milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
19 ตุลาคม 2564
ภาษาไทย

DeFi in US VS DeFi in Asia ความแตกต่างของ 2 ศูนย์กลาง Blockchain โลก

แม้ว่า DeFi จะสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้มากขึ้น แต่ความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไปอย่างภาษา วัฒนธรรม ลักษณะภูมิประเทศ หรือเชิงโครงสร้างอย่างการศึกษา ความสามารถในการพัฒนาและยอมรับเทคโนโลยี ย่อมส่งผลต่อวงการ DeFi ด้วยเหตุนี้ ในงาน REDeFiNE TOMORROW 2021 SCB 10X จึงนำความแตกต่างของ DeFi ในสหรัฐฯ กับเอเชีย มาพูดคุยโดยได้เชิญตัวแทน Venture Capital ของอเมริกาและเอเชียได้แก่ Michael Anderson จากสหรัฐฯ Co-Founder จาก Framework Ventures  ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างบริษัทร่วมลงทุนกับบริษัทวิจัยและพัฒนา กับ Jason Choi จากฝั่งเอเชีย General Partner ของ The Spartan Group บริษัทที่ปรึกษาด้านโทเคนร่วมระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพในเอเชีย ซึ่งดำเนินรายการโดย Rishi Ramchandani Director of Business Development, Asia ของ BlockFi ผู้ให้บริการ Digital Asset ระดับโลก มาร่วมพูดคุยถึงความแตกต่างของทั้ง 2 ภูมิภาคให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

1200x800 DeFi in US VS DeFi in Asia.png


ความแตกต่างในภาพรวมของอเมริกาและเอเชียของอุตสาหกรรม Digital Assets และ DeFi


ถึงแม้ว่า panelists ทั้ง 2 คนจะมาจากฝั่ง Venture Capital เหมือนกัน แต่ก็อยู่กันคนละพื้นที่ ดังนั้นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและมุมมองย่อมต่างกัน โดยทางฝั่งตะวันตกอย่าง Michael Anderson  แนะนำถึง Framework Ventures ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2019  มี Venture Thesis ที่ลงทุนใน Token projects  โดยมีบริษัทด้านการปฏิบัติการที่ชื่อว่า Framework Labs จึงมีแนวทางที่แตกต่างออกไป และเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาเพิ่งได้เปิดตัวกองทุนที่ 2 ของ Framework Ventures ที่มูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ Jason Choi จากฝั่งเอเชียได้เล่าถึง The Spartan Group ว่ามีการแบ่งการดำเนินการ 2 กองทุน ซึ่งในปี 2018 ได้ลงทุนในโครงการที่เน้นเพิ่มสภาพคล่องเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนตลาด ซึ่งค่อนข้างหายากในเวลานั้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากไม่ได้สนใจในปัจจัยพื้นฐาน และเมื่อต้นปีนี้ Spartan Capital ได้ระดมทุนร่วมทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเน้นในการดำเนินการ DeFi ในระดับโลก วัตถุประสงค์ของกองทุนนั้นคือให้คนรู้ว่ามีส่วนร่วมในตลาดที่มีสภาพคล่องจริงๆ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าตลาดกำลังทำอะไรอยู่ เพียงแค่ลงทุนในโครงการตั้งแต่เนิ่นๆ และถือไว้ในระยะยาว


ความแตกต่างที่ชัดเจนของเอเชียคือความหลากหลาย และการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละประเทศ ซึ่ง Jason พบเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือประชากรจำนวนมากในฟิลิปปินส์กำลังเล่นเกม “Axie Infinity” ถือเป็นโมเดลแบบ play to earn จริงๆ ดังนั้นมันจึงอยู่คร่อมโลก DeFi และ NFT มีองค์ประกอบของการค้าขายอยู่ในนั้นซึ่งผู้คนสามารถเล่นเกมนี้บนโทรศัพท์มือถือและสร้างรายได้จาก Cryptocurrencies ได้อย่างแท้จริง และมีสารคดีเกี่ยวกับ play to earn ที่ระบุว่าคนเหล่านี้จำนวนมากมีรายได้เท่ากับค่าจ้างรายเดือนของพวกเขาในจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ ซึ่งนี่เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์จริงๆ และเป็นตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจว่าเอเชียมีการเติบโตมากแค่ไหน และกำลังจะเป็นปรากฎการณ์ระดับโลก Jason ระบุว่า DeFi เริ่มต้นจากการมี Total Value Locked อยู่ในระบบราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนปัจจุบันมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราวเกือบ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 89,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2021 จากข้อมูลโดย defipulse.com)  ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆ ในเอเชียได้เริ่มตอบสนองในลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น  จีนที่ปราบปราม crypto อย่างหนัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งในส่วนของสิ่งที่จะส่งผลต่อเทรนด์นี้ สำหรับ Jason มองว่ามี 2 อย่างหลักๆ คือ การเติบโตและกฎระเบียบ/การกำกับดูแล

ทางด้านสหรัฐอเมริกานั้น Michael มองว่าในการระดมทุนของภาคเอกชนในสหรัฐฯ เทียบกับยุโรปกับเอเชียมีความแตกต่างกันมากในหลายมิติ ซึ่ง Michael คิดว่าในสหรัฐฯ ภาคเอกชนมี Factor วิธีการลงทุนที่ชัดเจนดีมาก แต่คิดว่ารูปแบบนั้นเปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่เริ่มต้นด้วย SAP (System, Application and Product) แต่ตอนนี้มีวิธีการใหม่ที่ต้องการเงินลงทุนมากขึ้น โดยสิ่งที่เห็นจากเอเชียก็คือแบบจำลอง “Dow Based Model” ที่คุณมีเงินลงทุนไปที่ดาวโจนส์โดยตรง โดย Micheal คิดว่าอาจเป็นความล้ำหน้าในแง่ของนวัตกรรมการระดมทุน ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ที่จริงแล้วมันเป็นวิธีที่เกิดขึ้นอย่างมากในดูไบ นี่คือสิ่งหนึ่งที่ชี้ว่าการระดมทุนหลักๆ มาจากเอเชียในช่วงประมาณสามถึงหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกระแสที่น่าสนใจ



มิติความแตกต่างของการระดมทุนในเอเชียและอเมริกา 


ในฝั่งของสหรัฐฯ นักลงทุนจะลงทุนผ่านสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ซึ่ง Michael คิดว่าคนส่วนมากให้ความสนใจในการลงทุนผ่าน Venture Capital เพราะมีความน่าเชื่อถือจากรางวัลที่ได้รับ มีที่ปรึกษาการลงทุนขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนใน Hall Capital ในฐานะผู้จัดสรรกองทุนหลัก และเป็นที่รู้กันว่ามีเงินทุนในการตรวจสอบ LPs (the right Limited Partners) เบื้องต้นมากกว่านักลงทุน  ในขณะที่ฝั่งของเอเชียเป็นการระดมทุนผ่านระดับครัวเรือน แต่ก็มี Dynamic ที่ดี Jason คิดว่าในแง่ของภูมิทัศน์การระดมทุน มีสถาบันทุนจำนวนมากในสหรัฐฯที่มีแนวโน้มเคลื่อนไหวเร็วขึ้น และมีแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ที่พร้อมที่จะนำไปใช้กับ crypto ได้เร็วที่สุด เพราะเรื่องพวกนี้กลายเป็นเรื่องทั่วไปที่คนสหรัฐฯ มีความรู้หรือความพร้อมอยู่แล้ว ในขณะที่คนในเอเชียยังพูดคุยว่า DeFi คืออะไร ดังนั้นเราจึงชอบที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เช่น ในฮ่องกงกระบวนการลงทุนจะขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ๆ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายยังคงย้อนกลับมาที่คนรุ่นก่อนๆ เพราะเงินทุนส่วนมากอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราควรให้ความรู้เรื่องที่คุยกันวันนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาเห็นความคล้ายกันระหว่างสินทรัพย์ crypto และสินทรัพย์ที่พวกเขาคุ้นเคย ซึ่ง Michael เห็นด้วยกับแนวคิดของ Jason พร้อมเสริมด้วยว่ามันเป็นกระบวนการศึกษาสำหรับทุกคนในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังควรให้ความรู้ในเรื่องของมูลค่า เพราะทุกคนในแวดวงการลงทุนเคยชินกับการดูบริษัทและพูดว่ารู้วิธีประเมินสิ่งเหล่านั้นจากมุมมองต่างๆ แต่ไม่มีใครรู้วิธีประเมินผลก่อนหน้า หรือบอกว่ารูปแบบการประเมินมูลค่าควรมีลักษณะอย่างไรหลังการลงทุน

อย่างไรก็ตามการระดมทุนในเอเชียก็ไม่ได้ยากลำบากหรือมีเม็ดเงินน้อยขนาดนั้น เช่น กองทุน a16z ที่ระดมทุนได้ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (a16z ได้ลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างเช่น Facebook, Agoda และอื่นๆ อีกมากมาย) ความจริงคือในเอเชียมีสถาบันการเงินหลายแห่งที่มีกองทุนมูลค่าสิบหลักขึ้นไป ในอนาคตจึงอาจมีเงินทุนจำนวนมากขึ้นในเอเชีย ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นภูมิภาคที่ใหญ่กว่า หรือการกำกับดูแลที่อำนวยต่อเส้นทางนี้มากกว่าสหรัฐฯ แต่เพราะคนเอเชียสามารถพูดภาษาได้ทั้งสองทวีป และมีคนกระจายไปอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการสร้างสะพานสำหรับโครงการต่างๆ เห็นได้จากโครงการหลักๆ ในช่วงเริ่มต้นของ DeFi ส่วนใหญ่เป็นโครงการแบบตะวันตก เพราะตะวันตกเองก็ต้องการมาเอเชียเพื่อหาพันธมิตรในเอเชียมากขึ้น ซึ่ง Jason คิดว่าสะพานนั้นจะสึกกร่อนไปตามกาลเวลา เนื่องจากทุนที่นี่พร้อมที่จะปรับใช้เองได้แล้ว ในประเด็นนี้ Michael เห็นด้วยและคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างการแบ่งแยกวัฒนธรรมและแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ความจริงแล้ว Michael คิดว่าคนยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนของเขาว่าส่วนใหญ่น่าจะลงทุนใน Silicon Valley หรือ Sanfransico ที่เป็นที่ตั้งของบริษัท เพราะพื้นที่อันดับหนึ่งที่บริษัทเขามีบริษัทพอร์ตโฟลิโอส่วนใหญ่คือออสเตรเลีย ลองมาเป็นยุโรปตะวันตก กล่าวคือการลงทุนส่วนใหญ่เป็นแบบสากล บริษัทสามารถอยู่ได้ทุกที่และทุกเวลาในเวลาเดียวกัน ดังนั้นสถานที่ของบริษัทไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว



การกำกับดูแลโดยรัฐ ความแตกต่างหลักที่ชี้อนาคต 2 ทางระหว่างเอเชียและอเมริกา


ในส่วนของเอเชียนั้น Jason มองว่าจะต้องแยกออกเป็นรายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน  เนื่องจากจีนมีกฎระเบียบที่ต่างออกไปมาก จีนได้แบนการขุดเหมืองในมองโกเลียและเสฉวน ซึ่งถือเป็นพื้นที่เหมืองที่ใหญ่มาก โดยอ้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ และยังแบนผู้มีอิทธิพลในสื่อโซเชียลในเรื่อง crypto รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องในการค้นหาจากเว็บ Baidu และ Weibo โดยจีนจะเน้นการป้องกันการหลอกลวงหรือชักจูงนักลงทุนรายย่อย ซึ่งตกเป็นเป้าหมายการหลอกลวงให้ลงทุนจนนำมาสู่การกำกับดูแลการลงทุนใน Blockchain และ DeFi ที่เข้มข้นอย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม Jason มองว่าการปราบปรามการทำเหมืองขุด Crypto ไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อ bitcoin เพราะในความเป็นจริงมันกระจายอำนาจออกไปจำนวนมาก แม้พื้นที่ในจีนจะมีขนาดใหญ่ในการเแลกเปลี่ยนก็ตาม 

สำหรับการกำกับดูแลในการแลกเปลี่ยน การเก็งกำไร และการขุดเหมือง ในประเทศอื่นๆ ของเอเชียมีกฎที่ต่างกันไป เช่น ประเทศไทย ประชาชนจำเป็นต้องแสดงตัวหากพวกเขาต้องการเปิดบัญชี crypto, ในฮ่องกงตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการวิจารณ์ข้อเสนอให้แบนนักลงทุนรายย่อยทั้งหมดที่ไม่ได้รับการรับรอง Jason คิดว่าไม่มีแนวทางใดที่ช่วยกำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้ให้ใช้เหมือนกันทั่วเอเชีย แต่สามารถอ้างอิงกฎได้จาก FATF (The Financial Action Task Force)  ดังนั้นจึงยากที่จะสรุปกฎหรือข้อกำกับการดูแลในเอเชียเพราะมันเป็นกฎระเบียบทีละน้อยๆ รวมถึงระดับความรุนแรงที่ต่างกันออกไป

โดยในฝั่งของ Michael ได้ตั้งข้อสังเกตว่า FATF เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการแนะแนวทาง ไม่ใช่คนที่กำหนดกฎหมาย แนวทางการกำกับดูแลที่พวกเขาออกมาในเดือนตุลาคมนั้นประเทศใดจะเลือกเอากฎข้อไหนมาใช้ก็ได้ อย่างในสหรัฐอเมริกา CFTC (the Commodity Futures Trading Commission), SEC (the US Securities and Exchange Commission) และ FinCEN (the Financial Crimes Emforcement Network) หน่วยงานกำกับดูแลหลัก 3 แห่ง แต่ละหน่วยงานมีระดับความรุนแรงและขอบเขตที่แตกต่างกันในแง่ของสิ่งที่ทำได้และไม่ได้ในเขตอำนาจศาลของตน แต่ก็มีวิธีที่เลี่ยงจาก 3 หน่วยงานกำกับดูแลนี้ เพราะความสามารถในการเปลี่ยนกฎหมายและเพิ่มกฎหมาย รวมถึงเปลี่ยนเขตอำนาจศาลของ หรือวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันอย่างการใช้โดยนักกฎหมายที่ตีความคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรและบอกว่าสิ่งนี้เป็นรูปแบบใหม่จึงควรคิดเกี่ยวกับกฎและข้อบังคับเมื่อพูดถึงสินทรัพย์ crypto หรือ DeFi การกำกับดูแลของที่นี่จึงน่าสนใจเพราะมันเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์และเราจะอยู่ด้านบนอย่างแน่นอน หรือจะบอกว่านี่เป็นพื้นที่สีเทา 100% ก็ได้ เพราะ crypto เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว กฎจึงถูกออกตามมาหลังเมื่อกระทำไปแล้ว 



เผยภาพเทรนด์ใหม่ของ 2 ภูมิภาคใหญ่ด้าน DeFi 


 ทางฝั่งของสหรัฐฯ Michael ชี้ว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีการสร้างอุปกรณ์ Virtual Reality ซึ่งถ้าใช้สิ่งนี้ร่วมกับ DeFi Staking, NFTs, Token  ในการเล่นเกม และองค์ประกอบอื่นทางเศรษฐกิจ จะทำให้เป็นระบบที่สมบูรณ์แบบ ครบวงจร ซึ่งอาจนำไปสู่พื้นฐานใหม่ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน นอกจากนี้กำลังจะมี layer two solution ทั้งแบบ full-fledged และแบบหลายโซลูชันบน Ethereum และหลังจากนั้นจะมีการผสานรวม Ethereum ซึ่งหวังว่าความสามารถในการขยายจะเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า และจะเปิดช่องทางสำหรับประเภทของแอปพลิเคชันที่สามารถสร้างบน Ethereum ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เรายังไม่มีคำสั่งซื้อบน Chain เลย และเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณงานมากพอที่จะทำได้ พร้อมกับการป้องกันความเสี่ยงใน Chain ดังนั้นเรื่องนี่น่าสนใจสำหรับ Micheal ในตอนนี้คือ การเปิดช่องทางของเทคโนโลยีทางการเงินแบบใหม่กับองค์ประกอบการเล่นเกมของ DeFi ที่ไม่สามารถทำได้เมื่อหกเดือนก่อน

ทางด้านเอเชีย Jason คิดว่าในเอเชียมีวัฒนธรรมการเล่นเกมที่แข็งแกร่งขึ้นในบางประเทศ โดยเฉพาะในเกาหลี จึงไม่แปลกใจที่ Axie infinity เติบโตอย่างมาก เหตุไม่ใช่เพราะแค่การเล่นเกม แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ในโลกเป็นส่วนหนึ่งของ DeFi และมีแนวโน้มใหม่ที่เราจะเริ่มเห็นคือการรุกของ DeFi ในตลาดเกิดใหม่ ดังนั้นเขาคิดว่าโครงการจำนวนมากได้พยายามที่จะถอดรหัสนั้น และโครงการ Stablecoin จำนวนมากได้พยายามเจาะตลาดเกิดใหม่ และขยายสินเชื่อไปยังตลาดเอเชียแล้ว แต่หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภครายย่อยที่เล็กที่สุดได้ เช่น ผู้ประกอบการที่ต้องการไมโครไฟแนนซ์ อย่างโครงการ Goldfinch ที่ร่วมมือกับบริษัทสินเชื่อ โดยเงินที่ปล่อยกู้มาจากกองทุน crypto แล้วเชื่อมโยงไปเรื่อยๆ จนถึงเป้าหมาย จากนั้นจึงทำการแจกจ่ายเพื่อเข้าถึงตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ ซึ่งมันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่ Jason คิดว่าจะยิ่งเติบโตในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย 

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ที่กำลังจะเกิดของทั้งคู่ต่างกันมาก ซึ่ง Jason มองว่าอุปสรรคอย่างหนึ่งของการพัฒนา DeFi ในเอเชียคือขาดบุคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงสถาบันการศึกษาในด้านเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยอย่างเช่นในสหรัฐฯ ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์แถวหน้าออกมา หรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดแรงผลักดันอย่าง Sillicon Valley เพราะการฝึกฝนความสามารถทางเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็นในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เกิดความคิดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆไม่ใช่แค่วิศวกรการเงินหรือนักวิเคราะห์ทางการเงิน แต่เราอยากเห็นผู้สร้างและนักพัฒนาเข้ามาในแวดวง crypto มากขึ้นเช่นกัน และนั่นจะต้องใช้เวลานาน

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่น่าสนใจของความแตกต่างระหว่างเอเชียกับสหรัฐฯ ในมุมมองของ VC ที่จะมีผลต่อการใช้งานและการพัฒนาวงการ DeFi ในโอกาสต่อไป SCB 10X จะมีเรื่องราวของ Blockchain ที่น่าสนใจมาให้ติดตามกันอีกอย่างแน่นอน 



สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่: Youtube

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept