milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
scb 10x
April 03, 2020

CEO Talk : ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด

 

1583835704.jpg

 

 

ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์

ผู้จัดการใหญ่

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด

 

SCB1OX เครื่องยนต์ใหม่

สร้าง NewGrowth ให้ไทยพาณิชย์

 

 

“Moonshot Mission” เปรียบเสมือนการคิดและทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือมีมาก่อนเพื่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและนำพาองค์กรไปถึงจุดหมายนั้นก่อนใครMoonshotได้ถูกหยิบยกมาเป็นชื่อเรียกภารกิจ ของ SCB1OXบริษัทเทคโนโลยีที่ถูกหมายมั่นไว้ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เกิดขึ้นพร้อมความหวังว่าจะสามารถสร้างการเติบโตแบบใหม่ให้กับธนาคาร (New Growth)

 

จากกระแสของ Disruption ที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ เป็นจุดเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจธนาคาร ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่เกิดขึ้นในระดับอุตสาหกรรม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาธนาคารไทยพาณิชย์เป็นองค์กรหนึ่งที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองกล้าลองผิดลองถูกไปกับการแสวงหาโลกของธุรกิจใหม่มาโดยตลอด เช่นการจัดตั้งบริษัท ดิจิทัลเวนเจอร์หรือ เอสซีบี อบาคัสเพื่อลองทำในสิ่งใหม่ กระทั่งในปี 2561 ได้ผุดโปรเจ็กต์ SCB10X ขึ้น ซึ่งเป็นชื่อแผนกหนึ่งในธนาคารมุ่งเน้นหยิบงานจากห้องทดลองมาสร้างการเติบโตของธุรกิจธนาคารให้ก้าวกระโดด

 

ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับบทบาทประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) ที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงโลกปัจจุบันกับโลกของอนาคต

 

2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงของการเรียนรู้ของธนาคารว่า การทำธุรกิจในโลกของดิจิทัลควรทำอย่างไรบางอย่างที่ล้มเหลวก็นำมาเป็นบทเรียนเพื่อปรับปรุงและแก้ไข และเมื่อได้ตกผลึกจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้เริ่มจัดโครงสร้างใหม่ โดยนำเรื่องดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทำเอาไว้มารวมกันเป็น SCB10X บริษัทเทคโนโลยีที่จะเป็น New Growth ของธนาคาร
 

จัดโครงสร้างโฮลดิ้ง

แกนหลัก SCB 1OX

ดร.อารักษ์กล่าวว่า โครงสร้างของ SCB 1OX จะอยู่ในรูปแบบของโฮลดิ้งคอมปะนี (Holding Company) ที่จะเข้ามาดูแลบริษัทด้านเทคโนโลยีที่อยู่ในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ทั้งหมดหน้าที่ของ SCB 1OX จะมุ่งเน้นการสร้างขีดความสามารถใหม่ทางด้านเทคโนโลยีผ่านการลงทุนที่สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Invest in Exponential Opportunities) ผ่าน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่

  1. Venture Builder (VB) คือ การลงทุนร่วมสร้างธุรกิจประเภทเทคสตาร์ตอัพใหม่ๆ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในอุตสาหกรรมธนาคาร และเป็นตัวขับเคลื่อนหลักทางธุรกิจของบริษัทในการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดย SCB 1OX จะให้การสนับสนุนผู้ที่มีความคิด หรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่มองเห็นอนาคต ทั้งด้านการเงินเพื่อทดลองจนไปถึงจุดที่บริษัทสามารถสเกลและระดมทุนจากภายนอกได้

นอกจากนี้ ยังร่วมสร้างธุรกิจผ่านการให้การสนับสนุนผู้มีความสามารถ (Talent) ทีมงาน การเข้าถึงเทคโนโลยี (Tech Access) การนำเสนอธุรกิจสู่ตลาด (Go-to Market) รวมถึงแชร์เซอร์วิสอื่นๆ เพื่อให้เจ้าของไอเดียสามารถโฟกัสการสร้างธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และถ้าเจ้าของไอเดียหรือผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถสร้างไอเดียจนสำเร็จ จะมีโอกาสร่วมเป็นเจ้าของบริษัทด้วย (Share Ownership)

  1. Strategic Investment and Partnership คือ การร่วมลงทุนทางยุทธศาสตร์ และการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทด้านเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงมุ่งหาโอกาสในการสร้างธุรกิจด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ

“พันธมิตรที่เคยลงทุนไว้ เช่น Gojek ธนาคารมีความพร้อมจะช่วยให้เติบโตในประเทศไทยในฐานะที่เป็น Financial Partner โดยจะช่วยเรื่องธุรกรรมการเงินที่เกิดขึ้นข้างหลัง และในอนาคตเมื่อ Gojekทำธุรกิจสินเชื่อธนาคารก็จะเป็นพันธมิตรในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ต้องสร้างพันธมิตรให้มากกว่าเดิมและขยายในแนวกว้างเพื่อก่อประโยชน์จากการได้เป็นพันธมิตรให้เกิดขึ้นสูงสุด”

  1. Venture Capital (VC)คือ การลงทุนในบริษัทเทคคอมพานี และสตาร์ตอัพทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนที่สามารถช่วยให้บริษัทหรือ  สตาร์ตอัพเหล่านั้นเติบโตยิ่งขึ้น

ดร.อารักษ์กล่าวว่า ภารกิจ Moonshot ของ SCB10X ได้เริ่มต้นด้วยการปรับวิธีการทำงานของบริษัทลูกด้านเทคโนโลยีให้เป็นแบบ Startup โดยจะให้เติบโตด้วยการระดมทุนเอง ซึ่งปัจจุบัน มี 3 บริษัทที่เดินหน้าไปแล้วคือดิจิทัลเวนเจอร์ส (Digital Ventures) ที่โอนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีและStartupให้กับ SCB10X และหันมารุกธุรกิจด้าน Blockchain Innovation เต็มตัวเพราะเล็งเห็นถึงโอกาสที่มีมหาศาล โดยมี อรพงษ์ เทียนเงิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด

 

ส่วน เอสซีบี อบาคัส (SCB Abacus) ที่มี ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด จะเดินหน้าบริษัทด้าน Data Tech ที่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) โดยทั้งสองบริษัทเทียบเท่า Startup ระดับ Pre Series A โดยในปลายปีนี้ทั้ง 2 บริษัทจะเปิดระดมทุนเพิ่มเติมจากภายนอกด้วย

 

“บริษัทลูกจะมีเงินตั้งต้นที่ให้ไว้ส่วนหนึ่ง โดยวัดความสำเร็จว่าจะต้องเติบโต และสามารถระดมทุนเองจากภายนอกให้ได้ ซึ่งทั้งดิจิทัลเวนเจอร์และอบาคัส ที่มีเงินตั้งต้นที่ใส่เอาไว้ก่อนหน้านี้และเงินก้อนนั้นจะอยู่ในถึงสิ้นปีนี้ ดังนั้นทั้งสองบริษัทต้องระดมทุนด้วยตัวเอง หาทางสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตัวเอง“

 

ด้านน้องเล็กที่เพิ่งจะเริ่มต้นคือ มันนิกซ์ (MONIX) ที่เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์และ Abakus Ltd.จากประเทศจีน กับเป้าหมายที่จะสร้างการเติบโตในธุรกิจ Digital Lending สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยใช้บริการธนาคาร(Unbank) ที่ส่ง ถิรนันท์ อรุณวัฒนกูลไปเป็น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด โดยมันนิกซ์มีอิสระในการทำงาน ซึ่งจะเริ่มให้บริการได้จริงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 โดยจะมีแอปพลิเคชั่นเป็นของตัวเอง มีระบบติดตามหนี้เอง เจาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารทางการเงิน แต่จะวิเคราะห์ด้วยพฤติกรรมต่างๆของลูกค้า ซึ่งพันธมิตรชาวจีนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้อยู่แล้ว

 

“SCB10X ยังมีบริษัทที่กำลังอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น หาก 3 บริษัทลูกเป็นยานอวกาศก็เปรียบได้ว่าถูกยิงออกจากฐานไปแล้ว ส่วนบริษัทใหม่ต่อไปก็กำลังอยู่ระหว่างต่อโครงสร้างยาน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นง่ายกว่าการสร้างใหม่เลย คือการทำบริษัทร่วมทุน ซึ่ง SCB10X มีแผนจะตั้งบริษัทร่วมทุนอีก 2 รายในปี 2563 นี้ด้วยเช่นกัน”

 

 

1583835589.jpg

 

 

สร้าง New Growth

มุ่งสู่ระดับภูมิภาค

ดร.อารักษ์ กล่าวว่า SCB10X จะสร้างการเติบโตของตัวเองเป็นเสมือนNew Growth ของธนาคาร ด้วยหลักคิดใหม่ทำใหม่ ที่ไม่ได้ดูแค่ผลประกอบการระยะสั้นเช่นธุรกิจแบบดั้งเดิมแต่จะมุ่งหมายผลระยะไกล โดยมีเงินทุนก้อนแรก 20,000 ล้านบาท ซึ่งรวมเงินลงทุนเดิมที่เคยลงทุนไปแล้วบางส่วนราว 4,000-5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามขับเคลื่อนด้วยแนวคิด Moonshot ที่อาจจะมีความเสี่ยงแต่ก็เห็นโอกาสสำเร็จได้เยอะมาก โดยอาจจะใช้เวลา 5-7 ปีถึงจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นจากการเดินหน้าเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

 

“กรณีศึกษาที่เห็นถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้เรียนรู้มาจาก ผิงอัน บริษัทธุรกิจจากจีนที่มีธุรกิจดั้งเดิมทำประกันชีวิตและการลงทุน แต่วันนี้ผิงอันกลายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและยังสามารถขายผลิตภัณฑ์เดิมใน Ecosystem ใหม่ ที่มาจากการผนึกธุรกิจเดิมมาสร้าง Ecosystem ด้านไลฟ์สไตล์และสุขภาพขึ้นมาก่อนจะนำผลิตภัณฑ์ของตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้น”

 

ทั้งนี้ ภาพการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับธุรกิจธนาคารในประเทศไทย วันนี้ธุรกิจธนาคารไม่เหมือนในอดีตโดยเฉพาะมุมมองของลูกค้าที่มีต่อธนาคารก็เปลี่ยนไป ลูกค้าไม่ต้องการให้ธนาคารนำเสนอสินเชื่อแบบเก่าๆแต่ยังคงมีความต้องการทางการเงินอยู่หรือกระทั่งลูกค้าอาจจะไม่ได้ตั้งใจทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ยังมีธุรกรรมการเงินเข้าไปสอดคล้องอยู่ในวิถีชีวิต ดังนั้นธนาคารต้องพาตัวเองเข้าหาลูกค้าด้วยวิธีที่ต่างไปจากเดิม ต้องพยายามหาทางเข้าไปอยู่ตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของลูกค้าแล้วถึงจะสานต่อในอนาคต

 

ดร.อารักษ์กล่าวว่า ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังจากที่ได้เรียนรู้จากการ Transformationโดยปัจจุบันเป็นการเดินหน้าธุรกิจภายใต้ 2 โครงสร้างคือ รูปแบบช่องทางกายภาพทั้งสาขาหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆและรูปแบบดิจิทัลที่ธนาคารยังสามารถรักษาสมดุลทั้งสองรูปแบบได้อย่างสมบูรณ์

 

“มีลูกค้าจำนวนมากย้ายมาอยู่บนช่องทางดิจิทัลและไม่ใช้สาขาเลย แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องการเข้ามาใช้ช่องทางสาขาอยู่ทำให้ธนาคารยังไม่สามารถจะปิดแบบใดแบบหนึ่งได้ อย่างไรก็ดีสิ่งที่เกิดขึ้นจากการพยายามเปลี่ยนตัวเองคือ ในเรื่องต้นทุนต่อรายได้เฉพาะช่องทางดิจิทัลจะเห็นว่าปรับตัวดีขึ้นชัดเจน หากสามารถย้ายลูกค้ามาอยู่บนดิจิทัลมากขึ้นก็จะยิ่งส่งผลดีกลับมา”

 

ดร.อารักษ์กล่าวว่า ผลจากเม็ดเงินที่เคยลงทุนไป 30,000-40,000 ล้านบาท เป็นเหมือนการสร้างอุปกรณ์ต่างๆให้มีเครื่องมือที่พร้อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และหากนำสิ่งที่มีมาต่อยอดจะนำมาสู่รายได้ของธนาคารที่ดีขึ้นต่อไป

 

อย่างไรก็ดีในการเดินหน้าธุรกิจรูปใหม่นั้นจะมุ่งเน้นในระดับภูมิภาคเป็นสำคัญ บริษัทลูกของ SCB 10Xจะต้องมองไปถึงการขยายธุรกิจได้ในระดับภูมิภาคไม่ใช่แค่ในประเทศ ซึ่งการเติบโตนอกประเทศไทยเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในยุคนี้ เพียงแต่วิธีการที่จะเข้าไปในภูมิภาคนั้นอาจจะแตกต่างกันไป ธนาคารไม่จำเป็นต้องไปเริ่มต้นสร้างใหม่แต่ใช้ดิจิทัลที่มีอยู่แล้วหยิบออกมาใช้ ด้วยรูปแบบที่เปิดกว้าง

 

“ทั้ง SCB และ SCB10X ต่างเดินหน้าธุรกิจของตัวเอง ในฝั่งของ SCB จะใช้วัตถุดิบต่างๆที่ได้จากการลงทุนและเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเปลี่ยนจากธนาคารแบบเดิมเป็นดิจิทัลแบงก์มากขึ้น ส่วน SCB10X จะก้าวล้ำกว่าในเชิงรูปแบบธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดแต่ที่สุดทั้ง SCB และ SCB10X จะแสวงหาสิ่งที่สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับ SCB Group ในอนาคต”

RELATED NEWS

thumb 0
scb 10x
April 22, 2024
SCB 10X จับมือ Bloomberg เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2024” ปีที่ 5
thumb 1
scb 10x
December 06, 2023
SCBX และ SCB 10X คว้า 3 รางวัล จากเวที TMA Excellence Awards 2023 ตอกย้ำความเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน
thumb 2
scb 10x
May 03, 2023
SCB 10X Partners with Bloomberg for Fourth REDeFiNE Tomorrow Virtual Summit
thumb 3
scb 10x
December 01, 2022
SCB 10X opens new web3 collaborative space in Bangkok: Exclusive
thumb 4
scb 10x
August 04, 2022
Venture Arm of SCB Bank Taps New CEO to Lead Crypto Investments
thumb 5
scb 10x
June 30, 2022
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2022” ปีที่ 3 ขนทัพสุดยอดกูรูด้าน DeFi และ Web 3.0 ระดับโลกมาให้ความรู้และชี้โอกาสในการเติบโตเกี่ยวกับ DeFi และ Web 3.0 ในช่วงตลาดผันผวน
thumb 6
scb 10x
March 02, 2022
SCB 10X บุกโลก Metaverse เตรียมเปิดตัวสำนักงานใหญ่บน The Sandbox 11 มี.ค. นี้
thumb 7
scb 10x
February 28, 2022
SCB 10X องค์กรแรกจากไทยขึ้นแท่น CVC ระดับโลก คว้าอันดับ 2 ใน Global CVC ที่ลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน Fintech จัดอันดับโดย CB Insights
thumb 8
scb 10x
July 08, 2021
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit REDeFiNE TOMORROW 2021 ปีที่ 2 รวมกูรูด้าน DeFi และ Digital Asset ระดับโลก
thumb 9
scb 10x
January 28, 2020
เจาะลึกยุทธศาสตร์การตั้งบริษัท SCB 10X การจัดทัพดิจิทัลครั้งใหม่ของ SCB

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept