ” หรือรายได้ที่เหมาะสมเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเล่นและใช้งาน ซึ่งใน The Sandbox ผู้ใช้หรือนักสร้างสรรค์จะได้รับรายได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์จากคอนเทนต์ที่ตนเองสร้างและขายบน Marketplace หรือได้รับจากการเล่นเกมและมีส่วนรับกับกิจกรรมแข่งขันต่างๆ ซึ่งเรื่องรางวัลเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจาก The Sandbox เป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการให้รางวัลกับนักสร้างสรรค์ เนื่องจากมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใน ผู้ใช้สามารถนำรายได้ไปลงทุนต่อโดยซื้อที่ดิน (LAND) หรือนำไปใช้พัฒนาประสบการณ์การใช้งานของตน


ภาวะตลาดขาลงส่งผลกับ The Sandbox หรือไม่ และเห็นโอกาสอะไรในช่วงตลาดลักษณะนี้บ้าง? 


The Sandbox เริ่มต้นสร้างในช่วงภาวะตลาดหมีหรือที่เรียกกันว่า Crypto Winter เมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้เช่นกัน ซึ่งในภาวะตลาดก็ไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างผลิตภัณฑ์ให้หยุดลงและแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ The Sandbox ที่ต้องการส่งเสริมผู้สร้างสรรค์ และใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือ NFTs เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่ไม่มีตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยก่อนที่จะไปในเรื่องโทเคน The Sandbox ต้องการมุ่งเน้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุดด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างยาวนานไปจนถึงการขยายชุมชนโดยให้เห็นถึงค่านิยมหลักที่แท้จริงของแพลตฟอร์มก่อนที่จะไปมุ่งเน้นด้านอื่นๆ ต่อไปอย่างเช่น โทเคน จนทุกอย่างกระจายอย่างทั่วถึงในชุมชนและส่งผลให้เกิดโปรเจกต์ใหม่ๆ ขึ้นในระบบนิเวศ จึงตรงกับแนวทางหลักของแพลตฟอร์มที่ต้องการเน้นเรื่องการสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญและสนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศของนักสร้างสรรค์ทั่วโลก และได้มาถึงในประเทศไทยในที่สุด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่หรือโอกาสการทำงานใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างประสบการณ์เสมือนจริง 

ส่วนโอกาสอื่นๆ ในตลาดหมีช่วงที่ผ่านมานี้ ที่เห็นได้ชัดคือกรณีการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงของ NFT ทั้งของสะสมไปจนถึงงานศิลปะที่ค่อนข้างมีจำกัด ซึ่งจะมีการมองหาช่องทางหรือวิธีที่จะมีส่วนร่วมกับชุมชนหรือผู้ถือโทเคนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป และ The Sandbox ก็เป็นหนึ่งช่องทางที่ต้องการสนับสนุนโปรเจกต์ Web 3.0 เหล่านี้ให้เกิดการใช้งานจริงหรือให้เกิดการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มไปปรับใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น Avartar ใน The Sandbox ที่นำไปใช้เล่นได้กับหลากหลายกิจกรรม 

โดย Sebastien คิดว่า The Sandbox จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่พึ่งพาได้สำหรับโปรเจกต์ต่างๆ หากมีความสร้างสรรค์และน่าสนใจจริงๆ ที่ต้องการสร้างสรรค์ใน Metaverse ในช่วงของตลาดหมีนี้ 


ความเคลื่อนไหวของ The Sandbox ช่วงตลาดหมีที่ผ่านมาและในอนาคต

ความเคลื่อนไหวของ The Sandbox ช่วงที่ผ่านมายกตัวอย่างล่าสุดมี Tony Hawk นักเล่นสเกตบอร์ดระดับโลกได้เข้ามาสร้างลานสเกตบอร์ด และ Playboy ที่เข้ามาแนะนำการออกแบบและไลฟ์สไตล์รวมถึงคอลเล็กชันพิเศษ และ CodeGreen ที่เข้ามาสนับสนุนให้เกิดโลกสีเขียวขนาดใหญ่ใน Metaverse จะเห็นได้ว่ามีการผสมผสานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งความบันเทิง เกม หรือโครงการดั้งเดิมที่น่าสนใจอื่นๆ เข้ามาใน The Sandbox อย่างต่อเนื่อง 

