milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
29 กรกฎาคม 2564
ภาษาไทย

ตลาดทุนรูปแบบใหม่ กับ ‘โอกาส’ ของผู้ประกอบการและผู้ลงทุน

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คุณมุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer จาก SCB 10X ได้เข้าร่วมเสวนาในงาน ‘SEC Capital Market Regional Seminar 2021’ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ร่วมเสวนากันในหัวข้อ “ตลาดทุนรูปแบบใหม่เพื่อโอกาสสำหรับผู้ประกอบการและผู้ลงทุน” บน Facebook Live ทาง Page สำนักงาน กลต.


‘SEC Capital Market Regional Seminar 2021’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในส่วนของภูมิภาค ให้เห็นความสำคัญของงานวิชาการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านตลาดทุนรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในภาคการเงินการลงทุนมากขึ้น


สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายสาขาในแวดวงตลาดทุน ได้แก่ 


  • คุณมุขยา พานิช Chief Venture and Investment Officer บริษัท SCB 10X
  • คุณอนุรักษ์ บุญแสวง นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จและเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ 
  • คุณศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย 
  • คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน ก.ล.ต.

โดยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองต่างๆ ทั้งเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลและ Decentralized Finance (DeFi) แนวคิดหรือหลักการในการพิจารณาลงทุน 

รวมถึงการระดมทุนรูปแบบใหม่ที่คาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เช่น การระดมทุนผ่านคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) และ Real Estate-Backed ICO 

SCB-1.png


 

เรื่องใหม่และโอกาสใหม่ที่ควรรู้ในตลาดทุนของช่วงระยะเวลานี้

 

คุณมุขยา ได้เสนอเรื่องของ New Normal Business ต่างๆ เช่น Digital Payment Digital Assets Blockchain และ DeFi รวมถึงเรื่องของ Future of Work and Lifestyle ที่คนต่างให้ความสนใจมากในช่วงนี้ เนื่องจากต้องปรับตัวและปรับสมดุลชีวิตมาพึ่งพาด้านดิจิทัลมากขึ้น นอกจากนี้ E-commerce หรือ Social Commerce ได้รับความนิยมมากขึ้น นับตั้งแต่สมัยที่เกิดโรค SARS จนทำให้มี E-commerce เกิดขึ้นมากในประเทศจีน มาจนถึง COVID-19 ที่คนต้องปรับวิถีชีวิตหรือใช้เวลาอยู่บ้านมาก จึงเกิดธุรกิจด้าน Social Commerce ไปจนถึง Fullfilment Logistics ที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนสิ่งที่ SCB 10X สนใจเป็นพิเศษคือเรื่อง DeFi และ Digital Assets ซึ่งมีส่วนคล้ายและมีโอกาสเข้ามา Disrupt การเงินแบบดั้งเดิม

 

ด้านคุณจอมขวัญ ได้นำเสนอเรื่องเครื่องมือการระดมทุนผ่านช่องทางคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) และ Real Estate-Backed ICO ที่ช่วยตอบโจทย์ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการและผู้ลงทุนยุคดิจิทัล การระดมทุนทั้งสองประเภทนี้มีกฎเกณฑ์ที่น้อยกว่า ต้นทุนต่ำ สามารถระดมทุนจากคนจำนวนมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีขนาดเล็ก

 

คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding เป็นช่องทางการระดมทุนของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทเหล่านี้สามารถไปติดต่อกับทาง Portal ที่ปัจจุบันมี 7 รายด้วยกัน การระดมทุนผ่าน Crowfunding ทั้งการออกเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ พบว่าประสบความสำเร็จมากนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นตันมา โดยสามารถระดมทุนได้ประมาณ 400 ล้านบาท และมีกว่า 60 กว่าบริษัทที่สามารถทำได้สำเร็จในช่องทางนี้ 

 

Real Estate-Backed ICO หรือ โทเคนดิจิทัล ที่มีอสังหาริมทรัพย์ หรือกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สินอ้างอิง ผู้ที่ถือโทเคนจะได้รับผลตอบแทนตามที่ผู้ออกโทเคนได้กำหนด โดยผู้ที่สนใจไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่จดทะเบียนหรือไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ สามารถติดต่อผ่านทาง ICO Portal ที่ปัจจุบันมีอยู่ 4 รายด้วยกัน

 

ทางด้านคุณอนุรักษ์ ได้เสนอเรื่องของกระแสที่ให้นักลงทุนกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ใช่การลงทุนทางเลือกอีกต่อไป เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่างภายในประเทศ รวมถึงตอนนี้นักลงทุนไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและมีความพร้อมจะออกไปลงทุนต่างประเทศ และหากมีนักลงทุนเหล่านี่เพิ่มมากขึ้นและประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะได้นำเงินกลับมายังประเทศ

 

นอกจากนี้ได้ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์และนอร์เวย์ ซึ่งมี ‘กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ’ (Sovereign Wealth Funds: SWFs) เป็นกองทุนที่นำผลตอบแทนมาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยเราควรมี 

 

ส่วนเรื่องใหม่ๆ ในมุมมอง คุณศุภกฤษฎ์ เป็นเรื่อง Digital Assets ที่ผู้คนอาจยังไม่มีความเชื่อมั่นมากเพราะดูเหมือนเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ จึงได้เปรียบเทียบและย้อนถึงพัฒนาการของ ‘อินเทอร์เน็ต’ ที่ในตอนแรกไม่มีใครทราบว่าจะนำพาความสะดวกสบายมาให้กับเราได้อย่างมากมายในตอนนี้ โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และเปรียบเทียบว่ายุคของอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมาเป็นยุคของ Internet Of Information ที่ทุกคนส่งข้อมูลหากัน ส่วนยุคของ Digital Assets เป็นยุคที่เราส่งมูลค่าหากันได้ และเมื่อสามารถส่งมูลค่าหากันได้ ก็สามารถเปลี่ยนผ่านมือความเป็นเจ้าของให้อีกคนได้ ดังนั้น เมื่อเห็นคุณสมบัติดังกล่าว หากใครมีไอเดียที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้งานในปัจจุบัน จะสามารถต่อยอดนวัตกรรมได้อีกมากมาย หรือใครที่มีทักษะก็สามารถระดมทุนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้



มุมมองของผู้ลงทุนกับการระดมทุนรูปแบบใหม่ๆ 

 

คุณมุขยา กล่าวในมุมของ SCB 10X ที่เน้นลงทุนใน Startup โดยมี 5 แนวทางชี้วัดสำหรับการประเมิน Startup ต่างๆ ที่จะลงทุน โดยอย่างแรกดูที่ ‘Market Size’ ที่ต้องมีความพยายามในการหา Stratup ตัวที่ดีที่สุดที่จะให้ผลตอบแทนมากที่สุดและมากพอที่จะครอบคลุมกองทุนทั้งหมด หรือที่เรียกว่ากฎ ‘Power Law’ ที่เหล่า VCs ต่างปฏิบัติกัน ซึ่งการจะหา Stratup ที่ดีที่สุดได้ Markert Size โดยรวมจะต้องใหญ่ และจะต้องเป็น Statrup ที่อยู่ในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก

 

อย่างที่สองเป็นเรื่องของ ‘ทีม’ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะต้องสามารถแบ่งหน้าที่ไปทำในส่วนต่างๆ ที่ให้ธุรกิจไปต่อได้ รวมถึงการหา Co-Founder ที่มีประสบการณ์และความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือเคยทำงานร่วมกันมาก่อน 

 

อย่างที่สามเป็นเรื่อง Pain Point ที่ต้องมีความแตกต่างจะที่อื่น และต้องมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมของตนเป็นอย่างดีเพราะจะทำให้เกิดความแตกต่าง นอกจากนี้เป็นเรื่องของ Revenue Model และ Scalability ที่มีความสำคัญรองลงมา

 

ด้านคุณอนุรักษ์ ให้ความเห็นถึงโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ โดยหลักการของการลงทุนที่ทุกคนต่างต้องการได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ต้องมองเรื่องความเสี่ยงด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ชนิดใดหากวิเคราะห์แล้วได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจและความเสี่ยงไม่มาก ก็ถือว่าตอบโจทย์ 



ผู้ประกอบการใหม่ที่อยากได้เงินลงทุนจาก Venture Capital (VC) ต้องเตรียมพร้อมอย่างไร

 

คุณมุขยา ได้ให้ความเห็นว่า ต้องดูว่า VC นั้นๆ มีการลงทุนแบบใด โดยยกตัวอย่างหากเป็น Corporate VC อย่าง SCB 10X จะลงทุนโดยมองทั้ง Strategic Return และ Financial Return รวมถึงมองว่าหากเป็น Startup ที่สามารถต่อยอดจาก Bank ได้ก็จะเป็นอะไรที่ดี แต่หากเป็น VC แบบอื่น ที่เน้นเรื่องของ Financial เป็นหลัก ก็จะต้องมี Business Model รวมถึงแนวทาง 5 อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นที่สามารถทำให้ Startup เติบโตใหญ่ขึ้นไปอีกได้ และอย่าโฟกัสแค่ในตลาด Local ให้ดูไปถึงระดับ Regional หรือไปถึงระดับ Global



คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัลที่อยู่ในสายตาของนักลงทุน โอกาสมาพร้อมความเสี่ยง

 

คุณศุภกฤษฎ์ ได้เสนอถึงวิวัฒนาการด้าน Digital Assets ตั้งแต่การเริ่มต้นของ Bitcoin ที่เสมือนเป็นการระดมแรง และยุคของ ETH ที่ใช้คอนเซปต์ Crowdfunding ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ในช่วงปี 2013-2014 และสร้างโปรเจกต์จนขึ้นเป็น Mainnet ได้ในปี 2015 มาจนถึงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่ DeFi เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่วิถีการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง นักลงทุนในยุค DeFi จะมีผลิตภัณฑ์ออกมาก่อนและเสนอสิ่งที่เกิดประโยชน์กับนักลงทุน นักลงทุนที่อยู่ในตลาดมานานมีความตระหนักในการลงทุนมากขึ้น ซึ่ง DeFi ไม่ได้ถูกกำกับดูแลหรือถูก Regulated ซึ่งโอกาสมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ ดังนั้น นักลงทุนต้องมี Money Manangement ที่เป็นการบริหารจัดการกับตนเอง กับใจตนเอง และเงินของตน เพราะฉะนั้นก่อนที่จะไปลงทุนต้องหาตนเองให้เจอก่อนพร้อมกับตั้งเป้าหมาย รวมถึงควรศึกษาให้เข้าใจก่อน และต้องตระหนักถึงความเสี่ยงหรือสามารถยอมรับกับความเสี่ยงที่จะตามมาได้ โดยเปรียบเทียบ DeFi คล้ายกับวงจรของอินเทอร์เน็ตที่มีวันที่เกิดฟองสบู่แตกได้ อย่างเช่นในช่วงวิกฤตฟองสบู่ดอทคอม (Dot-Com Bubble) อย่างไรก็ตาม คุณศุภกฤษฎ์ ให้ความเห็นว่า DeFi ยังอยู่ในช่วงของการทดลองอยู่ แต่เห็นการเติบโตและนวัตกรรมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

สรุปคือต้องการให้เห็นถึงการเปลี่ยนในเรื่องการระดมทุน โดยในมุมของนักลงทุนต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่คู่กับโอกาส ไม่ควรเห็นแต่ผลตอบแทนจนไม่เห็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต



คำแนะนำถึงผู้สนใจลงทุน Digital Assets 

 

คุณจอมขวัญ ได้ยกตัวอย่างประเด็นข่าวที่ได้มีการทำแบบสำรวจที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งพบว่า 45% ของหนุ่มสาวชาวอังกฤษมีการลงทุนในคริปโตโดยที่เป็นการลงทุนประเภทแรกหรือไม่ได้ผ่านการลงทุนในหุ้นมาก่อน และ 50% ของผู้ที่ลงทุนในคริปโตเป็นการกู้เงินมาลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางการของประเทศอังกฤษค่อนข้างให้ความเป็นห่วง

 

ส่วนในประเทศไทยด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในภาพรวมยังไม่มีการทำสำรวจ แต่ในตอนที่พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลได้ออกมาเมื่อปี 2561 มองว่าคนที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ส่วนใหญ่เป็นแฟนพันธุ์แท้ และพบว่าผู้ซื้อขายในตลาดนี้เติบโตแบบ ‘ก้าวกระโดด’ นับตั้งแต่ปี 2561 มาจนถึงปัจจุบัน

 

สิ่งที่ต้องการฝากถึงผู้ที่สนใจซื้อขายในสินทรัพย์ดิจิทัล คือควรศึกษาอย่างรอบคอบให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน และวิเคราะห์ถึงความสามารถในการรับความเสี่ยง การแบ่งพอร์ตและการจัดสรรเงินลงทุนมีความสำคัญ รวมถึงตรวจสอบทั้งผลิตภัณฑ์หรือผู้ประกอบการว่าอยู่ภายใต้การดูแลของกลต. หรือไม่ 

 

อย่างไรก็ตาม ข้อดีของ Blockchain และ DeFi อย่างการไม่มีตัวกลาง ความโปร่งใส และเข้าถึงง่ายได้ตลอดเวลา ที่ทำให้มีความน่าสนใจกับผู้ลงทุน แต่นักลงทุนต้องมองสองด้านทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งหากมีตัวกลางช่วยกรองก็จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจาก DeFi ก็ยังมีความเสี่ยงต่างๆ  อย่างเช่นช่องโหว่ใน Smart Contract ที่สามารถถูกโจมตีได้  



DeFi กับโอกาสในการนำมาใช้ในภาคธุรกิจจริง

 

สำหรับคุณมุขยา ให้ความเห็นว่าทาง SCB 10X อยากนำ ​DeFi มาเชื่อมกับ Traditional Finance โดยได้มีการเริ่มดูว่ามี Disruptive Tech ด้านใดบ้างที่จะเข้ามา Disrupt การธนาคาร จึงได้เข้ามาดูและศึกษาด้าน Blockchain และ DeFi ซึ่งพบว่า DeFi มีทุกอย่างที่ Traditional Finance มี ดังนั้น หากไม่เข้าไปศึกษาทำความเข้าใจและหาพาร์ทเนอร์ รวมถึงการนำมาใช้ ก็อาจส่งผลกระทบ ได้ในอนาคต ส่วนลักษณะการเข้าไปลงทุนใน DeFi จะมีสองแบบ คืออย่างแรกดูว่าส่วนใดที่สามารถนำมาต่อยอดกับ Bank ได้ และอีกส่วนคือดูเรื่อง Infrastructure ของ DeFi ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการเริ่มต้น นอกจากนี้ จะมีโปรเจกต์ที่พยายามนำ Institutional DeFi เข้ามาให้ Institution หรือ Financial Services Fintech ได้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น Compound Treasury ที่ให้ผลตอบแทนแบบ Fixed Interest Rate 4% ต่อปี และ Aave Pro ซึ่งเสมือนเป็น KYC Pool ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน 

 

สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการทำความเข้าใจเรื่อง DeFi ต้องไม่พลาดงาน REDeFiNE TOMORROW 2021 งาน Virtual Summit ด้าน DeFi จัดโดย SCB 10X ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา และครั้งนี้จัดกัน 2 วันเต็ม กับเหล่า Speaker ผู้เชี่ยวชาญด้าน DeFi ชั้นนำจากทั่วโลก ด้วยความตั้งใจที่จะเผยแพร่ให้ความรู้และให้ผู้คนตระหนักถึงความน่าสนใจของโลก DeFi สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานติดตามรับชมงานย้อนหลังได้ที่


วันที่ 22 กรกฎาคม 2021

REDeFiNE TOMORROW 2021 l DAY 1 (Part1)

REDeFiNE TOMORROW 2021 l DAY 1 (Part2)


วันที่ 23 กรกฎาคม 2021

REDeFiNE TOMORROW 2021 l DAY 2 (Part1)

REDeFiNE TOMORROW 2021 l DAY 2 (Part2)

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept