milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
27 พฤษภาคม 2564
ภาษาไทย

คุยกับ Robert Leshner แห่ง Compound ถึงการกำกับดูแลระบบการเงินโลกให้ดำเนินไปได้อีก 100 ปี

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยี Blockchain อันเป็นหนึ่งในแกนสำคัญของการเงินแบบกระจายศูนย์ เป็นเทคโนโลยีที่โดดเด่นเรื่อง Automated และการสร้าง Trust ในระบบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีจะทำงานด้วยตัวมันเองได้ดี แต่ก็ยังต้องการมีดูแลและคอยกำกับให้ระบบทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งการกำกับดูแลบริการทางการเงิน DeFi นั้น มีวิธีที่แตกต่างออกไป เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการดูแล DeFi และการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น SCB 10X จึงถือโอกาสพูดคุยกับ Robert Leshner ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Compound หนึ่งใน DeFi Protocol ชั้นนำระดับโลกที่โดดเด่นเรื่องแนวคิด Decentralized Governance ให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

1200x800 DeFi Lending and DeFi governance 02.png

เรียนรู้จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 สู่ระบบการเงินที่ทำงานเองได้อย่างน้อย 100 ปี


ผู้ก่อตั้ง Compound เล่าว่าสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของการหันมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงินด้วย Blockchain มาจากการที่เขาได้ทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงในการออกสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการมีประสบการณ์ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ ในปี 2008 ที่เขามองว่า หากจะแก้ปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ระบบการเงินต้องมีความโปร่งใส กำกับดูแลได้ด้วยหลักการมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ทั้ง 2 เหตุผลเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตั้งต้นพัฒนาระบบการเงินที่สามารถดำเนินการด้วยตัวมันเองหรือ Automated ไปอีกอย่างน้อย 100 ปี ซึ่งก็คือ Compound อันเป็น Protocol แบบ Decentralized Governance เต็มรูปแบบตั้งแต่เมื่อปี 2018

Compound เป็น Protocol ที่ให้บริการตลาดทุนแบบอัตโนมัติหรือ Automated Money Market สำหรับ Ethereum Token จุดแข็งของ Compound คือการกำกับดูแลแบบกระจายศูนย์เต็มรูปแบบ โดยทุกคนในเครือข่ายจะมีส่วนปรับปรุงระบบ และไม่มีใครเป็นผู้นำเพื่อออกแบบระบบในเครือข่ายของ Compound ได้ จึงนับได้ว่า Compound เป็นตัวอย่างของ Decentralized Finance ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ทุกระบบบนโลกย่อมมี 2 ด้าน ซึ่ง Robert ก็ย้ำถึงข้อพิจารณาว่า Compound คงไม่ใช่ระบบที่จะมีการอัพเดทอย่างรวดเร็วหรือมีความต่อเนื่อง เพราะการเปิดให้ผู้ใช้ทุกคนร่วมกันพัฒนารวมถึงการไม่มีใครเป็นผู้นำการออกแบบย่อมทำให้การพัฒนาต้องใช้เวลาจึงจะเห็นทิศทางได้ โดย Robert เห็นว่ามันอาจเป็นข้อดี เนื่องจากระบบของเขาจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วฉับพลันสร้างความสับสนให้คนหมู่มาก



การก้าวข้ามเขตแดนระหว่าง DeFi, CeFi และ Traditional Financial Institute


แม้คำว่า DeFi จะเป็นกระแสที่ร้อนแรงมากทั้ง Community ของ Finance และ Blockchain รวมถึงมีหลายฝ่ายเห็นว่า DeFi จะเป็นอนาคตหนึ่งเดียวของโลกการเงิน แต่ Robert มองว่าในอนาคต เส้นแบ่งระหว่าง DeFi กับ CeFi จะค่อยๆ มลายหายไป เนื่องจากทั้ง 2 มีจุดแข็งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทั้งคู่ ในส่วนของ CeFi มีการออกแบบ Experience และ Service ที่แข็งแรง ส่วน DeFi มีการออกแบบระบบที่มีความเสถียรสูง ดังนั้น โลกการเงินที่เราจะได้เห็นอาจเป็น การสร้าง User Experience ที่ยอดเยี่ยมแบบ CeFi บนระบบปฏิบัติการที่เสถียรของ DeFi ก็เป็นได้

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือการเข้าร่วมของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่ง Robert มองว่า สถาบันการเงินดั้งเดิมเหล่านี้จะไม่หายไป และจะร่วมเข้ามาในโลกการเงินใหม่แน่นอน แต่สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ ต้องทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนหน้าที่ของพวกเขาไปอย่างมาก ทั้งนี้ Robert ชี้ว่าสถาบันการเงินยังจำเป็น เนื่องจากความท้าทายของ DeFi คือการเชื่อมโยงคุณค่าระหว่างสกุลเงินจริงกับ Cryptocurrency ที่ยังไม่สมบูรณ์

DeFi Lending and DeFi governance.jpg


DAI ราคาขึ้น การมาของ ETH 2.0 การกำกับดูแลและความท้าทายของ DeFi ในปัจจุบัน


ในช่วงที่ผ่านมา แวดวง Cryptocurrency เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากความนิยมในระยะนี้ หนึ่งในเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการที่ DAI ซึ่งเป็น Stable coin มีการปรับตัวขึ้นราคาเป็น 1.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ณ วันที่ Robert ให้ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรณี DAI มีราคาสูงสุดถึง 6,000 บาทในตลาดแลกเปลี่ยนประเทศไทย) สิ่งที่เกิดขึ้นนำไปสู่การตั้งคำถามถึงการกำกับดูแลของ Protocol ว่ามีความน่าเชื่อมากน้อยแค่ไหน

ด้าน Robert ให้เหตุผลจากความเชี่ยวชาญของเขาว่า DAI แม้จะถูกใช้เป็น Stablecoin แต่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับตัวขึ้นและลงตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งปัญหาคือการที่ DAI ราคาขึ้นส่งผลต่อการเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในการนำเงินดอลลาร์ออกมาใช้ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้เป็นสถานการณ์ปกติของโลกการเงินที่สินทรัพย์จะมีราคาผันผวนได้ จึงไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรงอย่างที่คิดกัน 

อย่างไรก็ตาม Robert ชี้ว่าในอนาคต เราจะมีความต้องการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นและสถานการณ์จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น จึงยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างระบบที่มีความยืดหยุ่นและมั่นคงบนพื้นฐานความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่อาจก่อความเสียหายครั้งใหญ่ได้

อีกความท้าทายหนึ่งที่ DeFi ยังต้องเดินหน้าปรับปรุงต่อคือต้นทุนธุรกรรมต่างๆ แม้ว่าจะถูกกว่าระบบการเงินทั่วไป แต่ยังถือว่ามีต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการลงทุนเพื่อ Passive income สำหรับนักลงทุนรายย่อย ความหวังจึงตกไปอยู่ที่การเข้ามาของ Ethereum 2.0 ซึ่งมีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลงอย่างมหาศาล แม้ทุกคนจะเข้า Distribute Ledger ได้ แต่โดยรวมแล้ว Ethereum 2.0 ย่อมเป็นอีกก้าวที่ดีกว่าปัจจุบัน

สุดท้ายนี้ Robert ได้เผยถึงอนาคตของ Compound ว่ามีโอกาสจะนำไปใช้กับสินทรัพย์บนโลกจริง และจะพร้อมสำหรับการผนวกรวมกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่าการที่สินทรัพย์ของโลกจริงจะผนวกรวมเข้ากับ Digital Asset ต้องใช้เวลา และต้องพิจารณาจากการหมุนเวียนของสินทรัพย์เดิมในระบบด้วย

จะเห็นได้ว่าแม้จะเป็น DeFi แต่แนวคิดการกำกับดูแลเพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบยังเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งนักพัฒนาจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ SCB 10X จะมี Insight ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ DeFi มานำเสนอในโอกาสต่อไป 

 

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept