milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
business
19 เมษายน 2564
ภาษาไทย

BANGKOK BLOCKATHON 2021: FINANCE AND BEYOND

ผ่านไปแล้วกับโครงการ “BANGKOK BLOCKATHON 2021: FINANCE AND BEYOND” ซึ่งเราก็ได้ผู้ชนะกันเป็นที่เรียบร้อยคือทีม “KillSwitch” ที่สร้าง Solution ให้นักลงทุนที่ทำ Yield Farming สามารถถอน Liquidity Position ออกจาก Farm และขายเหรียญทิ้งได้ทันทีหากราคาเหรียญตกลงอย่างรวดเร็ว


นอกจากการแข่งขันที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับวงการ Blockchain แล้วยังเป็นการสร้าง Community ครั้งสำคัญอีกด้วย โดยไฮไลท์ที่น่าสนใจในวันที่ 27 มีนาคม ก่อนถึงช่วง 30 ชั่วโมงแห่งการ Hackathon เป็นช่วงของการบรรยายให้ความรู้โดยคุณสถาพน พัฒนะคูหา CEO บริษัท SmartContract Blockchain Studio ในหัวข้อ Blockchain Do’s and Don’ts และคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี Co-Founder & CEO จาก บริษัท Alpha Finance Lab ในหัวข้อ Decentralized Finance and Beyond ซึ่งวันนี้ SCB 10X ได้นำสรุปไฮไลท์มาฝากกันว่าทั้งสองท่านมีการแชร์และพูดคุยกันในเรื่องอะไรบ้าง

1200x800 BANGKOK BLOCKATHON 2021 FINANCE AND BEYOND.png


Do’s and Don’ts of Designing Blockchain กับคุณแบงค์ สถาพน พัฒนะคูหา

คุณแบงค์ สถาพน พัฒนะคูหา ได้มาแชร์ประสบการณ์ที่น่าสนใจจากการให้คำปรึกษาในหลายประเด็นที่พบบ่อยหรือน่าสนใจในโลกของ Blockchain และ DeFi โดยเริ่มจากเรื่องแรกคือ Self-Oracle (or centralized oracle) ที่ช่วงหลังพบบ่อยมาก ยุคก่อนหน้านี้ที่เราใช้ Smart Contract จะไม่ค่อยนึกถึงเรื่อง Oracle กันมากเท่าไร แต่ช่วงหลังเริ่มเห็นความสำคัญของ Oracle มากขึ้น เริ่มเข้าใจความสำคัญของ Protocol อย่าง BandProtocol หรือ Chainlink พร้อมแชร์ถึงปัญหาของเรื่อง Data ใน Oracle อย่างเช่นเรื่องของคุณภาพ Data หากมีการนำข้อมูลมาจากแหล่งเดียวแล้วข้อมูลผิดจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งควรจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะและได้แนะนำให้ใช้ Protocol ที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเด็น เช่น เรื่องการทำ Centralized Oracle ที่พบบ่อยมากขึ้นเช่นกัน เรื่อง Distributed Ledger (but centralized API) ที่ไม่ได้พบแค่ที่เป็น Enterprise เท่านั้น บางครั้งผู้ใช้จริงไม่ใช่องค์กรแต่เป็นสมาชิกของสมาคม หรือมีทั้งที่เป็นบริษัทเล็กและบริษัทใหญ่และคนทั่วไป 

เรื่องของ Crisis Governance ที่ยังไม่ได้ของสรุปของตนเองว่าดีหรือไม่ดี ต่อให้เรา Audit ตัว Contract ให้ดีอย่างไรก็ตาม ไม่มีช่องโหว่ใดๆ ทั้งสิ้นหรือไม่มี Bug เลย แต่ก็ต้องมี Traction อื่นๆ กับระบบภายนอกที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่ง Defi สามารถเกิด Crisis ได้ตลอดเวลาและปัญหาสามารถก่อตัวได้รวดเร็วมาก  

อีกเรื่องคือ Couterparty Risk ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มองถึงเรื่องนี้ ซึ่งทุกวันนี้ Risk จะมี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Systematic Risk และ Unsystematic risk โดย Couterparty Risk เป็นตัวที่ซ่อนอยู่แต่เราจะไม่เห็นและมีอยู่ทั้งในโลก CeFi และ DeFi ไปจนถึงเรื่องสุดท้ายที่มาแชร์เป็นคือเรื่อง Single Purpose Toke และ Multi Purpose Token ซึ่งก็เสริมความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าแข่งขันได้เกิดไอเดียใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี 


Decentralized Finance and Beyond กับคุณทชา ปัญญาเนรมิตดี

Blockchain เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ต่างกับเก็บข้อมูลทั่วไป ในที่นี้คุณทชาได้เปรียบเทียบกับการจัดเก็บข้อมูลปกติโดยยกตัวอย่าง Google ที่เวลาจัดเก็บข้อมูลจะมี Server ของตน แบบ Centralized Database ที่ Google จะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลทั้งหมด ส่วน Blockchain จะต่างกับการจัดเก็บข้อมูลทั่วไปที่จะจัดเก็บข้อมูลแบบเป็น Block และทุกอย่างที่อยู่บน Blockchain ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มีความ Transparent และ Decentralize

สรุปได้ว่า Blockchain คือการจัดเก็บข้อมูลที่ต่างจากปกติ ใน 3 แง่ ในแง่แรกคือ Blockchain มีการเก็บข้อมูลเป็น Block ต่อๆ กันจนเป็น Chain of Blocks ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้จู่โจมได้ยาก เพราะหากจะจู่โจมก็ต้องทำกับ Chain ทั้งหมด ในแง่ที่สอง คือ Decentralize ที่ไร้ตัวกลางทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่บริษัททั่วไปจะเก็บข้อมูลใน Server ของบริษัทนั้นๆ ไม่มีใครสามารถเข้าถึงและเห็นได้ จึงนำไปสู่แง่สุดท้ายของ Blockchain คือ Transparency เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้


Bitcoin กับ Ethereum ต่างกันอย่างไร 

คุณทชาได้แนะนำว่า อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า Bitcoin ที่เป็นเหรียญ จริงๆ เกิดมาเพื่อให้คนโอนหรือเทรดเงินกันด้วย Bitcoin ดำเนินการอยู่บน Blockchain ที่ชื่อ Bitcoin ส่วน Ethereum เช่นเดียวกันคือมีทั้งเหรียญและ Blockchain ที่ชื่อ Ethereum แต่ทาง Ethereum เกิดจากคำถามที่ว่าทำไมสิ่งที่ Blockchain ประมวลผลได้ต้องจำกัดอยู่แค่เพียงการโอนเงินของ Bitcoin ซึ่ง Blockchain จะเก็บข้อมูลเป็น Code ที่ทำให้สามารถทำอะไรได้เยอะมากเพราะเวลาเขียนแอปฯใดๆ ขึ้นก็ต้องใช้ Code เพราะฉะนั้น Ethereum จึงมีการทำให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เขียนด้วยภาษา Solidity ได้ทั้งหมด ซึ่ง Ethereum เก็บข้อมูลเป็น Solidity และทำให้ได้เกิด  Decentralized Applicationsd (dApps) ขึ้นมา หรือเป็นระบบ Open Source ที่เปิดให้ทุกคนร่วมกันพัฒนาได้


เรื่องของ DeFi ไปจนถึง Stablecoins

เมื่อกล่าวถึงรูปแบบการเงินปกติที่ต้องอาศัยตัวกลางอย่างสถาบันการเงินในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ DeFi เป็นระบบการเงินบน Blockchain ที่มีจุดเด่นสำคัญ 3 ประเด็นตามที่กล่าวไปข้างต้น ทั้งการจัดเก็บข้อมูล ความเป็น Decentralize และ Transparency รวมถึงเมื่อมี Ethereum เกิดขึ้นมา ซึ่งช่วยให้สามารถทำให้ Run Code บน Blockchain และทำให้มี Financial System ที่อยู่บน Blockchain นอกจากนี้ ยังพบว่ามี DeFi Projects เกิดขึ้นเยอะมากจากหลายประเทศ เมื่อเป็นโลก DeFi ที่ไม่จำกัดว่าต้องใช้ Product นั้นๆ ภายในประเทศเท่านั้น แต่ใครก็ตามที่ถือเหรียญคริปโตก็สามารถใช้ Product เหล่านั้นได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก และเหรียญคริปโตก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกันรวมถึงเหรียญที่สำคัญอย่าง Stablecoins ที่พัฒนาขึ้นมาให้ราคามีความใกล้เคียงกับเงิน Fiat (เงินตรา เช่น เงินบาทหรือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือมีมูลค่าคงที่ตลอดเวลา เพราะการที่จะดีลกับ Financial System บน Blockchain ควรต้องมีเหรียญอย่าง Stablecoins หรือมีค่ากลางสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราในปัจจุบันและเงินคริปโต

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Accept