นอกเหนือจากนี้ยังมีอัปเดต Alpha Season 3 ที่กำลังมาช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้มาพร้อมกับประสบการณ์ แบรนด์และตัวละครใหม่ๆ จากโปรเจกต์ชื่อดังที่ต้องไม่พลาด ไปจนถึงบริษัทชื่อดังด้านเกมอย่าง Atari ที่จะพาไปพบกับประสบการณ์ใหม่ที่เหนือกว่าการเล่นเกมและที่สำคัญ The Sandbox กำลังพยายามพัฒนาเพื่อเปิด Marketplace ที่อยู่บน Layer2 แบบสมบูรณ์ ซึ่งใกล้เสร็จสิ้นภายในเร็วๆ นี้ รวมถึงไฮไลต์สำคัญที่แฟนๆ หลายท่านรอคอยคือการทำให้ The Sandbox สามารถใช้ได้บนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตได้จากทุกสถานที่ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีแผนผลักดันให้ The Sandbox เกิดการกระจายศูนย์ที่มากขึ้นด้วย DAO 



ทำอย่างไรให้โปรเจกต์ Metaverse หรือเกม NFT มีประสบการณ์ที่น่าสนใจในช่วงตลาดหมี

Sebastien แนะนำว่า เราคงต้องคำนึงถึงสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาสู่ Metaverse และทำให้พวกเขาเข้าใช้งานและใช้งานอยู่ต่อไปหรือกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์เสมือนจริงที่ต้องมีความสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ผู้ใช้ไม่เคยเห็นมาก่อนบนแพลตฟอร์มอื่น จากนั้นให้มุ่งเน้นไปการสร้างการเชื่อมต่อใหม่ๆ กับผู้ใช้เหล่านี้ ให้พวกเขาพบสิ่งที่แตกต่างออกไปจากที่เคยพบบนแพลตฟอร์ม Social Media ทั่วไป หรือแอปพลิเคชันบนมือถือและเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหมายความว่าต้องทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามาใน Metaverse รู้สึกตื่นเต้นและประหลาดใจกับสิ่งใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงบนพื้นที่นี้นอกเหนือจากการมุ่งเน้นที่เชิงพาณิชย์หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน


นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีประเภทใดที่ควรให้ความสำคัญใน Metaverse และภาคธุรกิจต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Metaverse


คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมใน Metaverse โดย Sebastien: ข้อแรก คือผู้นำที่ทำหน้าที่ในด้าน Web3 และ Metaverse ต้องเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเองและให้ความรู้กับคนที่ทำหน้าที่อื่นๆ ในบริษัทเกี่ยวกับความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และทำรายได้ แต่ควรทำให้เกิดคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงกับสิ่งที่สร้าง 

ข้อต่อมา คือให้รางวัลและคุณค่ากับผู้ใช้แทนที่จะใช้ผลประโยชน์หรือดึงคุณค่ามาจากผู้ใช้ และอีกข้อสำคัญ คือควรเปิดรับคอนเทนต์ที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้น (User-Generated Content) โดยที่ไม่ปิดกั้นอยู่เพียงในแบรนด์ของตนเอง หรือควรอยู่ในกรอบความคิดที่เปิดกว้างมากขึ้น อย่างเช่นการสร้างพื้นที่ร่วมกับชุมชนที่ตนเองต้องการและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ NFT ที่เป็นวัฒนธรรมหรือกรอบความคิดแบบเปิด

รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานที่พยายามสร้างสิ่งที่ดีและเหนือขีดจำกัดทางกายภาพหรือทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกความจริง หรือสร้างสิ่งที่เข้าถึงได้เฉพาะคนเพียงไม่กี่คนแต่สามารถทำให้คนนับล้านเข้าถึงได้ 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept