milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
16 เมษายน 2564
ภาษาไทย

คิดให้ Blockchain ไปไกลกว่าเดิม กับ 3 ตัวจริงด้านการพัฒนา Blockchain Project

ทุกคนคงทราบดีถึงศักยภาพของ Blockchain ที่มีโอกาสพลิกโฉมโลกการเงินกันมากแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้หยุดแค่ภาคการเงินเท่านั้น ภาคอุตสาหกรรมอื่นเองก็มีความตั้งใจนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อยู่เช่นกัน ซึ่งในงาน BANGKOK BLOCKATHON 2021: FINANCE & BEYOND SCB 10X ต้องการให้ทุกคนได้ขยายขอบเขตความเข้าใจต่อศักยภาพของเทคโนโลยี จึงเป็นที่มาของ Session หัวข้อ Linking Blockchain to the Real World ซึ่งได้รับโอกาสจากคุณอรพงศ์ เทียนเงิน CEO ของ Digital Ventures คุณสรวิศ ศรีนวกุล CEO และ Co-Founder ของ Band Protocol และ คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ Co-CEO ของ Six Network จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากการพัฒนา Blockchain Project ในธุรกิจจริง SCB 10X จึงขอสรุปเนื้อหาใน Session ดังกล่าวให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

1200x800 LINKING BLOCKCHAIN.png

สาเหตุที่ธุรกิจต้องใช้ Blockchain

แม้ว่าจะถูกพูดถึงอย่างมากในภาคการเงิน แต่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็สามารถนำ Blockchain ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจได้ เริ่มที่ทาง Digital Ventures ซึ่งคุณอรพงศ์ชี้ว่า พวกเขากำลังพัฒนา Blockchain สำหรับ Supply Chain โดยใช้คุณสมบัติของ Distributed Ledger ช่วยยืนยันความจริงแท้ของ Invoice ในธุรกรรมนั้นๆ แก่บุคคลที่ 3 ได้ ธุรกิจจะสามารถขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือยืนยันสิทธิทางภาษีแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันทีบนระบบได้ทันที

ด้านคุณสรวิศ กล่าวว่า Band Protocol เป็นผู้ให้บริการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำ Blockchain และยังได้เริ่มทำ Alpha Finance ซึ่งเป็นบริการ DeFi คุณสรวิศ ชี้ว่า หากว่ากันด้วยความน่าเชื่อถือระบบแบบ Centralize ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือสูงกว่า เนื่องจากเราต้องฝากทุกอย่างเอาไว้ที่การทำงานของตัวกลาง นอกจากนี้ คุณสรวิศยังชี้ว่า Blockchain เป็นการออกแบบระบบที่รองรับการทำงานอย่างกว้างขวางกว่า ทั้งการที่ทุกคนสามารถเข้าถึง Code ได้อย่างโปร่งใส การทำงานที่เป็นอัตโนมัติจึงดำเนินการได้รวดเร็ว และสามารถให้บริการได้ทั่วโลกตั้งแต่วันแรก

สำหรับ คุณณัฐวุฒิ กล่าวว่า เขาเริ่มจากการพัฒนา User Generate Platform หลังจากนั้นพบปัญหาการลอกผลงานกันใน Platform นำมาสู่การพัฒนา Blockchain เพื่อนำมาใช้ยืนยันความเป็นต้นฉบับของ Content นั้นๆ เป็นอัตโนมัติ ซึ่งสรุปได้ว่าธุรกิจสามารถใช้คุณสมบัติดังกล่าวของ Blockchain มายืนยันความโปร่งใสของ Platform ได้


ความท้าทายของใช้งาน Blockchain ในธุรกิจ

หลังจากที่ได้ฟังประโยชน์ของ Blockchain กันแล้ว ในฐานะที่ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้พัฒนา Blockchain Solution อยู่ในปัจจุบัน เราจึงไม่พลาดพูดคุยถึงความท้าทายของการใช้ Blockchain ในธุรกิจ ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น ดังนี้

  • ความท้าทายด้าน Talent บุคลากรนักพัฒนาเป็นความท้าทายของการพัฒนา Blockchain Solution อย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะ อีกทั้งเรายังมีจำนวนบุคลากรนักพัฒนาอยู่น้อย ทำให้ Talent ที่จะมาร่วมพัฒนา Solution คือความท้าทายด่านแรกที่ธุรกิจต้องเจอ
  • ความท้าทายด้าน Cost เทคโนโลยี Blockchain ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่จึงมีราคาค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยเฉพาะ Hardware และการดำเนินการรักษาระบบ ด้วยราคาที่สูงทำให้การขยายการทำงานในปัจจุบันทำได้ยาก
  • ความท้าทายด้าน Implement ประเด็นสุดท้ายคือการทำให้ธุรกิจหรือผู้ใช้นำไปใช้งานได้อย่างสะดวก ก็เป็นความท้าทายในการออกแบบระบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับการทำงานเดิมของธุรกิจรวมถึงมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

แม้ข้อกังวลจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องคำนึง อุตสาหกรรม Blockchain อยู่ในทิศทางที่ดีด้วยทั้งจำนวนบุคลากรและเงินลงทุนที่มากขึ้น รวมถึงวิธีการได้รับผลตอบแทนของนักลงทุนผ่าน ICO ที่มีความคล่องตัวกว่าธุรกิจทั่วไป จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและพัฒนา Solution จาก Blockchain ซึ่งนักลงทุนมองจะให้ความสำคัญกับความสามารถของทีมผู้พัฒนาและสภาพคล่องของ Project นั้นๆ


ตัวอย่างการใช้งาน Blockchain คาดหวังจะได้เห็นในอนาคต

เมื่อถามถึงการใช้งาน Blockchain ที่ทั้ง 3 ท่านคาดหวัง คุณสรวิศจาก Band Protocol หวังว่าจะได้เห็นการใช้งานในฟากการเงิน โดยเฉพาะการใช้งานในด้านการจัดการสินทรัพย์ที่ Blockchain สามารถเพิ่ม Liquidity ได้มาก ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวไม่จำกัดแค่ Digital Asset เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ เช่น หุ้น เป็นต้น

ด้านคุณอรพงศ์ เสริมว่าอยากเห็น Payment Tokenization ซึ่งเป็นระบบขั้นสูงของการใช้ Blockchain ในบริการทางการเงิน โดยชี้ว่ายังมีบริการอีกมากที่ Blockchain สามารถทำได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางหรือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ เช่นการขอสินเชื่อ หรือการซื้อขายสินทรัพย์ระหว่างประเทศซึ่งยังมีต้นทุนสูงมากในปัจจุบัน

การพัฒนา Infrastructure เป็นสิ่งที่คุณณัฐวุฒิคาดหวัง โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบัน Blockchain เป็นระบบที่มีต้นทุนสูงอยู่ ดังนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีนี้ให้แข็งแรงและมีการจัดการที่ดี จะช่วยให้ต้นทุนลดลง อันส่งผลต่อพัฒนาการในระยะยาว

แม้ว่าประเด็นเหล่านี้จะเป็นความคาดหวัง แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่นักพัฒนาต้องไล่ตามเสมอไป ทั้ง 3 ท่านระบุว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีใหม่ สิ่งที่เราคิดไม่ออกในตอนนี้ยังมีอีกมาก และใช่ว่าความคิดของเราจะใช้งานได้ตั้งแต่แรก จึงอยากให้นักพัฒนาลงมือทำไปก่อนและปรับปรุงไปเรื่อยๆ อันจะนำไปสู่จุดที่ใช่ในที่สุด

จะเห็นได้ว่า Blockchain ยังมีพื้นที่อันเป็นความท้าทายที่การแก้ไข ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจในเวลานี้ ในอนาคต หากมี Solution ที่น่าตื่นเต้น หรือประเด็นที่น่าติดตามเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain SCB 10X จะหยิบมานำเสนอทุกท่านอย่างแน่นอน

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept