milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
Technology
02 พฤษภาคม 2566
ภาษาไทย

การโหวตออกเสียงในแบบของ DAO Governance จะนำไปปรับใช้กับโลกจริงได้หรือไม่?

อีกไม่ถึงเดือนในวันที่ 14 พฤษภาคม ประชาชนคนไทยจะได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกัน หากพูดถึงการโหวตลงคะแนน ไม่ว่าจะเลือก นายกรัฐมนตรี เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือแม้แต่การเลือกผู้บริหารในบริษัทก็ตาม ล้วนมาจากการลงคะแนนบนกระดาษ หรือ การยกมือและนับจำนวน วันนี้จะมาแนะนำการโหวตอีกรูปแบบในฉบับ Web 3.0 นั่นคือ “DAO Governance” 

ArticleDAO2(Edited)_1200X800.jpg

DAO Governance คืออะไร?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า DAO คืออะไร และ Governance ในโลกของ Web 3.0 คืออะไร DAO (Decentralized Autonomous Organizations) คือ องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ เป็นระบบที่ออกแบบมาโดยใช้ Token ในการลงคะแนนให้กับโครงการต่างๆ แบบไม่เปิดเผยตัวตน โดย Governance ในโลกของ Web 3.0 คือการจัดการและการเปลี่ยนแปลงที่ใช้กับ Blockchain ผู้ที่ถือ Token ของโปรเจกต์หรือโครงการต่างๆ จะมีสิทธิ์ในการลงคะแนน ยอมรับ และปฏิเสธได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง Protocol ของ Blockchain จะดำเนินการผ่าน Governance เช่นกัน

การเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรหากใช้ DAO Governance

การลงคะแนนแบบใช้ DAO จะใช้ Token ที่มีกลไก Quorum เป็นพื้นฐาน เช่น สมาชิกของ DAO ในโครงการนั้นๆ จะต้องเข้าร่วมในกระบวนการลงคะแนนเสียง หากเป็นไปตามเกณฑ์การตัดสิน คะแนนโหวตมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ การไม่ถึงเกณฑ์ก็หมายความว่าข้อเสนอนั้นจะยกเลิกทันที

รูปแบบของการลงคะแนนยังมีกลไกการลงคะแนนเสียงที่เรียกว่า Quadratic Voting (QV) ซึ่งใช้รูปแบบการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและลดการกระจายอำนาจในการตัดสินใจของสมาชิกบางคนใน DAO นั้นๆ 

หากเป็นการเลือกตั้งทั่วไป DAO อาจมีความเสี่ยงในเรื่องของการถูกโจมตีตัวระบบเนื่องจากในกรณีของโปรเจกต์ Web 3.0 จำนวนมากมักจะใช้วิธีการโหวตลงคะแนนที่เข้าถึงได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาต (Permissionless) ผ่านการใช้โทเคนที่สามารถใช้ซื้อขายและแลกเปลี่ยนได้ ทำให้เสี่ยงต่อการถูกโจมตีในรูปแบบ Governance Attacks ที่ทำให้ผู้ที่ต้องการโจมตีมีสิทธิ์ลงคะแนน ซึ่งการโจมตีจะเป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นภายใน Protocol ที่ไม่สามารถตรวจสอบผู้โจมตีผ่านการเข้ารหัสได้ 

ทั้งนี้ ยังไม่กฎหมายรองรับ DAO ในการโหวตลงคะแนน จึงยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี แต่หากจะนำมาใช้จริงนั้นอาจเป็นวิธีการจำกัดวงให้แคบเพื่อสร้างกฎ และการลงคะแนนอาจเป็นการโหวตผ่านสกุลเงินดิจิทัลหรือ Token ของรัฐบาล (CBDC) ที่สามารถตรวจสอบได้ทันที หรืออาจนำ NFT มาประยุกต์เป็นบัตรเลือกตั้งพร้อมกับลงคะแนน เหมือนกับการลงคะแนนโหวตในโปรเจกต์ NFT ทั่วไป เพราะการใช้ NFT สามารถตรวจสอบจากที่อยู่ของ NFT ที่ผู้ลงคะแนนถืออยู่ อีกทั้งยังจำกัดจำนวนได้ง่ายกว่าการใช้ Token หรือสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปที่ตรวจสอบได้ยากและถูกโจมตีได้ง่าย


ข้อดีหากนำ DAO ปรับใช้ในโลกความจริง

แนวคิดของ DAO โดดเด่นด้วยโซลูชันการกระจายศูนย์ ไปจนถึงความสามารถของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก Cryptocurrency ไว้อย่างชัดเจน และหากนำ DAO มาปรับใช้ในโลกจริง อย่างเช่นกับการเลือกตั้ง โดยอาศัยจุดเด่นของ DAO ที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมหรือให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด สามารถตรวจสอบคะแนนได้แบบเรียลไทม์ และรู้ผลอย่างโปร่งใส รวมถึงทุกคนได้มีส่วนร่วมกับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง จึงนับว่า DAO อาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ระบบการลงคะแนนบนโลกจริงก้าวหน้าไปได้อีกขั้น 


ความท้าทายและแนวโน้มของ DAO Governance

ปัจจุบัน DAO Governance ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ แต่มีหลายภาคส่วนกำลังลงทุนในกลไกการกำกับดูแลแบบใหม่เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น สร้างกระจายอำนาจอย่างเท่าเทียมกัน และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการทดลอง เช่น การลงคะแนนที่เรียกว่า Quadratic และการลงมติที่เรียกว่า Holographic ที่จะเข้ามาแทนที่การลงคะแนนแบบถือเหรียญหรือ Token แบบดั้งเดิม ทั้งสองอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับการศึกษาค้นคว้าต่อไปจนกว่าจะพบระบบการกำกับดูแลในอุดมคติที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกและระบบนิเวศที่ใหญ่ขึ้น

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept