milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
29 มกราคม 2564
ภาษาไทย

มุมมองของ DeFi Projects ในเอเชีย

สำหรับผู้ที่ติดตาม Blockchain และ DeFi หลายท่านคงทราบดีว่า โปรเจกต์และอุตสาหกรรมต่างๆ ในด้านนี้ได้เติบโตและหมุนไปอย่างรวดเร็วมากในปีที่ผ่านมา รวมถึงมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต และเพื่อเป็นการเสริมข้อมูลด้านนี้ให้กับผู้ที่สนใจ ทาง SCB 10X จึงมีความตั้งใจที่จะนำข้อมูลด้าน DeFi ผ่านมุมมองของผู้นำองค์กรที่เป็นกูรูด้านนี้จากงาน REDeFiNE TOMORROW งานสัมมนาออนไลน์ด้าน DeFi และ Blockchain ครั้งสำคัญ มาวิเคราะห์และนำเสนอกัน


สำหรับบทความนี้พบกับหัวข้อ View of DeFi Projects in Asia ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Session สำคัญที่คุณ Kelvin Koh, Co-Founder and Partner, CIO จาก Spartan Group ผู้มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ในด้านการลงทุนและวิจัยด้านสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบ ได้ให้เกียรติมาให้ความรู้กันในครั้งนี้ 

1200x800 View of DeFi Projects in Asia 01.png


ทำความรู้จักกับ Spartan Group หนึ่งในบริษัทที่ลงทุนช่วงบุกเบิกของ DeFi


เบื้องต้นมาทำความรู้จักกับ Spartan Group บริษัทที่เป็นผู้นำในการลงทุนและให้คำปรึกษาด้าน Blockchain มีทีมที่ประกอบไปด้วยเหล่า Crypto Specialist หรือผู้มีประสบการณ์สูงจากโลกการเงิน แบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ให้คำปรึกษา (Advisory) การเทรด (Trading) และการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) โดย Spartan Group ยังเป็นผู้ลงทุนในด้าน DeFi รายต้นๆ ตั้งแต่ DeFi ยังไม่เป็นที่สนใจมากนัก พวกเขาเต็มไปด้วยความหลงใหลต่อการได้เห็นการพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้เติบโตยิ่งขึ้น เห็นได้จาก Partners ที่มากประสบการณ์ทั้งจากสถาบันการเงิน กองทุนป้องกันความเสี่ยง และ Venture Capital รวมถึงมีบริการให้คำปรึกษาตามความต้องการสำหรับโครงการ Blockchain และบริษัทที่ต้องการมองหาโอกาสในการขยายตัวในเอเชีย รวมถึงการลงทุนใน DeFi Projects ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงหลายราย



วิวัฒนาการทางการเงิน : ระบบการเงินแบบดั้งเดิมก้าวสู่ยุคการเงินแบบกระจายอำนาจ


Kelvin ได้วิเคราะห์ช่องว่างที่เชื่อว่า DeFi กำลังจะ Disrupt การเงินแบบดั้งเดิม(Traditional Finance) อย่างมีนัยสำคัญ โดย Kelvin ได้เปรียบเทียบและชี้ให้เห็นการพัฒนา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินในแต่ละยุค ตั้งแต่ระบบการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance) ที่ครองอำนาจไว้เบ็ดเสร็จอย่างที่ทราบและรู้จักกันดีจนมาถึงจุดที่ไม่สามารถพัฒนาหรือขยับขยายต่อได้ และยังมีการถูก Disrupt จากการมาของยุค Fintech ที่มีการเติบโตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างการเปลี่ยนแปลงการเงินโลกที่สำคัญไว้มากมาย จากนั้นมาถึงช่วงเวลาของ Decentralized Finance (DeFi) หรือในตอนนี้ ที่กำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น พร้อมกับ DeFi Projects ที่กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการเงินโลกอย่างรวดเร็ว 


นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงการทำ Digitalization ของเหล่าผู้ให้บริการด้านการเงิน ที่ทำให้เกิดบริษัทระดับ Unicorn ที่สร้างมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ด้วยความไว้วางใจในสถาบันการเงินระบบดั้งเดิม และบริการทางการเงินแบบรวมศูนย์ (Centralized Financial) ของผู้ใช้ อาจทำให้การเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงยังไม่ได้ดีมากนัก (Financial Inclusion) และค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูง ในทางกลับกัน Decentralized Finance (DeFi) เป็นนวัตกรรมการเงินไร้ตัวกลาง ที่จะช่วยให้การทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การให้ยืม (Lend) การยืม (Borrow) การกู้ระยะยาว (Loan) และการดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ นั้นมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวได้ในราคาที่ต่ำกว่าและรวดเร็วกว่า รวมถึงให้รากฐานที่ปลอดภัยสำหรับการสร้าง Ecosystem ที่เกื้อกูลต่อ Unicorn Protocol  


ตามที่ได้กล่าวไปว่า  DeFi กำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก รวมถึงเรื่องของวิธีการที่จะนำไปสู่การเติบโตและพัฒนานั้นก็มีความน่าสนใจมาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดโอกาสมากมายที่ยังเปิดกว้างมากในตอนนี้ ซึ่งเราอาจจะได้เห็นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมาก นอกจากนี้ ทางคุณ Kelvin เองก็ยังได้ให้ความเห็นอีกว่า เราอาจจะได้เห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ปรากฏตัวออกมาให้เห็นกันในวงการนี้อีกด้วย


View of DeFi Asia.jpg

ภาพรวมของ DeFi Projects ในเอเชีย


DeFi เป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญระดับโลกและกระจายอยู่ในทุกอุตสาหกรรม ทำให้เกิดแนวทางและโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมากมาย และเมื่อพูดถึงในเรื่อง DeFi Pojects หลายๆ ท่านมักนึกถึงนวัตกรรมเหล่านี้ที่ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ แต่ในตอนนี้เราเริ่มได้เห็นนักลงทุนและนักพัฒนาเริ่มก้าวเข้ามาในทางตลาดเอเชียมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในประเทศจีนที่เกิดโปรเจกต์ DeFi ขึ้นมามากมาย เช่น DODO Exchange (Trading), Nest Protocol (Oracle), DForce (Lending) ฯลฯ หรือไม่ว่าจะเป็นในประเทศเกาหลีและสิงคโปร์ รวมถึงประเทศออสเตรเลีย ที่มี DeFi Startup เกิดขึ้นใหม่มากมายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ นอกจากนี้ ภาพรวมของ DeFi Projects ในตอนนี้นั้นเริ่มมีการกระจายตัวออกไปในวงกว้างมากขึ้น และยังกระจายตัวออกไปอย่างสม่ำเสมอ เสมือนเป็นการขานรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกการเงินยุคใหม่ที่กำลังมาถึง


ตัวอย่างของ DeFi Projects ในเอเชีย


จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า Spartan Group นั้นเป็นผู้ลงทุนใน DeFi เจ้าแรกๆ ในช่วงเริ่มต้น โดยในช่วงประมาณปลายปี 2018 ได้มีการลงทุนกับเหล่าบริษัทที่มีความโดดเด่นด้าน DeFi ที่ได้เกิดขึ้นใหม่มากมาย ด้วยการพิจารณาผ่านการวิเคราะห์ที่ถูกต้องของบริษัท ซึ่งจุดนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างการลงทุนใน DeFi Projects ในเอเชียที่มีความโดดเด่น และได้รับการลงทุนจาก Sparton Group ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจวิธีคิดหรือการตัดสินใจลงทุนในโปรเจกต์ และความเข้าใจใน DeFi มากยิ่งขึ้น


ตัวอย่างของ DeFi Projects ในเอเชียที่ทาง Spartan Group ได้มีการลงทุน ได้แก่


  • Band Protocol
    การลงทุนของ Spartan Group ใน Band Protocol เริ่มต้นจากการเล็งเห็นและพิจารณาว่า DeFi เริ่มมีการเติบโตมากขึ้น และเห็นว่าผู้นำด้าน Oracle network ในตอนนั้นมีเพียง Chainlink และมีการพิจารณาต่อว่า ระบบการทำงานใน DeFi ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องขยับขยายอีกมาก เนื่องจากจะมีการเติบโตขึ้นอีกในอนาคต จึงมีความจำเป็นต้องมีผู้ให้บริการด้าน Oracle เพิ่มขึ้นอีกมาก เพื่อให้สามารถมารองรับกับ DeFi projects ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยทาง Band Protocol ก็สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ รวมถึงผู้ก่อตั้งที่มีความสามารถและความรู้ด้านเทคนิคสูง โดยเฉพาะผลงานที่ได้สร้างนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง 
  • Alpha Finance lab Kelvin ได้เล่าว่าเบื้องต้นยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของความรู้และความสามารถในเรื่อง DeFi แต่จากได้พูดคุยกับคุณทชาและทีม Alpha ทำให้เกิดความชัดเจนว่า ทาง Alpha นั้นมีความแข็งแรงในทางเทคนิคสูงมาก และยังมีความรู้ด้านตลาด DeFi ที่ลึกมาก รวมถึงได้เห็นว่าพวกเขามีการคิดอยู่ตลอดเกี่ยวกับกับวิธีการจัดช่องว่างบางอย่างในตลาด นอกจากนี้ ยังเล่าถึงการทำงานต่างๆ ร่วมกัน ทำให้เห็นถึงศักยภาพของทาง Alpha ที่ยอดเยี่ยม โดย Alpha Finance Lab นั้นทำหน้าที่เหมือนเป็น Ecosystem ของผลิตภัณฑ์ DeFi ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อให้เพิ่มผลตอบแทนสูงสุด ในขณะที่ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ใช้งานได้มากที่สุด
  • Synthetix Network
    เป็นอีก Protocol ที่หลายๆ ท่านน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการ Trading ตราสารอนุพันธ์ใน DeFi ซึ่งช่วยให้ใครก็ตามหรืออยู่ที่ใดก็ตาม สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ที่หลากหลายได้ สำหรับ Synthetix นั้นผ่านการรีแบรนด์มาก่อนในปี 2008 จากเดิมที่ชื่อว่า Havven โดยทาง Spartan Group ได้เข้ามาลงทุนใน Synthetix ประมาณปลายปี 2019 ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เลือกลงทุน เพราะเห็นสัญญาณว่าทาง Synthetix นั้นสามารถดึงดูดความสนใจต่อบรรดาผู้ใช้งานได้มากในช่วงปี 2019 รวมถึงความน่าสนใจของวิธีการในการดีไซน์ Token ของ Synthetix ด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่าจะเป็นการดีที่สุดในตอนนั้นที่จะทำการลงทุนในทันที


ความมั่นใจต่อ DeFi ในอนาคต


Kelvin ได้ให้ความเห็นทิ้งท้ายไว้ โดยให้ความมั่นใจใน DeFi ว่าเขายังคงมีความหลงใหลอย่างแรงกล้าและให้ความสนับสนุนใน DeFi อย่างเต็มที่ต่อไป และยังคงพิจารณาหาการลงทุนใหม่ๆ ที่น่าสนใจอย่างรอบคอบ พร้อมเสริมว่า แม้ว่าทีมของ Spartan จะอยู่ในเอเชีย แต่ด้วยเครือข่ายที่ได้ลงทุนทำธุรกิจด้วยนั้นทำให้สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อกับข้อตกลงต่างๆ ได้ทั่วโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นแบบอย่างสำคัญและชัดเจนในการลงทุน สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาในตลาดนี้ได้เป็นอย่างดี 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept