milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
20 เมษายน 2565
ภาษาไทย

DeFi 2.0 คืออะไร

แม้ตอนนี้จะเป็นแค่ช่วงการเริ่มต้นของอุตสาหกรรม DeFi แต่ก็ได้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดและรวดเร็วมากรวมถึงเกิดสิ่งใหม่มากมาย แต่ก็ยังมีจุดที่ยังต้องแก้ไขเพื่อการเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน จนเป็นที่มาของ ‘DeFi 2.0’ ที่กำลังเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ DeFi 1.0 โดยบทความนี้เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ DeFi 2.0 ในมุมมองของทีม Venture Capital จาก SCB 10X 


Article6_1200800.jpg

จุดเริ่มต้นของ DeFi ​2.0 


คนแรกๆ ที่ได้พูดถึง DeFi 2.0 และทำให้เป็นที่รู้จัก คือ Scoopy Trooples จาก Alchemix ที่ได้เห็นว่า DeFi ใหม่ๆ มีประสิทธิภาพดีมากแล้ว ซึ่งมีหลาย Protocol ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ DeFi 1.0 รวมถึงข้อมูล Messari ที่ให้ความหมายกับคำว่า DeFi 2.0 โดยการให้พิจารณาว่ามีอะไรที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาจากสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่ เช่น Capital Efficiency, Liquidity, Governance Treasury Management และ More Yield เป็นต้น หรือสรุปได้ว่า DeFi 2.0 เป็นการพัฒนาและปรับปรุงจากปัญหาหรือจุดบกพร่องต่างๆ ที่พบในแพลตฟอร์ม DeFi 1.0


เรียนรู้อะไรจาก DeFi 1.0 


The Good: ข้อดีที่เกิดขึ้นกับ DeFi 


  • ใช้งานได้ดีจริงและเป็นที่ยอมรับ 
  • มีการแข่งขันกับ Centralized Solutions และบางแง่ยังสามารถเอาชนะ Centralized Solutions ได้ 
  • DeFi ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดใหม่ๆ อย่างเช่น Long-Tail Assets 

The Bad: ข้อเสียของ DeFi ที่ทราบกันดี แต่ยังหาทางแก้ไม่ได้ ได้แก่


  • การ Hacks หรือ Exploits แม้ว่ามี Audit มากขึ้นและวิธีรักษาความปลอดภัยต่างๆ มากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเหล่านี้อยู่ 
  • ค่า Gas ยังสูง ที่ต้องติดตามกันต่อไปจาก ETH 2.0 
  • Forking หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการแย่งลูกค้า ทำให้เกิดการแบ่งสภาพคล่องกัน ซึ่งยังไม่มีวิธีแก้ไขการ Fork
  • Regulation เนื่องจาก DeFi ที่โตอย่างรวดเร็ว ด้าน Regulation ต่างๆ ยังคงตามไม่ทัน และยังไม่เห็นทางออกที่ชัดเจน

The Ugly: สิ่งแย่ๆ ที่เรียนรู้จาก DeFi 1.0 ที่ DeFi 2.0 กำลังเข้ามาแก้ไขสิ่งเหล่านี้ ได้แก่


  • ‘Toxic Liquidity’ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าใน DeFi ไม่มี Loyalty ใดๆ หรือหากมีที่ใดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าคนก็จะไปที่นั่น อย่างเช่น ปรากฏการณ์ “Vampire Attack” ที่ SushiSwap พยายามที่จะดึง Liquidity มาจาก Uniswap
  • ‘Capital Inefficiency’ หรือการใช้เงินทุนที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ อย่างการนำ ETH ไปใช้ค้ำใน Maker DAO ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร
  • ‘Bleeding Out Equity’ นอกจากการแข่งขันกันดึงดูดลูกค้าระหว่าง Protocol แล้วยังต้องแข่งกันดึง Equity ของตนเองไปแจกด้วย หรือสรุปได้ว่าการทำ Liquidity Mining เป็นการเสีย Equity ของ Protocol ให้กับคนทำฟาร์มทั้งหลายที่ไม่ได้เชื่อมั่นในโปรเจกต์ 
  • “Non-Believers” คนที่ถือเหรียญหรือ Tokens ส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อมันในโปรเจกต์มากนัก คนที่ถือมักจะฟาร์ม และ Dump ขายเหรียญทิ้งทำให้คนที่เชื่อมันในโปรเจกต์ได้ผลเสีย รวมถึงทำให้ราคาเหรียญตกลงด้วย 

ดังนั้น นวัตกรรม DeFi 2.0 อาจสามารถเข้ามาแก้ไข 3 องค์ประกอบหลักข้างต้น ทั้ง The Good, The Bad และ The Ugly 


ตัวอย่าง Protocol ที่เรียกได้ว่าเป็น DeFi 2.0: 


  • ‘Olympus DAO’ ที่เป็น Protocol-Owned Liquidity และ Liquidity-as-a-service หรือ Protocol เป็นผู้ถือ Liquidity แทนที่จะเป็นคนที่เข้ามาฟาร์ม ช่วยให้แก้ไขปัญหาเรื่อง Liquidity ที่เข้ามาแล้วออกไป ไปจนถึงป้องกันปัญหา Rug Pull
image (3).png
  • ‘Tokemak’ (Decentralized Market Maker / Liquidity-as-a-service) ต้องการที่จะเป็นผู้ที่ทราบดีที่สุดว่า Liquidity ควรจะไปอยู่ตรงไหนหรือสมควรจะไปทำตลาดที่ไหน ซึ่ง Tokemak ต้องการทำ Market Maker ให้เป็น Decentralized และได้ Reward จากการเป็น Market Maker

image (4).png
  • ‘Alchemix’ เป็น Self-Repaying Loan เพื่อเพิ่ม ‘Capital Efficiency’ ที่ On Top บน DeFi 1.0 โดยนำเหรียญต่างๆ เป็น Collateral ไปฝาก Yield Aggregator ต่างๆ เพื่อให้เกิด Yield และออกมาเป็น alUSD​ (Alchemix USD) ที่สามารถยืมออกมาใช้จ่ายได้และไม่ต้องกังวลว่าจะถูก Liquidate เพราะ Collateral ที่ฝากเอาไว้จะมีการสร้างรายได้อยู่ตลอดเวลา หากรอเป็นเวลานานพอเงินกู้ที่กู้มาก็ไม่ต้องจ่ายคืน 

image (5).png


ถ้าต้องการทำ DeFi 2.0 เป็นของตนเองจะทำอะไรได้บ้าง จากคำแนะนำของ Messari 


  1. Liquidity-as-a-Service - มีวิธีคือไปหาว่ามี Collateral หรือ Assets ของ Protocol ใดบ้างที่อยู่นิ่งๆ ไม่เกิด Yield และให้พยายามเอา Liquidity จากตรงนั้นออกมาให้ได้ หรือการปรับปรุง Liquidity และปลดล็อกสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างผลตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Prism และ Tokemak

  1. Enhancer - พิจารณา Protocol อื่นๆ ว่ามีจุดใดที่ต้องพัฒนา อย่างเช่น มี Capital Efficiency หรือมีโอกาสที่จะเกิด Toxic Liquidity หรือไม่ จากนั้นจึงนำมาปรับปรุงจุดนั้นๆ 

  1. Automator - ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น Nexus จาก Terra ที่จัดการดูแลเกี่ยวกับการกู้ยืมให้ทั้งหมด

  1. Extender - หา Use Case ใหม่ๆ จาก Protocol เก่า อย่างเช่น Alchemix ที่ On Top บน Yern ซึ่ง Alchemix ช่วยเพิ่ม Use Case ให้ด้วยการหาเงินเข้าสู่ระบบได้มากขึ้น

  1. Collateral With Yield - ทำ Protocol เหมือนเจ้าอื่นๆ แต่เป็นการหา Protocol ที่ Collateral ยังไม่สร้างอะไร และนำมาทำให้ Collateral สร้าง Yield ให้ได้ 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept