milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
03 มีนาคม 2564
ภาษาไทย

DeFi ต้องพัฒนาอย่างไร จึงจะสามารถปลุกกระแสและกลายเป็น Mainstream ได้

อุตสาหกรรม DeFi เกิดโปรเจกต์ใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มขีดจำกัดให้คนส่วนใหญ่ได้เข้ามาใช้งานมากขึ้น แล้ว DeFi ยังมีอะไรที่ควรเร่งพัฒนา?

โดย Kain Warwick ผู้ก่อตั้ง Synthetix และ Arthur Cheong ผู้ก่อตั้ง และ Portfolio Manager แห่ง DeFiance Capital ได้มาแชร์ความคิดเห็นและมุมมองต่อสิ่งที่ DeFi ควรพัฒนา จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

1200x800 How De-Fi Needs toEvolve to Attain Mainstream Adoption 02.png


รู้จักกับ Synthetix หนึ่งใน DeFi Protocol ชั้นนำระดับโลก


Synthetix ก่อตั้งโดย Kain Warwick เป็นหนึ่งใน DeFi Protocol สำคัญสำหรับการ Trading ตราสารอนุพันธ์ใน DeFi เปิดช่องทางให้คนสามารถเข้าถึงหลักทรัพย์ได้กว้างขวาง ช่วยให้ใครก็ตามหรืออยู่ที่ใดก็ตามสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ทองคำ เงิน หรือน้ำมัน ได้ในรูปแบบเหรียญ (Token) และนับว่าเป็น Protocol สำคัญที่ช่วยให้ Ecosystem ของ DeFi เกิดการเติบโตอีกด้วย 



ปัญหาคอขวดและสิ่งที่ยังต้องพัฒนาเพื่อการเติบโตของ DeFi


Kain ได้เล่าย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ตลาด DeFi ยังเป็นเรื่องใหม่อยู่และยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก อย่างเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่ในตอนนี้ผู้คนสามารถทำการซื้อขายคริปโตได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สามารถเข้า Cryptocurrency Exchange อย่าง Binance เพื่อซื้อขาย Bitcoin ได้เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งต่างกับช่วงปี 2015


Kain เชื่อว่า 99% ของผู้ที่เข้ามาใช้งาน DeFi เป็นผู้ที่ใช้งานคริปโตอยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ใช้งานเหล่านี้ได้เห็นความเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้นของ DeFi จึงทำให้ก้าวเข้ามามากมาย แต่ทั้งนี้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีคนกลุ่มใหม่ๆ เข้ามาเยอะมากนัก และคิดว่า DeFi ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอและยังต้องการอีกหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น Kain เสริมอีกว่า ในขณะที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานนั้น ควรจะเผชิญหน้ากับปัญหาคอขวดโดยตรง เพื่อที่จะตระหนักได้ว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงนั้น แล้วจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น



คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องกฎหมายและสถาบันการเงินกระแสหลัก ในการเข้ามาร่วมมือกันกับ DeFi 


Kain บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เพราะในช่วงที่เริ่มต้นไม่ได้มีกฎหมายมารองรับ และทางกฎหมายไม่ได้ให้นิยามของหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับคริปโตที่ชัดเจน โดยเขาคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีคนให้ความรู้กับเหล่า Regulator และผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอย่าง Smart Contracts หรือ Lending Protocols จากนั้นเมื่อถึงเวลาก็สามารถมาพบกันได้ที่ตรงกลาง และออกแบบโครงสร้างระหว่างด้านการใช้งาน DeFi และด้านกฎหมายได้ในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อกัน 


แต่ในขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่ง Kain บอกว่าเทคโนโลยีนี้สามารถทำให้ผู้คนสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเรื่องกฎหมาย เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถหยุดได้เนื่องจากตัวของ Protocol เอง และเขาได้ยกตัวอย่างถึงแพลตฟอร์ม DeFi ที่ไม่ได้มีกฎหมายมารองรับ เทียบกับสถาบันการเงินที่ต้องพึ่งพากฎหมายมากมาย ซึ่งในแง่มุมนี้ DeFi ไม่จำเป็นต้องไปออกแบบโครงสร้างหรือให้ความรู้กับภาคกฎหมาย 



กุญแจสำคัญที่ทำให้คนที่ไม่เคยใช้คริปโตเข้ามาใช้งาน DeFi 


Kain กล่าวว่า การที่จะให้คนกลุ่มนี้เข้ามาใช้ DeFi ยังค่อนข้างเร็วเกินไป แม้จะเห็นแนวโน้มที่มากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ตามที่กล่าวไป คือเรื่องปัญหาคอขวดของ DeFi ซึ่งอยู่บน Ethereum 1.0 โดยหลายครั้งในสถานการณ์ที่มี Demand สูงมากจะเห็น Curve ของความสนใจที่พุ่งขึ้นมาแต่แล้วสุดท้ายก็กลับลงไปใหม่ ซึ่งยังไม่มีความต่อเนื่อง ดังนั้น การแก้ปัญหาคอขวดเป็นกุญแจสำคัญให้คนเข้ามาใช้งานมากขึ้น



คิดอย่างไรกับ “CeDeFi” หรือการใช้ Centralized Finance เพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อผู้ใช้กับ Decentralized Finance


การใช้ CeDeFi ที่เสนอโดย Centralized Exchange หรือการใช้ Centralized Finance เพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อผู้ใช้งานกับ Decentralized Finance เป็นอีกหนึ่งช่องทางหรือโอกาสทางการตลาดที่น่าสนใจ โดย Kain คิดว่าหากเราไม่สามารถสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีได้ ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาทำโดยรวมแล้วปรับให้ผ่านตัวกลาง ดังนั้น หากมีใครที่ทำให้สามารถเข้าถึง DeFi ได้ง่ายขึ้นก็ย่อมเป็นเรื่องดี เพราะทำให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานได้สะดวก ซึ่งเป็นอีกกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่เคยใช้งานคริปโตหันมาใช้ DeFi มากขึ้น 



Ethereum 2.0 จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้งาน DeFi อย่างไร


Kain ให้ความเห็นว่าการเดิมพันกับรายละเอียดของการใช้งาน Ethereum 2.0 สำหรับ DeFi ยังไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นในตอนนั้น เพราะจะมีความแตกต่างในเชิงทฤษฎีที่ควรรอให้มีงานวิจัยออกมาก่อน โดยในตลาดเองก็เก่งในเรื่องของการแก้ปัญหาอยู่แล้ว และเขาคิดว่าเรามีโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่และเปิดกว้างมากสำหรับใครก็ตามที่เข้ามาแก้ไขปัญหา หรือเปรียบได้ว่า Ecosystem สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ทั้งยังมีวิธีการแก้ปัญหาอีกหลายวิธีให้พิจารณา อาจจะไม่ใช่แค่เพียง Layer 2 เท่านั้น ก็ต้องรอติดตามกันว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร

 


สามารถติดตามบทความไฮไลท์จากงานสัมมนาออนไลน์ REDeFiNE TOMORROW ได้ทาง Blog By SCB 10X
และทาง
Youtube

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept